ดอก
 
ผลดิบ
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :Elaeocarpus  hygrophilus   Kurz
    ชื่อวงศ์ :ELAEOCARPUCEAE
    ชื่อสามัญ: -
   

ชื่อไทย : มะกอกน้ำ

    ชื่ออื่น : สารภีน้ำ  สมอพิพ่าย
   

นิเวศวิทยา              ในประเทศไทยพบมากในภาคกลาง  โดยเฉพาะในพื้นที่ชุ่มชื้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ


   
   
  การขยายพันธุ์       เมล็ด และการตอนกิ่ง    
     
  ลักษณะทั่วไป       เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 5 - 15 เมตร  ผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน  เรือนยอดรูปไข่หรือกลมแผ่กว้าง  ทรงพุ่มไม่แน่นทึบ  แตกกิ่งต่ำ ใบแก่ก่อนทิ้งใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม  เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ    
     
  เปลือก   เปลือกสีน้ำตาลอมเทา  เรียบ  มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น    
     
  ใบ           ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับ  รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับหรือแกมรูปใบหอกกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร  ยาว 6 - 9 เซนติเมตร  ปลายใบมน  โคนใบสอบแคบเรียว  ขอบใบหยักห่างตื้น  ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม  ใบอ่อนสีเขียวอมเหลือง  ก้านใบอ่อนสีแดงเข้ม  ก้านใบแก่สีแดงอมน้ำตาลยาว       1.5 - 2 เซนติเมตร
 
     
 

ดอก      ดอกสีขาวนวลขนาดเล็ก  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  ช่อดอกยาว 5 - 12 เซนติเมตร  มีดอกช่อละ 5 - 13 ดอก  ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ  รูปยาวรีปลายกลีบเรียวแหลม  มีขนปกคลุมทั้งด้านนอกและด้านใน  กลีบดอกมี 5 กลีบ  ปลายกลีบแยกเป็นริ้ว ๆ เล็ก ๆ จำนวนมาก  รังไข่มีขนปกคลุม  ดอกบานเต็มที่กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร

 
     
 

ผล          ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ  รูปไข่  หรือกลมรี  ปลายเรียวแหลม  กว้าง 1 - 2 เซนติเมตร  ยาว 2 - 3 เซนติเมตร  มีเมล็ดเดียว  ผลอ่อนสีเขียวอ่อนผิวเกลี้ยง  เนื้ออ่อนนุ่ม  รสเปรี้ยวอมฝาด  ผลแก่หรือสุกสีส้มหรือแดงเข้ม

 
         
 

เมล็ด      เมล็ดรูปกลมรี  ปลายเรียวแหลม  ผิวขรุขระ  เปลือกแข็งมาก  สีน้ำตาล

   
     
     
 

ประโยชน์    ผลรับประทานได้  ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวานและฝาดเล็กน้อย  ผลแก่นิยมนำมาดองเป็นผลไม้แปรรูป  รับประทานเป็นอาหารว่าง  ชาวสวนในภาคกลางนิยมปลูกไว้ตามริมร่องสวน  เพื่อให้รากช่วยยึดดิน  ป้องกันการพังทลายของดินริมร่องสวน
      

   
       
  บริเวณที่ปลูก       ด้านหน้าอาคารเกษตร    
     
 

 

   
 
 

เรียบเรียงและถ่ายภาพ โดย รศ.ชนะ วันหนุน