bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

ไปหน้า 1 2 3

5. กิจกรรมเสริมหลักสูตร

 

โครงการฯ ได้จัดบริการต่างๆให้นักเรียนตามความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งเป็นบริการทางการศึกษา และ บริการทางจิตวิทยาดังนี้

5.1 บริการทางการศึกษา
1. การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร (Speech Therapy)
คือ การฝึกเปล่งเสียงพูด การแก้ไขเสียงพูดให้ชัดเจน และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
15

2. กิจกรรมบำบัด
(Occupational Therapy)
คือ กิจกรรมที่ผ่านการประเมิน การรักษา และการให้คำปรึกษาแนะนำซึ่งครอบคลุมทั้งงานด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ภายใต้เงื่อนไขทางการแพทย์ กิจกรรมบำบัดประกอบด้วย การฝึกทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ การพัฒนาทางการรับรู้ การเคลื่อนไหว กระตุ้นประสาทรับความรู้สึก ตลอดจนการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การพัฒนาทักษะทางการเล่น
14

 

3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy) และดนตรีเพื่อพัฒนา
คือ การนำดนตรีและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีมาใช้ประกอบ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด เพิ่มความสุข และความมั่นใจ เตรียมพร้อมที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกประสาทหู เรียนรู้การฟังทำความเข้าใจการสื่อสาร เรียนรู้การสร้างจินตนาการตามเสียงและจังหวะเพลง ฝึกการเคลื่อนไหวตามจังหวะ การแสดงออกทางสีหน้า ร่วมไปกับการเรียนรู้การเข้าสังคมและการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วม ชั้น เรียนรู้การฝึกความอดทนและรอคอยตามลำดับ

จากดนตรีบำบัดนี้เอง ที่นำไปสู่ดนตรีเพื่อพัฒนา ตามความจำเป็นพิเศษของนักเรียนแต่ละคน ทางโรงเรียนได้จัด “ โครงการสร้างสัมพันธ์ด้วยดนตรี” เพื่อให้นักเรียนออทิสติก ที่มีศักยภาพพิเศษทางดนตรี ได้มีโอกาสร่วมวงดนตรีกับนักเรียนปกติ

นอกจากจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนนักเรียนปกติอีกด้วย

13
12
11

 

4. ศิลปะบำบัด (Art Therapy) และศิลปะเพื่อการพัฒนา
คือ การใช้กิจกรรมศิลปะ หรือผลงานศิลปะ หาข้อบกพร่องของบุคคลที่กลไกการทำงานของร่างกายไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิต โดยใช้กิจกรรมศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการรักษาให้มีสภาพดีขึ้น

ศิลปะบำบัดนี้ยังจะช่วยพัฒนานักเรียนออทิสติก ด้านต่างๆ ดังนี้

4.1 ช่วยพัฒนาการด้านสติปัญญา เนื้อหาเป็นการบูรณาการกับวิชาอื่นๆไม่ควรซับซ้อน แต่เน้นด้านเทคนิคและวิธีการที่หลากหลาย การทำงานอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาพัฒนาการ และความบกพร่องของนักเรียน เน้นให้ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

 

4.2 พัฒนาการทางด้านอารมณ์ ความสนุกสนานขณะทำกิจกรรม การยอมรับใน ความสามารถตามระดับพัฒนาการ ด้วยการให้คำชมเชยหรือรางวัล นอกจากจะเป็น การสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนมีสมาธิเพิ่มขึ้น

 

4.3 พัฒนาการด้านร่างกาย กิจกรรมศิลปะทำให้เด็กออทิสติกได้เคลื่อนไหวร่างกาย การ ใช้มือ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีการทำงานที่คล่องแคล่วขึ้น

 

4.4 พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้นักเรียนทำงานตามความคิดของตน อย่างอิสระ ไม่ลอกเลียนแบบผู้อื่น

 

4.5 พัฒนาการด้านสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยที่ดี มีความเป็นระเบียบสะอาดเรียบร้อย รู้จักเก็บและทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ

 

10
9

 

5. พฤติกรรมบำบัดและการแก้ไขพฤติกรรม
คือ การปรับเปลี่ยนจิตใจ การกระทำ ความเคยชินในการกระทำจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์

8
7

 

6. การพัฒนาทักษะกลไก การเคลื่อนไหว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
คือ การฝึกทักษะทางพลศึกษาเพิ่มเติม จากที่เรียนรวมกับเพื่อนนักเรียนปกติ เพิ่มอีกสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงหลังเลิกเรียน เนื่องจากนักเรียนออทิสติกมีปัญหาทางด้านกายภาพและการเคลื่อนไหว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเรียนรวมหรือทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับเพื่อนได้อย่างดี

 

6
5

 

7. การสอนเสริมทางวิชาการ
คือ การสอนเสริมวิชาทักษะ 3 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา สอนตอนเย็นหลังโรงเรียนเลิก หนึ่งชั่วโมงๆละหนึ่งวิชา ระดับประถมศึกษา สอนวันเสาร์ 9.00 – 12.00 น.


4
3

 

5.2 บริการทางจิตวิทยา

5.2.1 การบำบัดด้วยวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับทางชีวภาพ (Neurobiofeedback Therapy) ตัวเครื่อง Hemoencephalogram (HEG)
คือ วิธีการบำบัดรักษาโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ตรวจวัดข้อมูลการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของระบบประสาท และสามารถป้อนกลับข้อมูลนั้นให้ผู้ฝึกสามารถมองเห็นและเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้ฝึกสามารถรู้ได้ว่า สมองของเขากำลังทำอะไรอยู่เช่น สมาธิ ความสนใจ ความตั้งใจต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่ หรือกำลังล่องลอยไป เมื่อรับรู้แล้วนักเรียนก็สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาปรับเปลี่ยนปฏิกิริยาทางสมองที่ต้องการได้ หากได้รับการฝึกฝนดีแล้วนักเรียนจะสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ

2

 

5.2. 2 จิตบำบัด (Psychotherapy)
คือ การรักษาด้วยวิธีการทางจิต สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์หรือพัฒนา บุคลิกภาพในด้านต่างๆ โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

1
ไปหน้า 1 2 3 กลับสู่ด้านบน

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics