ไปหน้า 1 2 3 |
โครงการการศึกษาพิเศษ 2 (พ.2)
การดำเนินการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนออทิสติก ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการและ ทางการวิจัยการจัดการศึกษาพิเศษ ระหว่างโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
1. เพื่อจัดการศึกษาที่ทัดเทียมกัน ให้แก่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษจำนวนหนึ่ง ได้มีโอกาส ศึกษาร่วมกับเด็กปกติ
2. เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันทางการศึกษา และสถาบันทางการแพทย์
3. เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กที่ไม่ปกติ เมื่อได้รับการศึกษาร่วมกับเด็กปกติ
4. เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนปกติ
|
|
1. การรับนักเรียน
1.1 รับเฉพาะเด็กที่มีสภาวะผิดปกติหลัก 4 ด้าน คือผิดปกติด้านพัฒนาการ พฤติกรรม จิตวิทยา และ อารมณ์ แต่ต้องไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย
1.2 เด็ก ต้องผ่านการตรวจรักษาอย่างละเอียดโดยจิตแพทย์ ทั้งด้านร่างกาย การพัฒนาการและสภาวะทางจิต เด็กทุกคนต้องได้รับการตรวจทางด้านประสาทวิทยา ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ( Electroencephalogram : EEG) ตรวจการมองเห็นและได้ยิน
1.3 นักจิตวิทยาโรงเรียน ( School phycologist) ประเมินนักเรียนอย่างละเอียด (Comprehensive assessment) ซึ่งประกอบด้วยการประเมินความสามารถทางสติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทักษะการสื่อสาร ทักษะทางสังคมและพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เพื่อนำผลการประเมินทั้งหมดมาเป็นพื้นฐาน ในการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะนักเรียนแต่ละคน (Individualized Education Plan : IEP)
1.4 รับเด็กเข้าศึกษาในโครงการฯ ปีละ 5 คน เฉพาะชั้นเตรียมประถมศึกษา มีอายุระหว่าง 5-7 ปี
1.5 เด็กได้รับการบำบัดรักษาทางการแพทย์และการศึกษาพิเศษจากโรงพยาบาล ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียน จนมีความพร้อมทั้งในด้านการเรียนและพฤติกรรมในระดับที่พอจะเรียน และ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้
1.6 คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เป็นผู้คัดเลือก นักเรียนเข้าศึกษา โดยพิจารณาจากผลการวินิจฉัยทางด้านจิตเวช ผลการประเมินทางด้านจิตศึกษา และความเต็มใจของผู้ปกครอง
|
|
2. การจัดการเรียนการสอน
2.1 แนวทาง
2.1.1 จัดเตรียมอาจารย์สำหรับสอน ช่วยเหลือและดูแลนักเรียน อัตราส่วนนักเรียน 2 คน : อาจารย์ 1 คน
2.1.2 นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินทางจิตวิทยา ความพร้อมทางด้านการศึกษา และการวินิจฉัยทางการแพทย์ ดังนั้นจึงสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
|
|
กลุ่มที่ 1 นักเรียนมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ถึงเหนือเกณฑ์เฉลี่ย
นักเรียนกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรปกติ แต่วิธีการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนรู้ ต้องปรับวิธีการ โครงสร้างทางกายภาพการวัด และ การประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียน
|
|
|
กลุ่มที่ 2 นักเรียนมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องปรับทั้งมาตรฐานการเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และ การศึกษาเพื่อเตรียมตัวสู่การฝึกอาชีพ
|
|
|
กลุ่มที่ 3 นักเรียนมีระดับสติปัญญาบกพร่องขั้นรุนแรง
นักเรียนกลุ่มนี้ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนปกติได้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข |
|
|
2.1.3 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2
นักเรียนจะเรียนในห้องเรียนของโครงการฯโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการช่วยเหลือในการปรับตัวของนักเรียน ที่เพิ่งเปลี่ยนจากระดับอนุบาลมาเป็นประถมศึกษา เตรียมตัวนักเรียนให้พร้อมก่อนเข้าสู่ห้องเรียนใหญ่ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อไป ในด้านการพัฒนาทางด้านการสื่อสาร ทักษะสังคม ปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
|
|
นักเรียนจะเข้าเรียนรวมกับห้องเรียนปกติ เฉพาะวิชาพลศึกษา ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ สนทนาภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการศึกษาค้นคว้า งานช่าง งานประดิษฐ์ และกิจกรรมอิสระพัฒนาตน ทั้งนี้จะมีอาจารย์โครงการฯ ติดตามและให้ความช่วยเหลือ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้นักเรียนสามารถติดตามบทเรียนได้ทัน และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเด็กปกติ |
|
|
ในวิชาอื่นๆ ที่นักเรียนต้องเรียนในห้องเรียนของโครงการฯ อาจารย์ผู้สอนจะปรับสาระการ เรียนรู้ ตลอดจนการวัด และ ประเมินผลให้เหมาะสม กับศักยภาพของนักเรียน |
|
|
นักเรียนในโครงการฯ ทุกคน มีโอกาสเข้าร่วมทุกกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดเช่นเดียวกับ นักเรียนปกติ |
|
|
2.2 รูปแบบ
โครงการการศึกษาพิเศษ 2 (พ.2) มีแนวทางปฏิบัติใน การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนทั้ง 3 กลุ่ม ตามความสามารถทางสติปัญญา และการเรียนรู้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 นักเรียนเรียนรวมในห้องเรียนปกติทุกรายวิชา
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถทางสติปัญญา และการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เข้าเรียนรวมในห้องเรียนปกติทุกรายวิชา นักเรียนเรียนตามหลักสูตรปกติ การวัดและประเมินผลตามเกณฑ์นักเรียนปกติ เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียนเป็นไปตามหลักสูตรปกติ
|
|
กลุ่มที่ 2 นักเรียนเรียนรวมในห้องเรียนปกติบางรายวิชา
2.2.1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 2
นักเรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญา และการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย หรือสูงกว่าเกณฑ์ เฉลี่ย แยกเรียนในห้องเรียนโครงการฯ ในวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา งานบ้านและงานเกษตร และทักษะชีวิต วัดและประเมินผลการเรียนโดย
- นักเรียนเรียนสาระการเรียนรู้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และใช้ข้อสอบเหมือนนักเรียนปกติ แต่ประเมินผลโดยใช้คะแนนสอบและผลงานโดยคิดคะแนนคุณลักษณะ และทักษะกระบวนการ ตามความสามารถของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนออทิสติกแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างกันเป็นรายบุคคล จึงใช้แบบบันทึกพฤติกรรมร่วมในการประเมินผลด้วย
|
|
- ประเมินผลเป็นรายปี ประกอบด้วย ระดับคะแนนระหว่างภาคต้น ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2
ระดับคะแนนระหว่างภาคปลายครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และ สรุปผลการเรียนตลอดปี ซึ่งในการสอบ ผู้สอนจะสอบนักเรียนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย 2-3 คน บางรายจะใช้วิธีสอบปากเปล่า อ่านข้อสอบให้ยืดหยุ่นเวลาในการสอบแล้วแต่กรณี
|
|
|
- สำหรับวิชาพลศึกษา ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฏศิลป์ สนทนาภาษาอังกฤษ งานช่าง - งานประดิษฐ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการค้นคว้า กิจกรรมอิสระและพัฒนาตน นักเรียนจะเข้าเรียนรวมในห้องเรียนปกติ วัดและประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้และเกณฑ์ปกติ
|
|
|
2.2.2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 6
นักเรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย มีความสามารถ
ต่ำกว่านักเรียนปกติ เรียนรวมในห้องเรียนปกติเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นวิชาทักษะ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
|
|
แบ่งการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
นักเรียนเรียนตามหลักสูตรปกติ แต่แยกเรียนกลุ่มย่อยเพื่ออธิบายเสริม จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ วัดและประเมินผลตามเกณฑ์นักเรียนปกติ ดังนี้
คุณลักษณะ | ระดับคะแนน ไม่เกิน 3 |
ทักษะกระบวนการ | ระดับคะแนน 1 4/ร |
ผลสอบ / ผลงาน | ระดับคะแนน 0 4 |
นักเรียนเรียนตามเนื้อหาเฉพาะที่ปรับให้เหมาะสมตามความสามารถ / ความต้องการ จำเป็นพิเศษของนักเรียน วัดและประเมินผลตามพัฒนาการและความสามารถของนักเรียน ดังนี้
คุณลักษณะ | ระดับคะแนน ไม่เกิน 2 |
ทักษะกระบวนการ | ระดับคะแนน 1 |
ผลสอบ / ผลงาน | ระดับคะแนน 0 1 |
| คะแนนเฉลี่ย 0-1 หรือไม่เกิน 1.24 |
เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียน เป็นลักษณะของการติดตามชั้นเรียน การประเมินและการตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ
|
|
ไปหน้า 1 2 3 |