โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

"การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสาธิตเกษตร"

วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตตั้งแต่ การเกิด การเจริญเติบโต การเจ็บไข้ได้ป่วย การรักษาพยาบาล ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา อีกทั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นกระบวนการที่สามารถพัฒนาให้คนเป็นคนที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบแบบแผนและมีเหตุผล ประกอบกับโรงเรียนสาธิตฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน จึงคำนึงถึงสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าและปัญหาเนื่องมาจากเทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่เน้นและเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ เป็นต้น

โรงเรียนสาธิตฯ ได้พิจารณาเห็นว่าแนวคิดปรัชญาที่เน้นการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ เป็นแนวคิดหนึ่งที่สามารถพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีความสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหา รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในสภาพจริงได้ ดังนั้นโรงเรียนจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์และประกาศใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 254 ในชั้นป.1 ป.2 ป.3 และ ป.4 แล้วทำการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้จนครบชั้น ป.5 และ ป.6 ในปีการศึกษา 2543

ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย-เกษตรศาสตร์ ใช้แนวคิดในการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ และทำการปรับปรุงยุทธวิธีการสอนให้ดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยประสบการณ์และการวิจัยของอาจารย์ผู้สอนควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใคร่เสนอความรู้และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ในระดับประถมศึกษา ดังหัวข้อต่อไปนี้

 

 

 

 

 

2

การจัดการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

ปรียา บุญญสิริ*

เมื่อได้ยินคำว่า "การสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้" หลายคนคงเกิดความกังวลใจและสงสัยว่าจะสอนอย่างไร จึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ และจะทำได้จริงหรือ โดยเฉพาะใช้วิธีนี้กับเด็กๆ ครูทั้งหลายคงไม่เชื่อว่าจะทำได้ เพราะมักจะคุ้นเคยกับการสอนที่ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน โดยครูต้องมีความรู้เนื้อหามากๆ และมักคิดว่าความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นต้องมาจากผู้รู้ซึ่งได้มีการค้นพบและบันทึกไว้ แต่มีแนวคิดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาที่สำคัญ 2 ทฤษฎี คือทฤษฎีพัฒนาการทาง สติปัญญาของ Piaget และทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของ Vygotsky

ในเรื่องของการสร้างองค์ความรู้นั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ หลักการเรียนรู้ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ การจัดหลักสูตรให้สนองหลักการเรียนรู้ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ลักษณะของครูที่สอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ลักษณะของนักเรียนที่เรียนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ บรรยากาศในชั้นเรียนที่

ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ และรูปแบบการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ เพื่อจะได้เป็นกรอบความคิดที่จะนำไปใช้ในการสร้างหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ได้

ความหมายของการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้ไว้คล้าย ๆ กันดังเช่น Fosnot (1996)

กล่าวว่า " ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ โดยอาศัยพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญาและมานุษยวิทยาที่ใช้อธิบายว่าความรู้คืออะไร และได้ความรู้มาอย่างไร ทฤษฎีนี้อธิบายว่าความรู้เป็นสิ่งชั่วคราวมีการเปลี่ยนแปลงได้และมีการพัฒนาอาศัยสื่อกลางทางสังคมและวัฒนธรรม ส่วนการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สามารถ ควบคุมได้ด้วยตนเอง โดยต้องต่อสู้กับความขัดแย้งระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่แตกต่างกับความรู้เดิม ซึ่งเป็นการสร้างความรู้ใหม่"

Von Glaserfeld (อ้างถึงใน Cheek, 1992: 63-64) กล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้ว่า " การสร้างองค์ความรู้มีหลักการ 2 ข้อ คือ 1) ความรู้ไม่ได้เกิดจากการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างขึ้นโดยตัวผู้เรียนด้วยความเข้าใจ 2) หน้าที่ของการรับรู้คือการปรับตัวและการประมวลประสบการณ์ทั้งหมด แต่ไม่ใช่เพื่อการค้นพบสิ่งที่เป็นจริง"

Wilson (อ้างถึงใน วรรณทิพา, 2541: 7) กล่าวถึงการสร้างองค์ความรู้ว่า "Constructivism เป็นทฤษฎีของความรู้ที่ใช้อธิบายว่า เรารู้ได้อย่างไรและเรารู้อะไรบ้าง Constructivism จึงเป็นวิธีการคิดเกี่ยวกับเรื่องของความรู้และการเรียนรู้"

สรุปว่าการสร้างองค์ความรู้ เป็นทฤษฎีอาศัยพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมานุษยวิทยาที่จะอธิบายว่าความรู้ไม่ได้เกิดจากการรับรู้เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการสร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยมีการปรับความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จนเกิดเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสร้างองค์ความรู้จึงเป็นวิธีการคิดเกี่ยวกับเรื่องของความรู้และการเรียนรู้

 

3

หลักการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

แนวคิดเกี่ยวหลักการสร้างองค์ความรู้นั้น Moscovici (1994) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสอนและการเรียนรู้ พบว่าในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ตามแนวการสร้างองค์ความรู้นั้นประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 2 ประการคือ ความรู้เกิดจากผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงในบริบททางสังคมโดยเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ขึ้นเอง และตัวผู้เรียนแต่ละคนต้องรับผิดชอบในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองจะเรียนรู้และวิธีการที่จะเรียนรู้

Fosnot (อ้างถึงใน Brooks and Brooks, 1993: vii-viii) ได้กล่าวถึงหลักการของการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ว่านักการศึกษาได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้

    1. ตั้งปัญหาให้เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียน
    2. กำหนดโครงสร้างการเรียนรู้ ควรกำหนดโครงสร้างการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็นแนวคิดใหญ่ (big ideas) หรือความคิดรวบยอดที่เป็นความคิดรวบยอดพื้นฐาน

3. ค้นหาและเห็นคุณค่าของมุมมองของนักเรียน

    1. ปรับหลักสูตรให้เข้ากับ suppositions ของนักเรียน
    2. ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของการสอน

แนวทางการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

ในการดำเนินการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้นี้ Yager (1991: 4) ได้เสนอแนวทางในการดำเนินการสอนสำหรับครูที่สอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ดังนี้

    1. ค้นหา ใช้คำถามและความคิดของนักเรียน เพื่อแนะนำบทเรียนและหน่วยการสอนทั้งหมด
    2. ยอมรับและส่งเสริมความคิดริเริ่มของนักเรียน
    3. สนับสนุนนักเรียนในด้านความเป็นผู้นำ การเรียนแบบร่วมมือ แหล่งข้อมูลและการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการเรียนรู้
    4. ใช้ความคิด ประสบการณ์ และความสนใจของนักเรียนในการดำเนินการเรียนการสอน
    5. ส่งเสริมการใช้แหล่งของข้อมูลหลากหลายทั้งจากหนังสือ เอกสาร และผู้เชี่ยวชาญ
    6. ส่งเสริมนักเรียนในการเสนอแนะสาเหตุของเหตุการณ์และสถานการณ์ และส่งเสริมนักเรียนให้สามารถทำนายผลได้โดยอาศัยข้อมูลที่ต่อเนื่อง
    7. ค้นหาความคิดของนักเรียนก่อนที่ครูจะแสดงความคิดของครู หรือก่อนที่จะไปศึกษาความคิดจากตำราหรือแหล่งข้อมูลอื่น
    8. ส่งเสริมนักเรียนให้มีการโต้แย้งกันในการสร้างความคิดรวบยอดและรับฟังความคิดของผู้อื่น
    9. ให้เวลาที่พอเหมาะสำหรับการสะท้อนและการวิเคราะห์ความคิดของนักเรียน ตลอดจนยอมรับและใช้ความคิดทั้งหมดที่นักเรียนคิดขึ้น
    10. ส่งเสริมการวิเคราะห์ด้วยตนเอง การรวบรวมข้อมูลที่แท้จริง เพื่อสนับสนุนความคิดและการสร้างความคิดเกี่ยวกับความรู้ใหม่
    11. 4

    12. ใช้การระบุปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่นักเรียนสนใจและผลที่จะเกิดขึ้น เป็นการเริ่มต้นของบทเรียน
    13. ใช้แหล่งข้อมูลจากบุคคลและวัสดุ เป็นแหล่งข้อมูลเริ่มต้นที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหา
    14. เกี่ยวข้องกับนักเรียนในการค้นหาข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตจริง
    15. ขยายขอบเขตการเรียนรู้จากในชั่วโมงเรียนไปเป็นในชั้นเรียนและขยายออกไปสู่ในระดับโรงเรียน
    16. เน้นผลกระทบของวิทยาศาสตร์ต่อนักเรียนแต่ละคน
    17. ละเว้นจากการมองว่าเนื้อหาเท่านั้น เป็นสิ่งที่คงอยู่สำหรับนักเรียน
    18. เน้นความสำนึกในงานอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำหรับวิธีการประเมินผลนั้น มีการประเมินจากฝ่ายต่าง ๆ 3 ฝ่ายคือการประเมินผลโดยครู การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อน รูปแบบของการประเมินผลควรใช้การประเมินการปฏิบัติ และการประเมินผลปลายภาคซึ่งเป็นการประเมินโดยใช้แบบวัดความคิดรวบยอดหรือโครงงาน

สรุปได้ว่าในการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้นั้น ความรู้จะต้องเกิดจากการสร้างด้วยตัวของ

ผู้เรียนเอง โดยผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง และตัวผู้เรียนต้องรับผิดชอบในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าครูควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างองค์ความรู้และนำความรู้ในเรื่องการเรียนรู้ การสอนตลอดจนการวิจัยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน

ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ที่เน้นให้นักเรียนเกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองนั้น ครูจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนและบรรยากาศในการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้จึงจะบรรลุจุดหมายที่ต้องการได้ จึงได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะการจัดการเรียนการสอน ลักษณะของครู ลักษณะของนักเรียน และการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนหลายเรื่อง

ลักษณะของครูที่สอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองนั้น ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะต้องรู้และเข้าใจลักษณะของครูทั้งในด้านการสอนและการปฏิบัติต่อนักเรียนที่จะทำให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองรวมทั้งอีกทั้งการปฏิบัติตนทั่ว ๆ ไปด้วย ดังจะเห็นได้จากความคิดเห็นของ Brooks และ Brooks (1993: 101-118) ที่กล่าวถึงลักษณะของครูที่สอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ดังนี้

    1. มีลักษณะส่งเสริมและยอมรับความเป็นอิสระในการคิด และความคิดริเริ่มของนักเรียน
    2. ใช้ข้อมูลดิบและแหล่งข้อมูลเบื้องต้นพร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้การปฏิบัติด้วยการลงมือปฏิบัติ มีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ
    3. ควรกำหนดกรอบงานให้นักเรียนได้กระทำในลักษณะที่เป็นการใช้ความคิด เช่น การจำแนก วิเคราะห์ การทำนาย และการคิดสร้างสรรค์
    4. ควรให้นักเรียนมีการตอบสนองต่อการเรียนการสอน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นต่อการเรียนการสอน ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการสอน ตลอดจนปรับเปลี่ยนเนื้อหาในบทเรียน
    5. ควรซักถามเกี่ยวกับความเข้าใจ ความคิดรวบยอดของนักเรียนก่อนที่จะมีการแลกเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดที่มีอยู่ของนักเรียน
    6. ควรส่งเสริมนักเรียนในการอภิปรายกับครูและเพื่อนๆของนักเรียน
    7. 5

    8. ควรส่งเสริมการสืบสวนสอบสวนของนักเรียน โดยให้นักเรียนถามอย่างใช้ความคิดและคำถามนั้นควรมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด อีกทั้งส่งเสริมให้นักเรียนถามคำถามซึ่งกันและกันด้วย
    9. ควรค้นหาความละเอียดละออในการตอบสนองภายในของนักเรียน
    10. ควรส่งเสริมนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อสมมติฐานที่นักเรียนตั้งขึ้นในตอนแรก และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
    11. ควรให้เวลานักเรียนในการคิดพอสมควร หลังจากที่ถามคำถามแล้ว
    12. ควรให้เวลาสำหรับนักเรียน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
    13. ควรส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของนักเรียน โดยการใช้รูปแบบวัฏจักรการ เรียนรู้ (learning cycle model)

บรรยากาศในการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

Brooks และ Brooks (1993: 17) ได้เปรียบเทียบให้เห็นบรรยากาศในการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ (constructivist classroom) และการสอนแบบปกติ (traditional classroom) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบบรรยากาศในการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ และการสอนแบบปกติ

การสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

การสอนแบบปกติ

1. หลักสูตรมีลักษณะเริ่มจากส่วนใหญ่

ทั้งหมดไปสู่ส่วนย่อย โดยเน้นความคิดรวบยอดใหญ่

2. การให้นักเรียนคิดตั้งคำถามขึ้นเองเป็นสิ่ง

ที่มีคุณค่า

3. กิจกรรมในหลักสูตรขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล

เบื้องต้นและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้การลงมือปฏิบัติ

4. นักเรียนได้รับการมองว่าเป็นนักคิด โดยการใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับโลก

5. ครูโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์

และเป็นสื่อสำหรับนักเรียนในการแสวงหาความรู้

6. ครูค้นหามุมมองของนักเรียน เพื่อให้เข้าใจ

การแสดงความคิดรวบยอดของนักเรียนสำหรับใช้ในการเรียนต่อไป

1. หลักสูตรมีลักษณะเริ่มจากส่วนย่อยไปสู่ส่วน

ใหญ่ทั้งหมด โดยเน้นทักษะพื้นฐาน

2. การเรียนการสอนยึดตามหลักสูตร เป็นสิ่งที่มี

คุณค่าสูง

3. กิจกรรมในหลักสูตรขึ้นอยู่กับตำราและ

แบบฝึกหัด

4. นักเรียนได้รับการมองว่าเป็นแผ่นกระดานที่

ว่างเปล่า (blank slates) ซึ่งครูจะเป็นผู้ป้อนข้อมูลให้ตามแม่พิมพ์

5. ครูโดยทั่วไปมีลักษณะเผด็จการและบอกข้อมูลให้แก่นักเรียน

6. ครูมุ่งที่จะค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง เพื่อทำให้

เกิดความเที่ยงตรงต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

7. การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน จะ

ผสมผสานอยู่ในระหว่างการสอน และเกิดขึ้น

ตลอดเวลาจากการสังเกตของครูในเรื่องการ

ทำงานของนักเรียน การแสดงนิทรรศการของนักเรียน และจากแฟ้มผลงาน

8. นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเป็นพื้นฐาน

7. การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน จะแยกออกจากการสอนและเกิดขึ้นเกือบจะ ตลอดช่วงของการทดสอบ

 

8. นักเรียนทำงานตามลำพังเป็นพื้นฐาน

6

รูปแบบการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งให้นักเรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกและดูแลเรื่องความปลอดภัยในการสืบค้นความรู้ของนักเรียน โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นสงสัย ครูสร้างสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการตั้งคำถาม ตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนและให้นักเรียนตั้งคำถามเพื่อการสืบค้นความรู้ โดยสร้างสถานการณ์ให้เกิดความสงสัยขึ้น

2. ขั้นวางแผน ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มและใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือในการวางแผนการ สืบค้นความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม

3. ขั้นสืบค้นความรู้ ให้นักเรียนวางแผนการสืบค้นความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่เสนอมา โดยอาจใช้แหล่งข้อมูลที่นักเรียนจัดเตรียมมาเองหรือแหล่งความรู้ที่ครูจัดเตรียมเสริมให้ เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ในขั้นนี้นักเรียนต้องสืบค้นความรู้แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ อภิปรายและสรุป เพื่อสร้างเป็นความรู้ของตนเอง

4. ขั้นสะท้อนความคิด ให้นักเรียนแสดงความรู้และความคิดที่ได้จากการสืบค้น สรุปสิ่งที่เรียนรู้และเชื่อมโยงความคิดรวบยอดที่เรียนรู้มาเข้าด้วยกัน และให้นักเรียนใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะแสดงความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

5. ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้นักเรียนนำเสนอผลการสืบค้นความรู้ให้แก่นักเรียนอื่น ๆ หรือ

ผู้ฟังกลุ่มต่าง ๆ และด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การรายงาน การสาธิต การจัดป้ายนิเทศ และการนำเสนอการทดลอง เป็นต้น

6. ขั้นสรุปความรู้ ให้นักเรียนสรุปความรู้และความคิดทั้งหมดที่ได้เรียนรู้มา โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อสรุปด้วยการเขียนบรรยาย การเขียนแผนผังความคิดรวบยอด การเขียนแผนภาพ หรือการทำแบบฝึกหัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*

เล่าสู่กันฟัง…จากประสบการณ์การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้

ปรียา บุญญสิริ

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2540) ชื่อ "Constructivism" ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในเมืองไทยนัก จนกระทั่ง

ผศ.ดร.นฤมล ยุตาคม ประธานหลักสูตรของโรงเรียนในขณะนั้น ได้จัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสอน วิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้หลายครั้ง และได้ถามความคิดเห็นดิฉันว่า สนใจจะปรับปรุงหลักสูตร

วิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้หรือไม่ ดิฉันจึงได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

หลักสูตรและแผนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ของต่างประเทศ แล้วเห็นว่าน่าสนใจและสามารถพัฒนาเด็ก

ให้มีคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ได้ จึงตัดสินใจปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ โดยมีผศ.ดร.นฤมล ยุตาคม เป็นประธานในการปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนั้น และประกาศใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนกระทั่งใช้ครบทุกระดับชั้นในระดับประถมศึกษาในปีการศึกษา 2543 การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรจากที่ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้นักเรียนทำมาเป็นให้นักเรียนมีบทบาทเป็นผู้เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูลดบทบาทเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือแนะนำ เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย ต้องพยายามปรับความคิดของตนเองและให้กำลังใจตนเองอยู่ตลอดเวลา ดิฉันทำหลักสูตรของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เสร็จ แต่ยังไม่มีโอกาสได้ใช้หลักสูตรเลยเนื่องจากต้องไปศึกษาต่อ จนกระทั่งในปีการศึกษา 2543 ดิฉันได้เข้ามาทำวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องการพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากอาจารย์ 3 ท่าน คือ อาจารย์ชนิดา ชีพเป็นสุข อาจารย์ปรีดา สุขประเสริฐ และอาจารย์สุภาพร สุขเจริญ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ทั้ง 3 ท่านได้ช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนจนค่อนข้างประสบความสำเร็จ และทำให้ดิฉันได้ข้อค้นพบจากการวิจัยหลายประการ

สิ่งที่ดิฉันจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ เป็นเพียงกำลังใจที่จะให้ท่านอย่าเพิ่งท้อแท้หรือหมดกำลังใจไปก่อน เพราะกว่าจะประสบความสำเร็จในการฝึกนักเรียนได้นั้น ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก บางครั้งอาจใช้เวลาร่วมปีการศึกษาก็ได้ อีกประการหนึ่ง ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเเองนั้น จะทำให้ครูผู้สอนที่เคยยึดมั่นในการให้ความรู้แก่นักเรียน ทำใจไม่ค่อยได้กับการที่ต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียน เนื่องจากกลัวว่านักเรียนจะทำไม่ได้หรือได้รับความรู้ไม่ครบถ้วนตามที่ครูต้องการ นอกจากนี้การเรียนการสอนแบบนี้ต้องใช้เวลามาก กว่านักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ จึงกลัวว่าจะเรียนไม่ทันตามหลักสูตร ความกังวลเหล่านี้เป้นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นครูต้องพยายามเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ และพยายามฝึกให้นักเรียนได้สืบค้นความรู้ด้วยตนเองให้ได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ผลที่ได้คุ้มค่าเหลือเกิน ดังเช่นจากการวิจัยทั้งตัวดิฉันเองและอาจารย์ที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยพบปัญหามาตั้งแต่เริ่มแรก กล่าวคือในขั้นสงสัยทั้ง ๆ ที่อาจารย์สร้างสื่อที่จะเป็นสถานการณ์ให้นักเรียนเกิดความสงสัยค่อนข้างตรงกับแนวคิดแล้ว แต่นักเรียนกลับไปตั้งคำถามในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง พอถึงการจัดกลุ่มคำถามของกลุ่มย่อย ก็เกิดปัญหาอีก คือไม่ทราบวิธีการว่าจะเลือกคำถามอย่างไร และจัดกลุ่มคำถามอย่างไร นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกว่านักเรียนรู้สึกน้อยใจต่อการที่ไม่ได้รับเลือกคำถามที่เขาตั้งขึ้น บางคนโกรธที่เพื่อนไม่เลือกคำถามของเขา ครูต้องอภิปรายกับนักเรียน โดยให้มีการชี้แจงเหตุผลที่เลือกและไม่เลือกคำถามเหล่านั้น ทำให้สมาชิกที่ไม่ได้รับการเลือกคำถามเข้าใจและยอมรับในที่สุด สำหรับการทำงานในขั้นนี้ครั้งแรกปรากฏว่างานไม่เสร็จในเวลา มีเพียงกลุ่มเดียวจาก 3 ห้องที่ทำเสร็จ อาจารย์จึงต้องมาปรึกษาและหาแนวทางแก้

ปัญหานี้

*

เมื่อถึงขั้นวางแผนการสืบค้น นักเรียนสามารถทำงานกันได้ค่อนข้างดี อาจารย์ทุกท่านมีกำลังใจขึ้น คิดว่าคราวนี้คงไปรอดแน่แล้ว แต่พอมาถึงขั้นการสืบค้นความรู้ ต้องประสบปัญหาอีก กล่าวคือนักเรียนไม่สามารถเลือกข้อมูล วิเคราะห์และสรุปได้ นักเรียนใช้วิธีนำข้อมูลทั้งหลายมาต่อกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความยากง่าย เข้าใจหรือไม่เข้าใจ พอนำข้อมูลไปนำเสนอในขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นักเรียนยิ่งทำให้อาจารย์กลุ้มใจหนัก กล่าวคือ เกือบทุกกลุ่มใช้วิธีอ่านรายงานที่มีเนื้อหาสาระมากมาย ยากและเจาะลึก ทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจ ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นผู้อ่านยังอ่านรายงานไม่ออก เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เขียนเอง ทำให้เกิดความวุ่นวายและขลุกขลักพอควร นอกจากนี้บางคนยังอ่านหนังสือไม่คล่องและตะกุกตะกัก ทำให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย นั่งบิดไปบิดมา จุดนี้ทำให้อาจารย์ทั้ง 3 ท่านชักไม่แน่ใจว่าวิธีสอนตามแนวนี้จะใช้ได้ผลจริงหรือไม่ จะทำให้นักเรียนเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์หรือไม่ ดิฉันในฐานะผู้วิจัยก็เกิดความเครียดและไม่สบายใจเป็นอย่างมากต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ดิฉันจึงพยายามแก้ปัญหาร่วมกับอาจารย์ อาจารย์ทั้ง 3 ท่านก็ช่างมีความเข้าใจและมีน้ำใจต่อดิฉัน และพยายามช่วยกันแก้ปัญหาตรงจุดที่เป็นปัญหาให้ดีขึ้น

เมื่อเข้าสู่หน่วยที่ 2 ร่างกายของเรา ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น นักเรียนสามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ ของการสอน จะเห็นว่านักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่ในการทำงานดี นักเรียนช่วยกันทำงาน โดยทุกคนมีหน้าที่ ทำให้เกิดบรรยากาศของการทำงาน เกือบทุกคนขะมักเขม้นอยู่กับงานของกลุ่ม ซึ่งเป็นภาพที่น่ารักมาก นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศของการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดิฉันชอบดูภาพการทำงานของเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก สำหรับในการนำเสนอ นักเรียนมีการคิดหาวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ เช่น เล่นละคร จัดเป็นเกมโชว์

จัดเป็นรายการ "Talk Show" รายการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยายโดยใช้แผ่นใสประกอบ บรรยายโดยใช้รูปภาพขนาดใหญ่ประกอบ การแสดงหุ่นมือ เป็นต้น นักเรียนพยายามจำบทที่จะต้องพูดโดยมีการเหลือบดูเล็กน้อย ยิ่งกว่านั้นนักเรียนทุกกลุ่มยังคิดหาวิธีที่จะให้ผู้ฟังสนใจฟัง โดยมีของรางวัลมาล่อให้เพื่อน ๆ สนใจฟังมากขึ้น จะเห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่จดบันทึกข้อมูลที่เพื่อนนำเสนอ เพื่อตอบปัญหาท้ายชั่วโมง ยิ่งเข้าสู่หน่วยที่ 3 4 และ 5 การเรียนของนักเรียนได้มีการพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ ยกเว้นเมื่อใช้วิธีการสืบค้นแบบใหม่ อาจทำให้ช้าลงบ้าง แต่ก็ปรับตัวได้เร็ว นอกจากการเรียนที่มีการพัฒนาดีขึ้น นักเรียนยังสามารถประเมินผลตัวเองและเพื่อนได้ค่อนข้างตรงกับอาจารย์ นับว่านักเรียนได้มีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้านทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย และกระบวนการในการทำงาน

พอนักเรียนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดิฉันได้สอนนักเรียนรุ่นนี้ ดิฉันทึ่งในความสามารถของนักเรียนเป็นอย่างมาก นักเรียนสามารถทำงานและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็ว มีระบบในการทำงาน สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือแนะนำจากครูเท่าใดนัก เมื่อถึงการนำเสนอ นักเรียนมีการเตรียมตัวมาอย่างดี สามารถนำเสนอโดยไม่อ่านเลย นักเรียนสามารถพูดพร้อมกับชี้แสดงส่วนต่าง ๆ เหมือนผู้ใหญ่หรืออาจดีกว่าผู้ใหญ่บางคนเสียอีก พอถึงช่วงสนทนาสัปดาห์ศิษย์-ลูก ผู้ปกครองต่างพอใจและให้การสนับสนุนแนวการจัดการเรียนสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้นี้และยังกล่าวขอบคุณอาจารย์ที่ได้ช่วยจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาบุตรหลานของเขาอีกด้วย

เมื่ออาจารย์อ่านถึงตรงนี้แล้ว อาจารย์คงมีกำลังใจขึ้นบ้างต่อการพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้นี้ และดำเนินการในการฝึกนักเรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อไป

 

J J J J

*

ในปีการศึกษา 2544 ซึ่งเป็นปีเฉลิมฉลอง 30 ปี สาธิตเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตร์จึงถือโอกาสนี้เผยแพร่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ โดยจัดโครงการประชุมปฏิบัติการเรื่อง

"การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)" ในวันที่ 19 และ 20 มกราคม 2545 ณ อาคารอุบล เรียงสุวรรณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังรายละเอียดในกำหนดการของประชุมปฏิบัติการดังนี้

 

กำหนดการการประชุมปฏิบัติการ

เรื่อง "การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)"

เฉลิมฉลองครบ 30 ปี สาธิตเกษตร

วันที่ 19 และ 20 มกราคม 2545

ณ ห้องประชุมอาคารอุบล เรียงสุวรรณ

เวลา

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

19 มกราคม 2545

8.30 - 8.45 น.

 

8.45 - 9.00 น.

 

 

9.00 - 9.30 น.

9.30 - 10.30 น.

 

10.30 - 10.45 น.

10.45 - 12.00 น.

 

 

 

 

ฝ่ายปฏิคมต้อนรับผู้เข้าประชุม

ผู้เข้าประชุมลงทะเบียน

พิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการ

  • กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุม
  • อาจารย์ใหญ่กล่าวเปิดการประชุม

การอภิปราย : ทรรศนะเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์

การปฏิบัติการ : การสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ขั้นสงสัย

พักรับประทานอาหารว่าง

การปฏิบัติการ : การสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ขั้นวางแผน สืบค้นและสะท้อนความคิด

 

 

 

ฝ่ายปฏิคม ผศ. อำพวรรณ ทิวไผ่งาม

ฝ่ายทะเบียน ผศ. สุภาวดี โรจนธรรมกุล

ฝ่ายพิธีการ ผศ. สุพรรณี คงกะนันท์

และ ผศ.เพ็ญศรี แสวงเจริญ

 

ผศ. ดร. นฤมล ยุตาคม

ผศ. ปรียา บุญญสิริ และ คณะ

 

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

ผศ. ปรียา บุญญสิริ และคณะ

 

 

2

เวลา

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

12.00 - 13.00 น.

13.00 - 14.00 น.

 

14.00 - 14.45 น

 

14.45 - 15.00 น.

15.00 - 15.45 น.

15.45 - 16.30 น.

 

20 มกราคม 2545

8.30 - 8.45 น.

8.45 - 10.45 น.

 

10.45- 11.00 น.

11.00 - 12.00 น.

 

12.00 - 13.00 น

13.00 - 14.30 น.

 

พักรับประทานอาหารกลางวัน

การปฏิบัติการ : การสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์

นำเสนอประสบการณ์จากการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ของโรงเรียนสาธิตเกษตร

พักรับประทานอาหารว่าง

การปฏิบัติการ : การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

การใช้ Graphic organizer เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียนทางวิทยาศาสตร์

 

 

ลงทะเบียน

การปฏิบัติการ : การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

พักรับประทานอาหารว่าง

การปฏิบัติการ : การสร้างหน่วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้

พักรับประทานอาหารกลางวัน

การปฏิบัติการ : การสร้างหน่วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ (ต่อ)

 

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

ผศ. ปรียา บุญญสิริ และคณะ

 

อ. มาลิน ศักดิยากร และ อ. มณฑา

นิระทัย

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

ดร. สุมาลี กาญจนชาตรี

ผศ.ดร.วินัย ดำสุวรรณ

 

 

 

ฝ่ายทะเบียน ผศ.สุภาวดี โรจนธรรมกุล

ผศ. ดร. พรทิพย์ ไชยโส

 

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

อ. มณฑา นิระทัย และคณะ

 

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

อ. มณฑา นิระทัย และคณะ

*

 

เวลา

กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

14.30 - 14.45 น.

14.45 - 16.00 น.

 

 

16.00 - 16.30

พักรับประทานอาหารว่าง

- นำเสนอผลการสร้างหน่วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้

- การอภิปราย สรุปสิ่งที่ได้จากการประชุม

- มอบวุฒิบัตร

- อาจารย์ใหญ่กล่าวปิดการประชุม

 

 

อ. สุรัสวดี บุญล้ำ

ผศ.ดร.นฤมล ยุตาคม และ คณะ

 

 

ฝ่ายทะเบียน ผศ.สุภาวดี โรจนธรรมกุล

ฝ่ายพิธีการ ผศ. สุพรรณี คงกะนันท์ และ ผศ.เพ็ญศรี แสวงเจริญ