ประวัติความเป็นมาโครงการแลกเปลี่ยน
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ให้จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การศึกษาและกีฬากับต่างประเทศ ตามหนังสือที่ ทม 0408.06/302
ลงวันที่ 16 มีนาคม 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของประเทศไทย
และประเทศญี่ปุ่น โดยการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางการศึกษาและวัฒนธรรมซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียน
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับนักเรียนของประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของประเทศไทยและต่างประเทศ อันจะนำมาซึ่งสันติภาพ
และเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือและพัฒนาระหว่างประเทศ ทั้งสองในอนาคต ขณะนี้โรงเรียน
ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนใน ต่างประเทศ ดังนี้
1. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - อุบุยามา ( ฮิโกไทย)
สืบเนื่องจาก Mr.Yasuto Kikuoka ซึ่งขณะนั้นได้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ
Overseas Land Improvement Office ของ Ministry of Agriculture , Forestry and Fisheries
แห่งประเทศญีปุ่นได้คัดเลือกเขื่อนซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านอุบุยามา เป็นสถานที่ที่จะใช้ในการศึกษาของโครงการ
JICA (Japan International Cooperation Agency) คณะผู้ทำงานเหล่านี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่
จากประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่น กัวเตมาลา โคลัมเบีย ไทย และอื่นๆ เจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้มีโอกาสเริ่มต้น
สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน โดย Mr.Masanori Kai ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ของเมือง อุบุยามาขณะนั้น
มีความสนใจที่จะติดต่อกับต่างประเทศ ได้เชิญคณะทำงานไปเยี่ยม หมู่บ้านพร้อมๆ กับการศึกษางานใน
โครงการของ JICA ต่อจากนั้น คณะทำงานได้รับเชิญ ให้ไปเยี่ยมโรงเรียนและให้คำบรรยายแก่เด็กใน
โรงเรียนด้วย ในวันที่เลขาธิการของ
องค์การอนุรักษ์น้ำแห่งประเทศโคลัมเบียและภริยาได้ไปเยี่ยมโรงเรียนนั้น Mr.Mitsuyoshi Takahashi
ทำหน้าที่อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอุบุยามา ได้กล่าวว่าโครงการแลก เปลี่ยนฮิโกไทยได
้เริ่มต้นขึ้นเนื่องจากบรรยากาศที่เกิดขึ้นในวันนั้น นักเรียนทุกคนประทับใจจากการได้พบผู้มาเยือนจากแดนไกล
อันเป็นประสบการณ์การศึกษาที่วิเศษ
จากเหตุการณ์ในวันนั้น ผอ. Mr.Yasuto Kikuoka และเจ้าหน้าที่ Mr.Kishi
จากโครงการ Overseas Land Improvement Office และศึกษานิเทศก์ Mr.Masanori Kai ได้ขอความร่วมมือ
มายัง Mr.Harumi Saito ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโครงการ JICA สังกัดกรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์แห่งประเทศไทยให้ช่วยหาโรงเรียนที่มีความสนใจในประเทศญี่ปุ่นเพื่อเริ่มต้นโครงการแลกเปลี่ยน
Mr.Harumi Saitoได้รับคำแนะนำจากคุณผจงจิตร บุญญรัตน์ เพื่อนชาวไทยซึ่งทำงานที่กระทรวงเกษตร
และ สหกรณ์ขณะนั้น ให้เลือกโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่ใกล้กรมพัฒนาที่ดิน
เป็นโรงเรียนที่จะจัดโครงการแลกเปลี่ยน
ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ. ศ.2531 Mr.Harumi Saito Mr.Masanori Kai ประธานกรรมการการศึกษาหมู่บ้าน
Mr.Mitsuyoshi Takahashi อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอุบุยามา และ Mr.Tsugiharu Takahashi
ประธานกรรมการหมู่บ้าน มาเจรจาข้อตกลงและลงนามในสัญญาความร่วมมือที่จะให้มีการแลกเปลี่ยน
กับ ดร. จงรักษ์ ไกรนาม โครงการแลกเปลี่ยนฮิโกไทยได้เริ่มต้นเป็นปีแรกในเดือนตุลาคม พ. ศ. 2531
โดยไทยได้เริ่มต้นก่อน
2. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - สหรัฐอเมริกา สาธิตเกษตร - ยูนิเวอร์ซิตี้สคูล
เหตุผลที่ตัดสินใจทำโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนในสหรัฐอเมริกานั้นเนื่องจากการไปสหรัฐอเมริกาไกลมาก
การเดินทางไปศึกษาต่อของนักเรียนและอาจารย์ทำได้ยาก เมื่อได้มีโอกาสได้เดินทางไปติดต่อกับมหาวิทยาลัย
ที่เคยเรียน ทำให้เกิดความ ร่วมมือได้ง่ายขึ้น การเจรจาเริ่มต้นในปี พ . ศ.2528 เป็นต้นมา
โดย รศ. ดร. จงรักษ์ ไกรนาม
ได้นำคณะอาจารย์ที่สมัครจะเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนสาธิต University of Northen Colorado Laboratory School
และมหาวิทยาลัย The Northem Colorado ณ เมือง Greeley มลรัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเจรจา
ความร่วมมือเกี่ยวกับ โครงการแลกเปลี่ยนการศึกษาและวัฒนธรรม ขณะนั้น ดร. สมพล ดวงล้อมจันทร์ เพื่อนเก่า
ของ รศ. ดร. จงรักษ์ ไกรนาม ที่ทำงานอยู่ AIMS Community College ได้ช่วยประสานงานนัดหมายการเยี่ยมชม
University Lab School ซึ่งผู้อำนวยการ ขณะนั้นคือ Mr.Christensen ได้รับหลักการไว้และได้ส่งข้อเสนอและ
รายละเอียด โครงการอย่างเป็นทางการมาที่โรงเรียนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ. ศ.2532 โดยพร้อมที่จะ รับนักเรียน
รุ่นแรกในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ของปีนั้นเป็นต้นไป ซึ่ง รศ. ดร. จงรักษ์ ไกรนาม อาจารย์ใหญ่
ในขณะนั้นได้นำอาจารย์และนักเรียนรุ่นแรก 6 คน เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา 3 คน ระดับมัธยมศึกษา 3 คน
พร้อมอาจารย์ 2 คน และผู้ติดตามไปเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการโดย ศ. ดร. อุบล เรียงสุวรรณได้ให้เกียรติร่วมเดินทาง
ไปด้วย คณะอาจารย์พำนักที่บ้าน ดร. สมพล ดวงล้อมจันทร์ ซึ่งมีความยินดีที่จะช่วยเหลือเพื่อนและประเทศชาติ
และได้รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้กับทุกโครงการ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา Mr.Christensen
ได้รับเป็นครอบครัวเจ้าภาพให้กับนักเรียนคนหนึ่งด้วย นักเรียนอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์
ทางโรงเรียน Lab School ได้ต้อนรับที่โรงยิมของโรงเรียน ในปีแรกโรงเรียนได้ต้อนรับนักเรียน
จาก Lab School จำนวนหนึ่ง การแลกเปลี่ยนทำให้ได้รับประสบการณ์ตรงอย่างกว้างขวางทางวัฒนธรรม
และความเป็นไปของประเทศที่พัฒนาแล้ว โครงการได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้
3. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น
สาธิตเกษตร - อาซาฮีนิชิ ( โฮโฮเอมิโคริว)
สืบเนื่องมาจาก อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนประถมศึกษาอาซาฮีนิชิ ได้ให้ลูกชายมาพบ รศ. จงรักษ์ ไกรนาม
อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ. ศ.2531 โดยได้รับรู้เรื่องที่สาธิตเกษตรทำโครงการ
ฮิโกไทยกับอุบุยามา ทำให้มีความกระตือรือร้น
อยากทำโครงการในระดับประถมศึกษา ได้มีการทำสัญญา ข้อตกลงความร่วมมือในวันที่ 23 สิงหาคม พ. ศ.2534
ระหว่างศึกษานิเทศก์เมืองอาซาฮี Mr.Tsutomu Kasahara อาจารย์ใหญ่ Mr.Hiromi Takeuchi
และ รศ. จงรักษ์ ไกรนาม โดยเริ่มต้นให้โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งนักเรียนชาย 2 คน
นักเรียนหญิง 2 คน และอาจารย์ 1 คน ไปโรงเรียน อาซาฮีนิชา ก่อน ในเดือนตุลาคม พ. ศ.2534
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างทั้งสอง โรงเรียน
2) เพื่อแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางการศึกษา และวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
3) เพื่อให้เยาวชนของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ในอันที่จะสร้างโลกโห้เกิดสันติสุข
4) เพื่อกระชับความเข้าใจ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการ
4. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - เซโตดะ ( คากายากิโคริว)
สืบเนื่องมาจากทางเมืองเซโตดะ ได้ติดต่อขอส่งกลุ่มนักเรียนมาทำกิจกรรมทางศิลปะ หนึ่งวัน
กับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ทางอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนเซโตดะ
ได้คุยกับอาจารย์ใหญ่โรงเรียนอาซาฮีนิชิ เมื่อทราบว่าทางโรงเรียนสาธิตฯ มีโครงการแลกเปลี่ยน
กับโรงเรียนอาซาฮีนิชิ จึงขอทดลองโดยขอส่งนักเรียนมาทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน 1 วัน ประสบความสำเร็จดียิ่ง
ทางเซโตดะนำคณะซึ่งประกอบด้วยศึกษานิเทศก์แห่งเมืองเซโตดะ Mr.Mitsunori Maruyama มาลงนาม
ในข้อตกลง ฝ่ายไทย คือ รศ. ดร. สุพิตร สมาหิโต และ รศ. ดร. จงรักษ์ ไกรนาม เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ. ศ.2539
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและน้ำใจไมตรีที่ดีงามในการร่วมมือระหว่าง
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนประถมศึกษาเซโตดะ ในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของแต่ละฝ่าย
2) การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยการแลกเปลี่ยนและแสดงทัศนะในหัวข้อ ที่สนใจ ระหว่างเยาวชนของ 2 ประเทศ
3) การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับศตวรรษที่ 21
ในการแลกเปลี่ยนนั้นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ โรงเรียนประถมศึกษาแห่งเมืองเซโตดะ
จะแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่างๆ ที่น่าสนใจและอาจส่งผู้แทนและผู้ติดตามไปด้วยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และข่าวสารตามแต่จะเห็นชอบตามโอกาสที่เหมาะสม
นักเรียนแลกเปลี่ยนจะต้องเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หรือ 6 จำนวน 5 คน ไม่จำกัดหญิงชาย
และอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ระยะเวลาแลกเปลี่ยน 2 สัปดาห์ ครอบครัวเจ้าภาพแต่ละฝ่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายของนักเรียน แลกเปลี่ยน เช่น ค่าอาหาร ที่พัก ค่าใช้จ่ายที่อาจมีขึ้น ยกเว้นค่าตั๋วเดินทางไป - กลับ
ระหว่างประเทศ และเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียนตามสมควร
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นฝ่ายเริ่มต้นส่งนักเรียนและอาจารย์แลกเปลี่ยนไป
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ. ศ.2539 และโรงเรียนประถมศึกษาแห่งเมืองเซโตดะส่งนักเรียนและอาจารย์
ตั้งแต่ปี พ. ศ.2540 ทั้งนี้ทั้งสองโรงเรียนจะติดต่อข่าวสาร ระหว่างกันตลอดเวลา โดยสามารถเสนอความคิดเห็น
หรือปรึกษาข้อปัญหาด้วยกันอย่างเต็มที่
5. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - อิชิโนเซกิ ไดอิจิ
สืบเนื่องจากโรงเรียนอิชิโนเซกิ ไดอิจิ ต้องการฉลองครบรอบ 100 ปี ของโรงเรียน
จึงมีความประสงค์จะจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนในประเทศไทย โดย
ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพหลายโรงเรียน และได้พิจารณาเลือก
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นโรงเรียนแลกเปลี่ยนในปี พ. ศ. 2540
ได้มีการทำสัญญาการแลกเปลี่ยนกัน 3 ครั้ง และต่อมาได้ลงนามสัญญาเพิ่มเติมเป็น 5 ครั้ง
โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกันปีเว้นปี ในปี พ. ศ.2548 นี้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนครั้งที่ 5
ซึ่งทั้งสองโรงเรียนจะตกลงที่จะทำสัญญาร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการต่อไป
6. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - สหรัฐอเมริกา สาธิตเกษตร - ฟอกซ์ครอฟท์สคูล
สืบเนื่องจากศิษย์เก่าสาธิตเกษตร น. ส. กุมุทมาท กัมปนาทแสนยากร ได้เข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ของโรงเรียนฟอกซ์ครอฟท์สคูล และทางโรงเรียนประทับใจในความเป็นเด็กดีและมีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
Mrs.Rebecca Gilmore Director of Admission ของโรงเรียนมีโอกาสมาเยี่ยมโรงเรียนสาธิตเกษตร
เพราะมีความชื่นชมใน ผลผลิตของโรงเรียน และได้มีการเจรจาตกลงในการแลกเปลี่ยนนักเรียนเริ่มต้นปีแรก
ในปี พ. ศ. 2546
7. โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - อังกฤษ สาธิตเกษตร - โรเซสเตอร์อินดิเพ็นเด้นคอลเลจ
สืบเนื่องจากศิษย์เก่าสาธิตเกษตร นายภวิศวร์ ธวัชชัยนันท์ นักเรียนทุน ก . พ. ได้เข้าเรียนเพื่อเตรียมสอบ
เข้ามหาวิทยาลัย ณ โรเซสเตอร์อินดิเพ็นเด้นคอลเลจ จึงได้ริเริ่ม ให้มีโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน
และด้วยความเชื่อถือศรัทธาในโรงเรียน และศิษย์เก่าMr.Alistair Brownlow รองอาจารย์ใหญ่
ได้มาเยี่ยมโรงเรียนและทำความตกลงในการแลกเปลี่ยนนักเรียนเป็นปีแรก ในปี พ. ศ.2547
|