หน้าแรก สารซักล้าง เครื่องสำอาง Links ผู้จัดทำ

 

[ กำเนิดเครื่องสำอาง ] [ ส่วนประกอบเครื่องสำอาง ] [ ประเภทของเครื่องสำอาง ] [ สบู่ก้อน ]

[ สบู่เหลว ] [ แชมพู ] [ น้ำยานวดผม ] [ ครีมและโลชั่นล้างหน้า ] [ น้ำยาดัดผม ] [ เครื่องสำอางกันแดด ]

เครื่องสำอาง
เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหึ่งของร่างกาย โดยใช้ทา ถู นวด พ่น หรือโรย มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาด หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ

คำว่า cosmetics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า kosmetikos ซึ่งมีความหมายว่า ตกแต่งให้สวยงามเพื่อดึงดูดความ.สนใจจากผู้พบเห็น ( คำว่าkomosแปลว่า เครื่องประดับ) โดยในสมัยแรกๆนั้น ใช้เครื่องสำอางเนื่องจากความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือธรรมชาติ

 

 

เท่าที่ปรากฎในโบราณคดี สันนิษฐานว่าคงมีการใช้เครื่องหอมในพิธีศาสนา สำหรับ  บูชาพระเจ้าโดยการเผา ใช้น้ำมันพืชทาตัวหรือใช้อาบศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันจากประเทศตะวันออก และใช้เครื่องหอมนี้ไม่ต่ำกว่า 5000 ปี เชื่อวาอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักศิลปะการตกแต่งและการใช้เครื่องสำอาง
และแพร่ไปถึงแลสซีเรีย บาบีโลน เปอร์เซียและกรีก เมื่อคราวที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพเข้ายึดประเทศอียิปต์ ประเทศในยุโรปบางส่วน ตลอดจน
ถึงกรีก ทำให้ความรู้เรื่องเครื่องสำอางแพร่หลาย ศูนย์การของความเจริญอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย จนถึงสมัยจูเลียส ซีซาร์รบชนะกรีก ก็ได้รับศิลปวิทยาการต่างๆมาจากกรีก ศูนย์การของศิลปวิทยาการต่างๆได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงโรม มีการอาบน้ำหอม ในระยะที่โรมันกำลังรุ่งเรือง ซีซาร์ได้ยกกองทัพไปตีอียิปต์ซึ่งมีพระนาง
คลีโอพัตราเป็นราชินี รู้จักวิธีการใช้ศิลปะการตกแต่งใบหน้าและร่างกาย ทำให้การใช้เครื่องสำอางเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 Galen บิดาแห่งเภสัชกรรม กายวิภาค อายุศาสตร์และปรัชญา ได้ประดิษฐ์coldcreamขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันอ่อนกำลังลง ประเทศที่นำหน้าเรื่องเครื่องสำอางคือ
ฝรั่งเศส และมรสเปนเป็นคู่แข่ง
 

Top
 



1. เครื่องสำอางประเภทบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาด และบำรุงรักษา ผม ใบหน้า
และลำตัว
2. เครื่องสำอางประเภทเสริมแต่ง ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้เพื่อประโยชน์ในทางส่งเสริมให้ผู้ใช้สวยงามขึ้น
โดยช่วยแก้ไขจุดบกพร่อง และเน้นส่วนที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง
1. หัวน้ำหอม
   1.1 หัวน้ำหอมที่ได้จากธรรมชาติ
   1.2 หัวน้ำหอมที่ได้จากการสังเคราะห์
2. ไขมัน ส่วนที่เป็นลาโนลีน
    2.1 ไขมันที่ได้จากสัตว์หรือแมลง
    2.2 ไขมันที่ได้จากพืช
    2.3 ไขมันที่ได้จากน้ำมันแร่
    2.4 ไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์
3. น้ำมัน
    3.1 น้ำมันที่ได้จากสัตว์
    3.2 น้ำมันที่ได้จากพืช
    3.3 น้ำมันที่ได้จากน้ำมันแร่
    3.4 น้ำมันที่ได้จากการสังเคราะห์
4. ตัวทำละลาย
    4.1 น้ำ
    4.2 แอลกอฮอล์
    4.3 เอสเทอร์
    4.4 คีโตน
5. สี

Top



1. เครื่องสำอางสำหรับผม ได้แก่
   1.1 แชมพู
   1.2 น้ำยาโกรกผม
   1.3 น้ำยาจัดลอนผม
   1.4 น้ำยาดัดผม
   1.5 สิ่งปรุงแต่งเพื่อกำจัดรังแค
   1.6 สิ่งปรุงแต่งสีของเส้นผมและขน
   1.7 สิ่งปรุงแต่งปรับสภาพเส้นผม
   1.8 สิ่งปรุงแต่งทรงผม
2. เครื่องสำอางแอโรซอล
3. เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า ได้แก่
   3.1 ครีมและโลชั่นล้างหน้า
   3.2 สิ่งปรุงสมานผิว และสิ่งปรุงทำให้ผิวสดชื่น
   3.3 สิ่งปรุงรองพื้น
   3.4 สิ่งปรุงผัดหน้า
   3.5 สิ่งปรุงแต่งตา
   3.6 รูจ
   3.7 ลิปสติก
   3.8 อีโมเลียนต์
4. เครื่องสำอางสำหรับลำตัว ได้แก่
   4.1 ครีมและโลชั่นทาผิว
   4.2 ครีมและโลชั่นทามืทาตัว
   4.3 สิ่งปรุงป้องกันแดดและแต่งผิวให้คล้ำ
   4.4 น้ำยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บ
   4.5 สิ่งปรุงระงับเหงื่อและกลิ่นตัว
5. เครื่องหอม ได้แก่
   5.1 น้ำหอม
   5.2 ครีมหอม
6. เบ็ดเตล็ด ได้แก่
   6.1 สิ่งปรุงสำหรับกาโกน
   6.2 สิ่งปรุงที่ทำให้สีผิวจางและฟอกสีผิว
   6.3 สิ่งปรุงผสมน้ำอาบ
   6.4 ฝุ่นโรยตัว
   6.5 สิ่งปรุงที่ทำให้ขนร่วง

Top

 

 


คนไทยผลิตสบู่ก้อนใช้ในครัวเรือนมานาน โดยนำมาเป้นสารชะล้างเอนกประสงค์ จนกระทั่งหลังสงครามโลก
ครั้งที่สอง ความนิยมในการใช้แชมพู สบู่เหลวมากยิ่งขึ้น ทำให้ภูมิปัญญาการผลิตสบู่เริ่มถดถอยจนแทบ
ไม่เหลือในปัจจุบัน

ข้อดี

1.เป็นการสนับสนุนการผลิตจากสารตั้งต้นจากวัสดุธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ
2. ราคาถูก
3. ใช้ได้นาน
 

ข้อจำกัด

1. ต้องระมัดระวังในการผลิต เนื่องจากสารตั้งต้นเป้นโซดาไฟ (NaOH)
2. สบู่ที่ได้จะมีค่าpHอยู่ระหว่าง 8-10 ควรใช้เป็นสบู่ถูตัว
 

ส่วนประกอบหลัก
1. ไขมัน สบู่จะมีคุณภาพดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดของไขมันที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ไขมันที่นำมาใช้
มีหลายชนิด มีทั้งน้ำมันชนิดระเหยยาก และไขมัน ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า
มากกว่า 1 ชนิด ดดยรวมตัวกับสารอื่นๆในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับ
กรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะ
หลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ดังสมการ
กลีเซอไรด์ + ด่าง ------> เกลือของกรดไขมัน + กลีเซอรีน
กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้
  1.1 ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะแข็ง มีสีขาว อายุการใช้งานนาน มีฟองน้อยทนนานแต่
       นุ่มนวล ชะล้างสิ่งสกปรกได้ดี
  1.2 น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมาก แต่      มักจะทำให้ผิวแห้ง
  1.3 น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะแข็งเล็กน้อย ให้ฟองน้อยแต่คงทน ชะล้างสิ่ง  สกปรก      ได้ดีแต่ทำให้ผิวแห้งและผลิตเองได้ยาก
  1.4 น้ำมันละหุ่ง เป็นน้ำมันที่ใช้เพิ่มคุณสมบัติความชุ่มชื้นและนุ่มแก่ผิวสบู่ ช่วย      ให้ผิวนุ่มสบู่ที่ได้จะมีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก
  1.5 น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะแข็ง ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ ความ      ชุ่มชื้นไม่ทำให้ผิวแห้ง เนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาแพง
  1.6 น้ำมันรำข้าว เป็นแหล่งวิตามิน e ให้ความชุ่มชื้น
  1.7 น้ำมันงา ให้วิตามิน e ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว มีกลิ่นเฉพาะตัว
  1.8 น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้นแต่มีฟองน้อย
  1.9 น้ำมันถั่วเหลือง ให้วิตามิน e ให้ความชุ่มชื้น เกิดฟองมากและทำให้เนื้อสบู่ มี       รูพรุน ไม่สวยงาม
2. ด่าง
  2.1 โซดาไฟ ( sodium hydroxide ) ทำให้ได้สบู่ก้อนแข็ง
  2.2 โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ ( potassium hydroxide ) ทำให้ได้สบู่เหลว
  2.3 น้ำขี้เถ้า
  ปริมาณด่างที่ใช้ทำปฏิกิริยาปกติค่า pH ของผิวหนังค่อนข้างมาทางกรดอ่อน pH ของสบู่ที่ดี ควรอยู่ระหว่าง 8-10 เพื่อให้ผิวหนังที่สัมผัสสบู่ ภายหลังล้างออก จะสามารถปรับสภาพเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการทำปฏิกิริยาระหว่าง
กรดไขมันและด่าง จึงต้องทำให้ด่างและไขมันหมดพอดี หรือเหลือไขมันเพียงเล็กน้อย ห้ามมีด่างเหลือภายหลังการทำปฏิกิริยา เพราะจะเป็นอันตายต่อผิวหนัง

 

Top

 


สบู่เหลวหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนสบู่อัดก้อนสำหรับผู้ที่มีผิวที่ไวต่อสบู่ก้อน สบู่ที่ใช้ทำสบู่เหลวจะเป็นสบู่ชนิดที่ได้จากการทำปฏิกิริยากรดไขมันด้วยด่างชนิด potassium hydroxide

ข้อดีคือ

1.ผลิตง่ายกว่าสบู่ก้อน
2.อ่อนโยนต่อผิวมากกว่าสบู่ก้อน
ข้อจำกัดคือ 1.มีราคาแพง
2.ใช้สารสังเคราะห์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.ใช้สิ้นเปลื่องเร็วกว่าสบู่ก้อน

ส่วนประกอบหลัก

คือสารชำระล้าง ได้แก่สบู่ของเกลือpotassium หรือเกลือtrithanolamine
หรืออาจใช้สารลดแรงตึงผิวชึ่งแบ่งออกเป็น
1. สารชำระล้างชนิดประจุลบ เช่น กลุ่ม fatty alcohol sulfate
กลุ่ม fatty alcohol ether sulfate
กลุ่ม alkyl ether sulfosuccinate
2. สารชำระล้างชนิดประจุบวก เช่น polyquaternium7,10,22
quaternary esters
3 .สารชำระล้างชนิดไม่มีประจุ
4 .สารชำระล้างชนิดมีสองประจุ เช่น cocamidopropyl betaine
ส่วนประกอบที่อาจผสมเพิ่มเติม ได้แก่
1.สารปรับสภาพผิว ช่วยทำให้ผิวอ่อนนุ่ม
2.สารทำให้ข้น ได้แก่
  2.1 coconut diethanolamide
  2.2 lauric acid diethanolamide
  2.3 เกลือแกง
  2.4 PEG 6000 distearate
  2.5 PEG-55 propylene glycol oleate
3. สารที่ทำให้เกิดประกายมุก เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าใช้
4. ตัวทำละลาย ใช้ละลายส่วนประกอบที่ไม่ละลายน้ำซึ่งก็คือน้ำหอม โดยนิยมใช้ Tween 20 หรือPEG-40 hydrogenated castor oil
5. สารกันเสีย ที่นิยมใช้ได้แก่
  5.1 paraben
  5.2 2-bromo-2-nitro-1,3-propanediol
  5.3 isothiazolinone derivertives
  5.4 1-(3-chloroallyl)-3,5,7-tiaza-1-azoniaadamantane chloride
6. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี น้ำหอม

Top

 

 


แชมพู เป็นสารทำความสะอาดที่ใช้กับเส้นผม ทำให้ผมดูสะอาดสวยงามขึ้น มีส่วนประกอบคล้ายสารซักฟอกสังเคราะห์ แต่เลือกใช้สารลดแรงตึงผิวที่ใช้กับวัสดุที่ละเอียดอ่อน คือ ชนิดที่มีสองประจุ และใส่น้ำหอมให้แตกต่างออกไป อย่างไรก็ดี แชมพูมักนิยมใส่สารลดแรงตึงผิวประจุลบ เพราะให้ฟองดีในน้ำทุกสภาพ
แต่ระคายเคืองตา


สารประกอบหลักในแชมพู ได้แก่
1. สารลดแรงตึงผิว ซึ่งทำให้เกิดฟอง และเป็นตัวทำความสะอาดเส้นผมและศีรษะ สารลดแรงตึงผิวที่เหมาะจะใช้ในแชมพู ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดดี
- เกิดฟองเร็วทั้งในน้ำอ่อนและน้ำกระด้าง
- ให้ฟองคงตัวอยู่นาน
- สามารถทำให้ฟองเพิ่มขึ้น และคงตัวด้วยการเติมสารอย่างอื่นลงไป
- ต้องไม่ทำให้ผมแก้งกรอบ สามารถจัดทรงได้ง่าย
- ล้างฟองออกหมดได้ง่าย
- ไม่ระคายเคือง
2. สารปรุงแต่งในแชมพู ใส่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแชมพู และเพื่อผลทางการค้า เช่น สารเพิ่มฟอง สารปรับสภาพเส้นผม ได้แก่ลาโนลินและกลีเซอรอล สารทำให้ขุ่น สารทำให้ใส สารเพิ่มความหนืด สารกำจัดคราบ  สารกันเสีย ได้แก่ ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารกันรังแค
 

Top
 

 


เนื่องจากแชมพูส่วนมากประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิวประจุลบ ซึ่งทำให้ผมฟูหลังการสระ จึงต้องมีการใช้สารทั่วไปหักล้างปะจุลบที่เหลืออยู่ โดยใช้น้ำยานวดผมซึ่งมักเป็น ผลิตภัณฑ์ในรูปของครีมที่มีประจุบวก และมักมีสมบัติเป็นกรด เพื่อช่วย  กำจัดคราบและทำให้ผมนิ่ม จัดทรงง่าย

Top
 

 

 

 


ครีมและโลชั่นล้างหน้า มีสารประกอบหลักคือน้ำมัน ไขมันและขี้ผึ้ง สมบัติที่สำคัญของครีมและโลชั่นล้างหน้าคือความสามารถในการทำความสะอาดเครื่องสำอาง และคราบสิ่งสกปรกออกจากใบหน้า โดยไม่ทำให้ผิวแห้งหรือ
เกิดความเหนียวเหนอะหนะจนเกินไป สารเคมีหลักได้แก่
 

1. น้ำมันแร่ ซึ่งสังเคราะห์แยกจากปิโตรเลียม เป็นสารที่เหมาะสมในการทำเครื่องสำอาง เพราะมีความคงตัว
สูงมาก ไม่เกิดการเหม็นหืนและมีราคาถูก ทำความสะอาดได้ดี เช็ดล้างออกได้ง่าย
2. ไขผึ้ง เป็นไขมันธรรมชาติ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ เพื่อให้เนื้อครีมมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว เป็นเอสเทอร์ของกรดไขมันกับแอลกอฮอล์ที่มีOH 1 หมู่ ไขมันเป็นเอสเทอร์ของกลีเซอร์รอล
3. น้ำ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องมีความบริสุทธิ์ มีจุลินทรีย์ไม่เกิน 1000 โคโลนีต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
4. สารปรุงแต่ง ใส่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการทำให้ผิวหน้านุ่ม ให้ความชุ่มชื้น บำรุงรักษาผิวหน้า
นอกจากนี้ บางผลิตภัณฑ์จะเติมกรดลงไปเพื่อรักษาสภาพเดิมของผิวหน้าซึ่งเป็นกรด มีค่าpH 5-6
และบางสูตรมียาฆ่าเชื้อด้วย

Top

 

 

 


น้ำยาดัดผม เป็นเครื่องสำอางเสริมแต่ง มีสารประกอบหลักคือ เบส และไธโอไกลโคเลต เนื่องจากเส้นผมประกอบขึ้นด้วยสารเคราตินเป็นส่วนใหญ่ เคราตินเป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 12 ชนิด เชื่อมกันด้วยพันธะซีสตีนไดซัลไฟด์ ซึ่งทำให้เส้นผมแข็งแรง และยืดหยุ่นได้ หลักของการดัดผมจะต้องทำให้เคราตินอ่อนตัวลงโดยใช้เบสแล้วจึงให้สารเคมีไธโอไกลโคเลต ทำปฏิกิริยาในเส้นผม ตรงพันธะไดซัลไฟด์ให้แตกออกเมื่อผมถูกม้วนก็จะงอตามรอยม้วนได้ เมื่อได้ความหยิกงอตามที่ต้องการแล้ว ต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดจัดพันธะของผมใหม่ ซึ่งก็คือน้ำยาโกรกผม และยังมีสารปรุงแต่งอื่นๆเพื่อช่วยปรับสภาพเส้นผม ได้แก่
สารเพิ่มความมันของเส้นผมและสารป้องกันการแตกหัก
 

Top

 

 


สารที่นำมาใช้ป้องกันแดดมี 2 ชนิดคือ
1. สารกรองแสงทางฟิสิกส์ ทำหน้าที่กระจายแสงเหนือม่วง ( ultraviolet , UV ) ไม่ให้ถูกผิวหนังโดยตรงเช่น สังกะสีออกไซด์ และไทเทเนียมออกไซด์ ซึ่งจะกระจายแสงเหนือม่วงจากผิวหนัง
2. สารกรองแสงทางเคมี ทำหน้าที่ดูดซึมพลังงานแสงเหนือม่วงเอาไว้ในตัวและเกิดปฏิกิริยาเคมีในตัวสารแสงเหนือม่วง หรือ UV มีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 200-400นาโนเมตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. UV-A มีความยาวคลื่นในช่วง 320-400 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นที่ทำให้เกิดสีผิวคล้ำขึ้นเป็นสีแทน
2. UV-B มีความยาวคลื่นในช่วง 290-320 นาโนเมตร เป็นช่วงคลื่นที่ทำให้เกิดอาการจากแสงแดดเผา
ทำให้ผิวคล้ำ อาการแดงอักเสบที่ผิวและปวดแสบปวดร้อน
3. UV-C มีความยาวคลื่นในช่วง 200-290 นาโนเมตร เป็นแสงส่วนที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโดยไม่มีผลต่อการทำให้
เกิดผิวคล้ำ แต่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้ แต่ส่วนมากจะถูกกรองโดยโอโซนในชั้นบรรยากาศ

สารกรองแสงที่ใช้ได้แก่ โฮโมซาเลต ซึ่งถ้าใช้ในปริมาณร้อยละ 15 ทำหน้าที่เป็นผลิตภัณฑ์กรองแสง แต่ถ้าใช้ในความเข้มข้นร้อยละ 8 ทำหน้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวคล้ำขึ้น

Top