ประวัติความเป็นมา สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสนองแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนได้ตระหนัก
และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ของไทยเราไว้ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้สมัครเป็นสมาชิกของ
โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นสมาชิกหมายเลข 7-10900-001 เมื่อปีพุทธศักราช 2538
เมื่อเป็นสมาชิกแล้วโรงเรียน ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงาน(อ่านคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คลิกที่นี่) และได้พิจารณาจากแผนผังของ
โรงเรียนเพื่อกำหนดพื้นที่สีเขียว โดยกำหนดจุดแรก คือ สวนมิตรสัมพันธ์ โดยจัดให้เป็นสวนพรรณไม้ในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ระหว่างอาคาร 5
และ อาคาร 6 โดยมีศาลาไทย และศาลาญี่ปุ่นอยู่ในสวน การจัดสวนระหว่างอาคาร 2 และ อาคาร 3 , อาคาร 3 - 4 , อาคาร 4 กับอาคาร 7
บริเวณหน้าอาคาร 1 , อาคาร 2 และสนามเด็กเล่นหน้าอาคาร 7 ริมทางเดินจากอาคาร 1 ไปยังอาคาร 5 และริมสนามฟุตบอล
รวบรวมพันธุ์ปาล์ม ปลูกสวนปาล์มหน้าอาคาร 6 ซึ่งปลูกและดูแลโดยนักเรียนที่เลือกเรียนวิชาด้านงานเกษตรในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปัจจุบันมีปาล์มที่หายากและมีคุณค่ากว่า 32 ชนิด
การรวบรวมพันธุ์ไม้ไทยที่มีชื่อ "มะ" มาปลูกบริเวณสวนมิตรสัมพันธ์ จำนวนกว่า 15 ชนิด การปลูกต้นไม้ในบริเวณ โรงเรียนสาธิตเกษตร
ได้เริ่มปลูกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ซึ่งประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากบริเวณพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียนถมด้วยขยะที่ยังไม่แห้งนัก
มีวัสดุที่ไม่ย่อยสลายในดินอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อเราจะปลูกฝังให้นักเรียนรักต้นไม้ด้วยการปลูกต้นไม้
จึงต้องระดมนักเรียนใช้ไม้
้ยาวแหลมจิ้มเอาถุงพลาสติกในดินขึ้นมาทิ้งก่อน ซึ่งได้ทำโดยรอบพื้นที่บริเวณโรงเรียน บริเวณอาคาร 2 และ อาคาร 3
เป็นพื้นที่ให้นักเรียนระดับประถมศึกษาเรียนวิชางานเกษตร ซึ่งดินบริเวรนั้นเป็นดินเหนียวเป็นก้อนแข็งมาก นักเรียนต้องช่วยกันนำปุ๋ยคอก
มาปรับปรุงสภาพดิน
การรวบรวมพันธุ์ไม้ได้มาจากผู้ปกครองนักเรียนนำมาให้และจากนักเรียน นอกจากนี้โรงเรียนได้เพาะชำ ขยายพันธุ์ได้เราก็นำไปแลกกับ
พันธุ์ไม้ที่ทางโรงเรียนของเรายังไม่มี
การเรียนการสอนในวิชางานเกษตร ได้สอนให้นักเรียนขยายพันธุ์พืชเองและปลูกในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2532
ซึ่งมีทั้งไม้ประดับ ไม้ดอก และไม้ยืนต้น
ในปี พ.ศ.2539 ทางโรงเรียนได้จัดทำป้ายชื่อสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่บริเวณ
ประตู 2 ด้านหน้าอาคาร 6 ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในปี พ.ศ. 2542 และ 2543 ทางโรงเรียนได้จัดหาพันธุ์ไม้มาปลูกเพิ่มเติม เนื่องจากการก่อสร้างอาคารทุกอาคารแล้วเสร็จ
เราจึงมีสภาพสวนพฤกษศาสตร์ทั่วทั้งโรงเรียนในสภาพที่สมบูรณ์ ในราวเดือนมีนาคม 2543 ได้มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 คน นำโดย
- นายภวิศร์ ธวัชชัยนันท์
- นางสาวแพรว ธวัชชัยนันท์
- นายธรณิน วัฒนคุลัง
- นายสรเฉลิม ศักดิ์ศรี
- นายสรเดช จั่นบ้านโขด
- นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร
- นางสาวมนญาณี สุวรรณผ่อง
ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และติดต่อขออาจารย์เพื่อเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งได้แก่ รศ.ชนะ วันหนุน ,
อาจารย์ลัดดาวัลย์ เจริญศักดิ์ศิริ , อาจารย์ทิพยวรรณ วงศ์ทองศรี และรวมกลุ่มกันไปดูงานการจัดสวนพฤกษศาสตร์ตามโรงเรียนต่าง ๆ
ศึกษาดูงานที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวนจิตรลดาและร่วมประชุมกับอาจารย์ที่รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต่าง ๆ
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
คณะนักเรียนได้จัดแสดงผลงาน โดยสมาชิกในกลุ่มริเริ่มได้ติดต่อขอยืมผลงานของนักเรียนที่นำสวนพฤกษศาสตร์ไปสู่การเรียนการสอน
ในวิชาต่าง ๆ มาจัดแสดง เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่คณะอาจารย์ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมรวม
อาจารย์ก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2543 ได้ชี้แจงเรื่องสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้แก่อาจารย์ทุกท่านได้ทราบ พร้อมทั้งแจกแบบ สอบถาม
แก่คณะอาจารย์เพื่อสอบถามความสนใจ และความพร้อมในการให้ความร่วมมือ ในการดำเนินกิจกรรม สวนพฤกษศาสตร ์และนำ สวนพฤกษศาสตร์
์ไปสู่กิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีคณะอาจารย์กว่า 60 % ของอาจารย์ทั้งหมดยินดีรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์บางท่านยินดีจะนำ
พันธุ์ไม้ที่หายากมามอบให้ และยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการดูแล บำรุงรักษาและจะนำเอาสวนพฤกษศาสตร์ไปสู่การเรียนการสอนในวิชาต่างๆ
ให้ได้มากที่สุด ซึ่งบางรายวิชาได้นำไปสู่การเรียนการสอนอยู่หลายหลักสูตรวิชา แต่ไม่ได้เก็บรวบรวมผลงานของนักเรียนไว้ เมื่อตรวจงานเสร็จ ก็จะคืนผลงานให้แก่นักเรียน
ในปีการศึกษา 2543 จึงได้มีการเก็บรวบรวมผลงานแก่นักเรียนไว้ ในช่วงเดือนมีนาคม , เมษายน และพฤษภาคม 2543 นักเรียนกลุ่มดังกล่าว
ได้ศึกษาเกี่ยวกับชื่อของพันธุ์ไม้ มีการทดลองทำพิกัดต้นไม้ในสวนมิตรสัมพันธ์ แต่เนื่องจากเป็นการทดลองทำจึงเป็นการปฏิบัติงานที่ช้า และค่อย ๆ พััฒนาผลงานขึ้น จนขณะนี้ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว
|
กิจกรรมที่กระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนให้รักและผูกพันกับต้นไม้ และให้รู้จักกิจกรรมของชมรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือ การประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมหน้าเสาธง ซึ่งทำให้นักเรียนได้รู้จักกิจกรรมและผลงานของเราในระยะเริ่มต้น |
กิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันต้นไม้แห่งชาติ วันเข้าพรรษา โดยจัดให้นักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 ปลูกต้นไม้ และสมาชิกชมรมสวนพฤกษศาสตร์กับอาจารย์ในโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2543 ซึ่งได้ติดต่อสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 เพื่อบันทึกภาพออกรายการข่าวและสะเก็ดข่าว |
|
|
กิจกรรมดอกมะลิกราบแม่ จัดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม 2543 บริเวณลานทอง กิจกรรมประกอบด้วย การสาธิตการร้อยมาลัยมะลิสด และการประดิษฐ์ดอกมะลิแห้งจากผ้า เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประดิษฐ์ดอกมะลิฝีมือลูกเพื่อไปกราบแม่ จำหน่ายต้นมะลิสดและมะลิประดิษฐ์จากโครงการศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้รับการตอบรับจากอาจารย์ ศิษย์เก่า ผู้ปกครองและศิษย์ปัจจุบันเป็นอย่างดี สินค้าส่วนใหญ่จำหน่ายหมดก่อนเริ่มพิธีเปิดงาน |
"สัปดาห์นี้มีอะไร" เป็นเอกสารแจกตามระดับชั้น ทุกห้องเรียน เพื่อติดประกาศ ซึ่งทางชมรมฯ ได้ขอพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนได้รู้จักต้นไม้ มี 2 ครั้งที่ใช้พื้นที่ทั้งหน้า เพื่อให้ความรู้เรื่องดอกมะลิ และกระพี้จั่น ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน
การประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางหนังสือพิมพ์ "สาธิตเกษตรสัมพันธ์" ของสมาคมผู้ปกครองและครูฯ และเสียงตามสายของโรงเรียน ส่วนกิจกรรมที่จะจัด คือ การประกวดภาพถ่ายสวนพฤกษศาสตร์สาธิตเกษตร ครั้งที่ 1 กำหนดส่งภาพ วันที่ 18 กันยายน 2543 ส่วนวันที่ 4 - 8 กันยายน จะบริการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องถ่ายภาพและการถ่ายภาพโดยผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน พร้อมสไลด์ให้ความรู้ ที่ห้อง 1 - 101 และบริเวณลานทอง คุณสมบัติของผู้ส่งภาพเข้าประกวด มีทั้งผู้ปกครอง นักเรียน อาจารย์และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ทุกคนรู้จักและรักษ์สวนพฤกษศาสตร์ของโรงเรียน
กิจกรรมที่ชมรมได้เสนอจะทำต่อไป อาทิเช่น กิจกรรม WALK RALLY ชวนพ่อชมสวน ในวันที่ 4 ธันวาคม 2543 , การจัดนิทรรศการเรื่องกล้วย พร้อมการทำอาหารจากกล้วย , การทำน้ำสมุนไพร และอื่น ๆ อีกมากมาย
สมาชิกชมรมสวนพฤกษศาสตร์ทุกคน มีความตั้งใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้กับคนกับต้นไม้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ต้นไม้ให้ประโยชน์แก่คนเราโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่เลือกเด็กผู้ใหญ่ เราจะให้อะไรกับต้นไม้บ้าง ซึ่งเท่ากับให้คุณประโยชน์กับมวลมนุษย์ของเราเอง |