|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดอก |
|
ผลดิบ |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Diospyros mollis Griff |
|
|
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE |
|
|
ชื่อสามัญ: Ebony Tree |
|
|
ชื่อไทย : มะเกลือ |
|
|
ชื่ออื่น :มะเกี๋ย ผีเผา เกลือ มักเกลือ |
|
|
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่น ไทย พม่า ในประเทศไทยพบ ได้ทั่วไปตามป่า
เบญจพรรณแล้งทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล
5 - 500 เมตร
|
|
|
|
|
|
|
การขยายพันธุ์ เมล็ด |
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8- 25 เมตรไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ หรือกลม ทรงพุ่มแน่นค่อนข้างทึบ กิ่งก้านลู่ห้อยย้อยลง ลำต้นเปลาตรง ต้นที่มีอายุมากจะเป็นพูพอนที่โคนต้น เนื้อไม้มีน้ำหนักมากที่สุด แข็งแน่นละเอียดทนทานมาก สีดำคล้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เปลือก สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แตกเป็นสะเก็ดและร่องเล็ก ๆ ทั่วลำต้น เนื้อในของเปลือกสีเหลืองอ่อน ถ้าเปลือกเป็นแผลและลึกถึงเนื้อไม้จะเปลี่ยนรอยแผลให้เป็นสีดำสนิท |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับถี่ แผ่นใบรูปไข่ยาวหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสอบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม มองเห็นเส้นกลางใบและเส้นแขนงชัดเจน กว้าง 2.5 4.0 เซนติเมตร ยาว 10 - 12 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เมื่อร่วงหล่นและแห้งเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ออกดอกตามซอกใบ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมีจำนวน 3 - 5 ดอก กลีบเลี้ยงยาว 0.1 - 0.2 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือเหยือกน้ำ ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 แฉก ด้านนอกมีขนนุ่มด้านในเกลี้ยง กลีบดอกยาว 0.5 - 0.7 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 14 - 22 อัน รังไข่เทียมทรงกลมป้อมเกลี้ยงหรืออาจจะมีขนประปราย ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่ป้อมกลมมีขนปกคลุมภายในแบ่งออกเป็น 8 ช่อง แต่ละช่องมีออวูล(ไข่อ่อน) 1 อัน ท่อหลอดรังไข่มี 4 หลอด เกสรเพศผู้เทียม 8 - 10 อัน ออกดอกตลอดปี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผล ผลสดมีเนื้อ ผลเดี่ยว ลักษณะกลมป้อมเกลี้ยงผิวเรียบสีเขียว เป็นมัน กว้าง 1.5 2.0 เซนติเมตร ขั้วผลสั้น 0.20 - 0.30 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงติดผลที่ขั้ว 4 กลีบ ภายในมีเนื้อนิ่ม ๆ สีเหลืองอ่อน รสหวานอมเฝื่อน มีเมล็ด 4-5 เมล็ด ผลแก่สีเหลืองอมเทาเมื่อร่วงหล่นเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมล็ด เมล็ดมีสีขาวขุ่น เมื่อแก่สีน้ำตาลดำ รูปร่างแบนหรือเสี้ยววงกลมกว้าง 0.5 - 0.8 เซนติเมตร ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประโยชน์
- เนื้อไม้ มีสีดำเนื้อละเอียดน้ำหนักมากแข็งแรงทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือนได้
เป็นอย่างดี ใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น ระนาด ขลุ่ย เครื่องประดับมุก เครื่องเขียน และตะเกียบ - เปลือก ปิ้งไฟให้เหลือง ใส่ผสมรวมกับน้ำตาลนำไปหมักจะได้แฮลกอฮอล์หรือที่เรียกว่า น้ำเมา หรือใช้เป็นยากันบูด
-
ผลสุก รับประทานได้ เมล็ดใช้ขับพยาธิในท้อง
-ใบ ตำคั้นน้ำผสมสุราแก้การตกเลือดภายกลังการคลอดลูก
- ราก ผสมน้ำซาวข้าว ดื่มแก้อาเจียน หน้ามืดเป็นลม ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านใช้ผลดิบ ( ผลที่โตเต็มที่แต่ยังไม่สุกเป็นสีเหลือง ) ถ่ายพยาธิในท้อง เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ และพยาธิเส้นด้าย โดยใช้ผลมะเกลือที่มีสีเขียวสด ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ คือ Diospyrol diglucoside เป็นตัวทำลายพยาธิ และสารนี้ละลายน้ำได้ดีไม่ดูดซึมเข้าไปในลำไส้ วิธีการเตรียม คือ นำผลมะเกลือประมาณ 10 ผล หรือเหมาะตามวัย ตำคั้นน้ำแล้วผสมหัวกระทิดื่มทันที
โทษของผลมะเกลือ สาร Diospyrol Diglucoside ในผลมะเกลือจะสลายตัวได้ง่าย เมื่อถูกแสงแดดหรือความร้อน ถ้าทิ้งไว้ในอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเทาและดำในที่สุด เพราะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ทำให้หมดฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิ แต่จะกลายเป็นสารพิษ ซึ่งมีผลต่อประสาทตา หากระเหยไปสัมผัสกับดวงตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นการ ปรุงหรือเตรียมผลมะเกลือเพื่อรับประทาน ควรรับประทานทันทีเมื่อปรุงเสร็จใหม่ ๆ ห้ามทิ้ง ไว้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้นผลข้างเคียงของมะเกลือที่สำคัญ คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน มึนงง และทำให้ตาพร่ามัว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บริเวณที่ปลูก ด้านหลังอาคารฮิโก-ไทย |
|
|
|
|
|
|
|
มะเกลือ : เป็นไม้ยืนต้นประจำจังหวัดสุพรรณบุรี |
|
|
|
|
เรียบเรียงและถ่ายภาพ โดย รศ.ชนะ วันหนุน
|