bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

ไปหน้า 1 2 3
กลุ่มที่ 3 นักเรียนที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง
  • นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความสามารถทาง สติปัญญา และการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมาก ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรปกติ นักเรียนเรียนตามหลักสูตรการศึกษาพิเศษ มุ่งเน้นการเรียนรู้ทักษะชีวิตเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข การวัดและประเมินผลจะเป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan : IEP) ของนักเรียนแต่ละคน
30

 

  • ส่วนรายวิชาที่นักเรียน เรียนรวมกับนักเรียนปกติ เช่น พลศึกษา ศิลปะ ดนตรี กิจกรรมอิสระพัฒนาตน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียนที่จะเข้าเรียนรวมได้ บางคนสามารถวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ปกติได้ หากไม่สามารถวัดและ ประเมินผลตามเกณฑ์ปกติ จะพิจารณาจากพัฒนาการและ ความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นสำคัญ
29

 

  • เกณฑ์การเลื่อนชั้น เป็นลักษณะของการติดตามชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีโอกาส พัฒนาทักษะทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน การประเมินผลและการตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
28

2.2.3 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6

 

  • ในการส่งนักเรียนเข้าเรียนรวมเต็มเวลาในห้องเรียนปกติ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไปนั้น ต้องมีการเลือกห้องเรียน ที่อาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ผู้สอนวิชาต่างๆ มีความเข้าใจ ยินดีและเต็มใจที่จะทำงานกับเด็กพิเศษ

 

  • มีการประชุมระดับชั้นก่อนเปิดเทอม ในปีการศึกษาใหม่ เพื่อรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของ นักเรียนแต่ละคน ให้อาจารย์ในระดับได้ทราบ เพื่อง่ายต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

  • จัดอาจารย์ในโครงการฯ ติดตามนักเรียนที่เรียนรวมกับนักเรียนปกติทุกวิชาและทุกชั่วโมงเพื่อเป็นกำลังใจและช่วยเหลือนักเรียน เท่าที่จำเป็นในห้องเรียน ทั้งทางด้านวิชาการและทักษะทางสังคม

 

  • ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียน ไม่สามารถทำความเข้าใจและติดตามบทเรียนได้ทัน หลังเสร็จสิ้น การเรียนในทุกวิชา อาจารย์โครงการฯ จะต้องปรับสาระการเรียนรู้วิชานั้นๆให้ง่าย และ ทบทวนนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง

 

  • ในระดับมัธยมศึกษา นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมด อาจารย์โครงการฯ แจะแยกนักเรียนจากห้องเรียนปกติ มาสอนเป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ โดยปรับสาระการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผล ให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน

 

  • ในกรณีที่นักเรียนมีระดับสติปัญญาบกพร่องขั้นรุนแรง ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรปกติ จำเป็นต้องจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ( IEP) ที่แตกต่างจากหลักสูตรปกตินั้น นักเรียนต้องได้รับการเลื่อนชั้นโดยคำนึงถึงอายุและพัฒนาการทางสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน นักเรียนจะมีชื่ออยู่ในระดับชั้นใดก็ตาม แต่ฐานการเรียนยังคงอยู่ที่ห้องโครงการฯ เพียงแต่เข้าเรียนรวมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆตามศักยภาพของนักเรียนกับเพื่อนร่วมชั้น

 

27 26
24 25

 

3.3 การประเมินผล

 

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูแบบชัดเจน

 

 

3. การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

3.1 การให้การศึกษาและทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน และเจ้าหน้าที่บริการฝ่ายต่างๆเกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานและประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเข้าใจและเจตคติของบุคคลที่แวดล้อมเด็กกลุ่มนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ

3.2 อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษประเภทอื่นๆ ที่โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ ในช่วงปิดภาคเรียน

 

3.3 มีการประชุมอาจารย์ในโครงการฯ ทุกสัปดาห์เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับลักษณะของนักเรียนแต่ละคน พฤติกรรมที่เป็นปัญหา แนวทางที่ควรปฏิบัติต่อนักเรียน วิธีการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งบทบาทของอาจารย์โครงการฯ ที่ปฏิบัติงานในห้องเรียนปกติ

 

3.4 เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ จะมีการรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของนักเรียนแต่ละคนในที่ประชุมระดับชั้น เพื่อให้อาจารย์ได้รู้จักนักเรียนเบื้องต้น ทำให้ง่ายต่อการจัดการเรียนการ สอนต่อไป

 

3.5 มีการพัฒนาอาจารย์ในโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายตลอดจนส่งอาจารย์ไปฝึกอบรมหรือศึกษาต่อ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

22 21
20 19

 

4. การประสานงานและความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง

 

          ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน เป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันการศึกษา แต่เนื่องจากสภาวะความผิดปกติของเด็ก มักจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและ จิตใจ จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาจากจิตแพทย์ ควบคู่กับการให้การศึกษา นอกจากนั้น พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักเด็กดีที่สุด ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของเด็กเป็นระยะเวลายาวนานกว่าบุคคลอื่นๆ ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อผลสำเร็จของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเช่นกัน

เพื่อให้การ ประสานงานและ ความร่วมอย่างดี ของทุกฝ่าย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีการดำเนินงานดังนี้

 

4.1 คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ และแพทย์จาก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ ประชุมปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียนเป็นรายกรณี อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่ออภิปรายถึงความก้าวหน้าทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรม รวมทั้งปัญหาต่างๆ และแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก การประชุมเช่นนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กพิเศษเป็นอย่างยิ่ง เพราะ บุคลากรทางการแพทย์ และแนวการศึกษา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาวิชาของตนได้ เรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัดทางจิตเวช นำวิธีการบำบัดนั้น มาปฏิบัติในโรงเรียน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ความเข้าใจวิธีการจัดการศึกษา สำหรับเด็กพิเศษในโรงเรียนปกติเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ทราบปัญหาต่างๆเมื่อเด็กพิเศษเข้าเรียน ร่วมกับเด็กปกติ ทำให้สถาบันทางการแพทย์สามารถจัดการศึกษา เพื่อเตรียมเด็กใน โรงพยาบาลให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น

 

4.2 อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ และผู้ปกครอง ประชุมร่วมกันอย่างน้อยภาคการศึกษา ละ 1 ครั้ง เป็นการประชุมเพื่ออภิปรายถึงพัฒนาการและปัญหาของนักเรียนแต่ละคน วางแผน ร่วมกันในการแก้ไขปัญหา การประชุมดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะก่อให้เกิดความ เข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างบ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการ อบรมเลี้ยงดูเด็ก นอกจากนั้น นักจิตวิทยาโรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือผู้ปกครอง พัฒนา โปรแกรมการปรับพฤติกรรม ที่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้าน เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ เป็นปัญหาของนักเรียน

18
17

 

4.3 กรณีที่นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหารุนแรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวนักเรียนเอง และ ผู้อื่น ทางโรงเรียนไม่สามารถควบคุมได้ โรงพยาบาลจะรับนักเรียนกลับคืนเพื่อฝึกและเตรียมความพร้อมใหม่

16

 

ไปหน้า 1 2 3 กลับสู่ด้านบน

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics