bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

 

รายงานการวิจัย

การพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีภาวะออทิซึม สมาธิสั้น และ
บกพร่องทางการเรียนรู้ : ระยะที่ ๑ การสร้างกระบวนการและเครื่องมือ ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น
บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม

 

Potential Development for Students with Autism,
Attention Deficit Hyperactivity Disorder, and Learning Disorders :
Phase 1: The Development of Standardized Procedure and Instrument for Screening Students with Attention Deficit Hyperactivity Disorder, Learning Disorders, and Autism

โดย

ดารณี อุทัยรัตนกิจ

ชาญวิทย์ พรนภดล

วัจนินทร์ โรหิตสุข

นิรมล ยสินทร

สุพัตรา วงศ์วิเศษ แอนดราดี

กันยายน ๒๕๔๘

ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

และผลงานนี้เป็นความรับผิดชอบของนักวิจัยแต่ผู้เดียว

ปีงบประมาณ ๒๕๔๗

 

Presented in 46th Academic Conference, Kasetsart University, January 31th, 2008

บทคัดย่อ

 

          การพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีภาวะออทิซึม สมาธิสั้น และบกพร่องทางการเรียนรู้ : ระยะที่ 1 การสร้างกระบวนการ และ เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสำหรับการคัดกรองนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างกระบวนการ และ เครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน สำหรับการคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ขั้น ดังนี้

          ขั้นที่ 1: การพัฒนา แบบคัดกรอง

          ขั้นที่ 2: การสร้างเกณฑ์ปกติระดับประเทศ

          ขั้นที่ 3: การจัดทำคู่มือการใช้ แบบคัดกรองฉบับสมบูรณ์

 

           แบบคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม มีข้อความที่ บ่งบอกพฤติกรรมรวม 130 ข้อ

            แบ่งเป็นพฤติกรรมภาวะสมาธิสั้น 30 ข้อ

            ภาวะบกพร่องทาง การเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ด้านละ 20 ข้อ

            ภาวะออทิซึม 40 ข้อ

 

           ค่าความเที่ยงของแบบคัดกรองแต่ละกลุ่มอาการ เมื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาตรฐาน มีค่าระหว่าง 0.97 – 0.98 พฤติกรรมภาวะสมาธิสั้น ประกอบด้วย องค์ประกอบซน/ วู่วาม และขาดสมาธิ พฤติกรรมภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ และ พฤติกรรมภาวะออทิซึม ประกอบด้วย องค์ประกอบการสื่อสาร พฤติกรรม และสังคม แสดงถึงความตรงตามเนื้อหา ข้อความที่บ่งบอกพฤติกรรมทุกข้อในทุกกลุ่มอาการจำแนกความแตกต่าง ของนักเรียนปกติกับนักเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า มีภาวะบกพร่องได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนจากแบบคัดกรองโดยครู และ ผลการวินิจฉัย พฤติกรรมนักเรียนโดยจิตแพทย์มีค่าความไวในระดับที่ยอมรับได้ แสดงถึงความตรงตามเกณฑ์ทำนาย ข้อความที่บ่งบอกพฤติกรรม ทุกข้อของแต่ละพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมของแต่ละด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อความของแต่ละองค์ประกอบวัด โครงสร้างตามทฤษฎีเดียวกัน แบบคัดกรองมีค่าความสอดคล้องภายในสูงมากในทุกกลุ่มอาการ และ ทุกกลุ่มตัวอย่าง ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของทุกกลุ่มอาการ มีค่าตั้งแต่ 0.40 ขึ้นไป แสดงถึง ความตรงตามทฤษฎี และเกณฑ์ปกติระดับประเทศได้จากนักเรียนจำนวน 4,362 คน

            ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรที่ครอบคลุม ตามวัตถุประสงค์ของแบบคัดกรองนักเรียน ที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม นำเสนอในรูปคะแนนมาตรฐานที

Abstract

 

Name of Project: Potential Development for Students with Autism, Attention Deficit Hyperactivity Disorder, and Learning Disorders: Phase 1:
The Development of Standardized Procedure and Instrument for
Screening Students with Attention Deficit Hyperactivity Disorder,
Learning Disorders, and Autism
Head of Project:   Assistant Professor Daranee Utairatanakit, Ph.D.
Research Team:

Assistant Professor Chanvit Pornnoppadol, M.D

Ms. Wajjanin Rohitsuk, Ph.D.

Ms. Niramon Yasinthorn, M.Ed.

Mrs. Supattra Wongwisate Andrade, M.A.

Years of Study:  2004 – 2005

 


 

          The objective of this research project was to establish standard procedure and to develop instrument for screening students with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD), Learning Disorders (LD), and Autism. There were three operational steps; step 1:       the development of the screening instrument; step 2: the construction of national norms; and step 3: the establishment of the complete examiner’s manual.

 

          The screening instrument [KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs)]comprised five subscales with a total of 130 items. The first subscale was composed of 30 items describing behaviors that were characteristic of ADHD. There were 3 Learning Disorders subscales. Each subscale was composed of 20 items describing behaviors that were characteristic of LD – Reading, LD – Written Expression, and LD – Mathematics.      The fifth subscale consisted of 40 items which described behaviors that were characteristic   of Autism (PDDs). Internal consistency coefficients for the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs) subscales ranged from 0.97 – 0.98 for the standardization sample. The ADHD subscale consisted of two factors, Hyperactivity/ Impulsivity and Inattentive. The LD subscales composed of Reading, Written Expression and Mathematics factors. And the Autism subscale comprised Communication, Behaviors, and Social factors. The above evidence supported content validity of the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs). All items of the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs) significantly discriminated normal students from students diagnosed with disabilities at the 0.001 level. Moreover, the students behaviors evaluated by teachers using the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs) and the students behaviors diagnosed by psychiatrists were acceptable results. This provided evidence for criterion prediction validity. The results of this investigation provided ample evidence of the construct validity of the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs). All items significantly correlated with the total score of each subscale at the 0.05 level. Every item of each factor measured the same theoritical construct. The internal consistency of the KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs) were extremely high in all 5 subscales for all samples which indicated the homogeneity of each subscale. The factor loadings of each subscale were all above 0.40. The KUS–SI Rating Scales: ADHD/ LD/ Autism (PDDs) was standardized on 4,362 Thai children selected as representative of the population to be covered by the screening scales. The national norms were established for each subscale and provided in standardized T-Score.

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701