bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

รายงานการวิจัย

เรื่อง

 

การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษา 
การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
 คณะศึกษาศาสตร์  ปีการศึกษา 2550

Studying the process of the educational research program and the outcome of the progression for students with autism in university from: The Program for Academic Research for Developing the
Potential of People with Autism from Kasetsart University Laboratory School Center of Educational Research and Development,  Faculty of Education in 2007
โดย ระพีพร     ศุภมหิธร

คณะศึกษาศาสตร์    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2552

บทคัดย่อ

 
          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของ"โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2550   โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1.) ศึกษากระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550   2.) ศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติก 6 คน ด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการปฏิบัติงานนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ ใบรายงานผล การลงทะเบียน และผลการเรียนของนิสิตออทิสติก  รายงานการประชุมคณะกรรมการฯ  และสรุปรายงานการประชุมร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการฯและผู้เกี่ยวข้อง  ปีการศึกษา 2550  ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า  1.) กระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีปัญหาสำคัญ 2 ด้านคือ นิสิตออทิสติก 2 คน ไม่สามารถเรียนตาม หลักสูตรปกติได้ ทางโครงการฯ จึงปรับแผนการเรียนให้โดยคำนึงถึง ความสามารถและความชอบของ นิสิตออทิสติก ส่วนอีกด้านคือการหานิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ 2.)นิสิตออทิสติกทุกคนมีพัฒนาการ ทางด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญาดีขึ้น
Abstract
          The purpose of this research was to study the process of "The Program for Academic Research for Developing the Potential of People with Autism from Kasetsart University Laboratory School Center of Educational Research and Development in 2007. The purpose included two majors topics 1) Studying the process of the program in 2007. 2) Studying the developmental skills of the students with autism in the University that consists of intelligence skills, emotional skills and social skills. The researcher collected the data by recording forms of the regular student's cooperating in the program, who volunteered, and reporting the results from the meeting between the committee and the collaborative team of 2007.  Additionally, the students with autism showed progression of the developmental skills such as intelligence skills, emotional skills and social skills. However, the research has found the problems of two students with autism that could not be successful studying in the regular curriculum. The programs curriculum had to be modified to suit the individual learning for student's achievement.  Selecting student  volunteers for the program was the other problem.
           It was concluded that all children with autism improved certain social skills even at different degree. Some seemed with well progress were  responsive to others by chatting around, expressing ideas, asking others to join in, showing off their own works and even coping with disagreements. Other slower cases only showed a little more interests in others, recognizing and receiving co-players, while still being isolated, withdrawing into ownselves. As for normal students, it was obvious that, they offered good and friendly helps to the autistic ones. It should be noted that every activity chosen to encourage the social skill development of the children with autism must be fun, simple, easy to interact and of course be familiar one to them

 

 

Presented and published at Chulalongkorn Academic Conference to promote nation researcher on the occasion of the 50th anniversary of the establishment of the Faculty of Education, July 10th-11th, 2007

กิตติกรรมประกาศ

      งานวิจัยเรื่อง "การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2550"  สำเร็จได้ด้วยคำแนะนำ  ความกรุณา  และความช่วยเหลือจากหลายท่าน 
     ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์  ไชยโส  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี    ศรีสุขวัฒนานันท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่กรุณาชี้แนะแนวทางการสรุปงานวิจัยในครั้งนี้  ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี  อุทัยรัตนกิจ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ที่ให้โอกาสผู้วิจัยได้รับผิดชอบงานและ มีโอกาสช่วยเหลือนิสิตออทิสติก  ขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติรัตน์  ทัดเทียมรมย์  ที่ช่วยสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้เสมอ  ขอบคุณ อาจารย์ สุพัตรา วงศ์วิเศษ แอนดราดี ที่ช่วยให้คำปรึกษาในการเขียน Abstract และขอบคุณ  น.ส.ปิยะฉัตร  นาคประสงค์  ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลและช่วยเหลือในทุกๆเรื่องจนทำให้งานวิจัยนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

                                                                             ระพีพร  ศุภมหิธร

มกราคม  2552

 

         

ความสำคัญและความเป็นมา

          คนพิการมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาตามที่พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ  พ.ศ.2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ได้กำหนดสิทธิทางการศึกษาสำหรับคนพิการ  ตามหมวด 1 มาตรา 5ข้อ (3) ไว้ว่า "ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้  การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสม  สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล" และมาตรา 8 วรรค 4 กำหนดให้"สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัดมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด"  บุคคล   ออทิสติกเป็นกลุ่มบุคคลพิการประเภทหนึ่งตามกฎกระทรวงที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือและจัดการศึกษาให้

 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรก ที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกด้านการศึกษา ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับอุดมศึกษา  โดยในปีการศึกษา 2533 โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการและ การวิจัยการจัดการศึกษาพิเศษ ระหว่างโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ เพื่อวิจัย และจัดการศึกษาให้แก่ นักเรียนออทิสติก โดยรับนักเรียนออทิสติก ที่ได้รับการวินิจฉัยและ บำบัดรักษาจากโรงพยาบาล ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ จนนักเรียนมีอาการดีขึ้น พอที่จะเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ ให้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ปีละ 5 คน ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้มีนักเรียนออทิสติกเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ ตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 74 คน

 

จากการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ และการติดตามพัฒนาการของ นักเรียนออทิสติกในโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  พบว่า นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการอย่าง เด่นชัดทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรม นักเรียนสามารถเรียนรวมกับนักเรียนปกติ  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีความสามารถทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น พฤติกรรมออทิสติกลดน้อยลง  (ดารณี, 2549)

 

ปีการศึกษา 2545 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียน ตามโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"  โดยมีผู้อำนวยการสำนักทะเบียน และประมวลผลเป็นประธาน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะกรรมการ ดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์"  ขึ้น โดยมีคณบดีคณะศึกษาศาสตร์เป็นประธาน มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ให้สามารถศึกษาได้สูงสุดตามศักยภาพของนิสิต และรายงานผล การศึกษาวิจัย ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทราบ

 

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545- 2550 มีนิสิตออทิสติกสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการ ดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกฯ แล้วทั้งหมด จำนวน 5 คน สำเร็จการศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ธุรกิจศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ 1 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์)  1  คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) คณะสังคมศาสตร์  จำนวน 2 คน และสำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) คณะมนุษยศาสตร์ จำนวน  1  คน

 

โครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัยและการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และสามารถช่วยเหลือนิสิตออทิสติก ให้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีได้จำนวนหนึ่ง  แต่ในระหว่างดำเนินการ ผู้วิจัยพบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่มีผลต่อการศึกษาและการใช้ชีวิต ในระดับอุดมศึกษาของนิสิต ออทิสติก การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิต ออทิสติก ในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจ และเป็นแนวทางที่จะร่วมกันหาวิธีการ ให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกให้สามารถศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้ประสบความสำเร็จตามศักยภาพ

     

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของ "โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล       ออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"  ปีการศึกษา 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1.  ศึกษากระบวนการดำเนินงานของ โครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผล นิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2550

2.  ศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา

 ขอบเขตของการวิจัย

          ศึกษาผลการดำเนินงานของ "โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย  และการติดตามผลนิสิต ออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์"  ปีการศึกษา 2550  โดยมีนิสิตออทิสติกเป้าหมายจำนวน 6 คน  ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปีการศึกษา 2550 

นิยามศัพท์

          กระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ   หมายถึง  การดำเนินการจัดการศึกษา  รูปแบบ  วิธีการช่วยเหลือ  การสนับสนุน  และการติดตามผลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ  ที่จัดให้กับนิสิตออทิสติกที่ศึกษาใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ปีการศึกษา 2550 

          พัฒนาการของนิสิตออทิสติก   หมายถึง  พัฒนาการของนิสิตออทิสติกที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ปีการศึกษา 2550  ทางด้านอารมณ์  สังคม  และสติปัญญา

 การตรวจเอกสาร

          โครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้เห็นความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือบุคคล       ออทิสติก  เริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยการอนุมัติให้โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  รับนักเรียนออทิสติกเข้าศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (จงรักษ์ และคณะ, 2536)  ในปี พ.ศ.2545  มีนักเรียน    ออทิสติกจำนวนหนึ่งสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ  สูตะบุตร  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น มีดำริที่จะให้ความช่วยเหลือ นักเรียนออทิสติกกลุ่มดังกล่าวเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีพิเศษ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติโครงการเพื่อรับนักเรียนออทิสติก เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีพิเศษเมื่อเดือนตุลาคม 2544   แล้วจึงแต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียน ตามโครงการ วิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"  เมื่อเดือนมีนาคม 2545  โดยมีคณะกรรมการดังต่อไปนี้

1.  ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล                        ประธานกรรมการ
2.  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์                                            กรรมการ
3.  ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษา                  กรรมการ
     เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
     โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือผู้แทน
4.  เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษา          กรรมการและเลขานุการ
     เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 

                                   โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มีหน้าที่รับสมัคร และพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของผู้สมัคร เพื่อเข้าศึกษาในคณะ / สาขาที่เหมาะสมกับ ศักยภาพของผู้สมัครในแต่ละปีการศึกษา และสรุปผลการพิจารณา ให้มหาวิทยาลัยอนุมัติตามลำดับ

          เดือนกุมภาพันธ์ 2546  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก นักเรียนตามโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์  เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ใหม่  ดังนี้

1.  ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล              ประธานกรรมการ

2.  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์                                         กรรมการ
3.  คณบดีคณะสังคมศาสตร์                                          กรรมการ
4.  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์                                          กรรมการ
5.  ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษา               กรรมการ
เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์

หรือผู้แทน
6.  เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษา     กรรมการและเลขานุการ
เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์

 

          คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนออทิสติก เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ฯ  ได้พิจารณานักเรียนออทิสติกกลุ่มแรก ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าศึกษา ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2545 จำนวน 5 ราย  โดยเข้าศึกษาในคณะและสาขาวิชา

ดังนี้

คนที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์        สาขาวิชา  พลศึกษา
คนที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์        สาขาวิชา  ธุรกิจศึกษา
คนที่ 3 คณะสังคมศาสตร์        สาขาวิชา  สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา
คนที่ 4 คณะสังคมศาสตร์        สาขาวิชา  สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา

คนที่ 5 คณะสังคมศาสตร์        สาขาวิชา  ประวัติศาสตร์

 

          เดือนกุมภาพันธ์ 2546  รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจ  อิ่มพิทักษ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น  ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"

ประกอบด้วย

  1. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ                                ที่ปรึกษา
  2. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต                            ที่ปรึกษา
  3. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์                                  ประธานกรรมการ
  4. คณบดีคณะสังคมศาสตร์                                  กรรมการ
  5. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์                                 กรรมการ
  6. ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข  ลิ่มศิลา              กรรมการ
  7. ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต                              กรรมการ
  8. ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล             กรรมการ
  9. ผู้แทนผู้ปกครองนิสิตออทิสติก                           กรรมการ
  10. ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษา      กรรมการ

เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์

11. ประธานคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์วิจัยการศึกษา  กรรมการและเลขานุการ

เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์

12. นางระพีพร   ศุภมหิธร                                     กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกให้สามารถ ศึกษาได้สูงสุดตามศักยภาพของนิสิต และรายงานผลการศึกษา วิจัยให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทราบ

          สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้มีประกาศ เรื่อง "ระเบียบว่าด้วยการบริหารโครงการ ดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  พ.ศ.2547"  เมื่อวันที่ 19  พฤษภาคม 2547 และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ได้มีประกาศเรื่อง "กำหนดอัตราค่าเบี้ยประชุม ค่าสมนาคุณ  ค่าตอบแทน  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการบริหารโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"  เมื่อวันที่  19  พฤษภาคม  2547

 

          โครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มีวัตถุประสงค์ดังนี้

 

  1. เพื่อจัดโอกาสให้นักเรียนออทิสติกที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จำนวนหนึ่งจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีพิเศษ
  2. เพื่อศึกษาวิจัยการเรียนรู้ของบุคคลออทิสติกในระดับอุดมศึกษา  ต่อเนื่องจากการเรียนรู้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. เพื่อศึกษาพัฒนาการทุกด้าน ของบุคคลออทิสติกที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
  4. เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางด้านวิชาการ และบริการระหว่างสถาบันทางการศึกษา และสถาบันทางการแพทย์
  5. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษา สำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาให้เป็นที่เข้าใจ แพร่หลายสู่สาธารณชน

 

          วิธีการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษาการวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  ในปีการศึกษา 2550  มีดังนี้

 

1. โครงการความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยการจัดการศึกษาพิเศษ ระหว่างโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ จัดประชุม ผู้ปกครองและ นักเรียนออทิสติกที่กำลังเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคปลาย  ปีการศึกษา 2549 เพื่อสอบถามความสนใจ ในสาขาวิชาและคณะที่จะศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักจิตวิทยาทดสอบ ทางจิตวิทยา และส่งข้อมูลทั้งหมดรวม ทั้งผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้คณะกรรมการพิจารณา คัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติกเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ พิจารณา

 

2. คณะกรรมการพิจารณา คัดเลือกนักเรียนตามโครงการ วิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติกเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ได้พิจารณาให้นักเรียนออทิสติก ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   โดยวิธีพิเศษ

 

3. ปีการศึกษา  2550  จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และ

การติดตามผล นิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า  และให้ความช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหากับนิสิตออทิสติก  และร่วมกันหาแนวทาง เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้จำนวน  6 ครั้ง ดังนี้

ประชุมครั้งที่  1/2550   วันศุกร์ที่   16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่  2/2550   วันศุกร์ที่    27  เมษายน  พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่  3/2550   วันศุกร์ที่    22  มิถุนายน  พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่  4/2550   วันพฤหัสบดีที่   23  สิงหาคม  พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่  5/2550   วันพฤหัสบดีที่   27  กันยายน  พ.ศ.2550

ประชุมครั้งที่  6/2550   วันพฤหัสบดีที่    6   ธันวาคม  พ.ศ.2550

 

4. ส่งข้อมูลเบื้องต้นของ นิสิตออทิสติกให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชา ที่นิสิตออทิสติก ลงทะเบียนเรียน ทุกภาคการศึกษา

5. จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ จิตแพทย์ โดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิง เพ็ญแข ลิ่มศิลา  อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน  นิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ และผู้ปกครอง นิสิตออทิสติก  ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้า ผลการเรียนและปัญหาของนิสิตออทิสติก เป็นรายบุคคล และหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติก ร่วมกัน จำนวน 2 ครั้งดังนี้

                    ครั้งที่ 1  เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550
                    ครั้งที่ 2  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2550

6. นิสิตออทิสติกทุกคน จะมีนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ  คอยดูแลและช่วยเหลือในอัตราส่วน 1 : 1   ซึ่งภาระงาน (Job Description) ของนิสิตอาสาสมัคร ประจำโครงการฯ คือ ประสานกับอาจารย์ผู้สอน  ผู้ปกครอง  ทางด้านการเรียน  โดยพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิต   ออทิสติก  สัปดาห์ละ 1 ครั้ง   พบนิสิตออทิสติก  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ช.ม.    รวบรวมเอกสารการเรียนการสอน ในวิชาที่นิสิตออทิสติก ต้องการ แนะนำแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการเรียน แนะนำ Tutor  ที่เหมาะสม  และ/หรือ  อาจให้คำปรึกษา เกี่ยวกับเนื้อหา  ข้อมูลความยากง่ายของวิชาต่าง ๆ รวมทั้งอาจารย์ผู้สอน เมื่อได้รับการร้องขอ จากนิสิต ออทิสติก นอกจากนี้ ยังช่วยประสานกับ อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ผู้สอน  เมื่อนิสิตออทิสติกเกิดปัญหา และประสานกับกลุ่มเพื่อน  ชี้แนะ และชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม  ทั้งด้านการเรียนและสังคม  โดยแนะนำกิจกรรม ที่เหมาะสมให้นิสิตออทิสติกเข้าร่วม   ช่วยดูแล และคอยแนะนำ กลุ่มเพื่อนที่เหมาะสม  หากเกิดปัญหา ให้แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน ผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้องทราบ  นิสิตอาสาสมัคร ประจำโครงการฯ จะต้องส่งแบบบันทึกการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ รวมทั้งประสานกับนักวิจัยประจำโครงการฯ  เพื่อรวบรวม ข้อมูลของนิสิตออทิสติกให้กับโครงการฯ โดยก่อนการปฏิบัติงาน ทางโครงการฯจะจัดประชุม เพื่อให้ข้อมูลของ นิสิตออทิสติก บอกแนวทาง และวิธีการให้ความช่วยเหลือ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ และความ ต้องการพิเศษ ของนิสิตออทิสติก รวมทั้งชี้แจงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ ของนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ ด้วย

7. ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการ วิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ได้เสนอ "โครงการ ดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และกา รติดตามผลนิสิตออทิสติก และนิสิตที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพิจารณา รับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities, LD) เข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยวิธีพิเศษเพิ่มเติมจากนักเรียนออทิสติก ที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว เนื่องจากเด็กพิเศษที่โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความ ช่วยเหลือ นอกจากเด็กออทิสติกแล้ว ยังมีเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้  (Learning Disabilities, LD) ด้วย โดยทางโครงการฯ ได้เสนอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อรับนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ที่สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ โดยพิธีพิเศษ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการฯของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ในปีการศึกษา 2550 มีนิสิตออทิสติก ในโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิต ออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  จำนวน 6 คน โดยศึกษาใน คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 1 คน  คณะสังคมศาสตร์จำนวน 4  คน  และคณะมนุษยศาสตร์จำนวน  1 คน

ดังนี้

 

คนที่ 1           

คณะศึกษาศาสตร์ 

สาขาวิชาพลศึกษา

ชั้นปีที่ 6

คนที่ 2

คณะสังคมศาสตร์ 

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ชั้นปีที่ 6

คนที่ 3

คณะมนุษยศาสตร์ 

สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

ชั้นปีที่ 3

คนที่ 4

คณะสังคมศาสตร์

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ชั้นปีที่ 3

คนที่ 5

คณะสังคมศาสตร์ 

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ชั้นปีที่ 2

คนที่ 6

คณะสังคมศาสตร์

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ชั้นปีที่ 1

 

บุคคลออทิสติก
          ออทิซึม เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของโรค Pervasive Developmental  Disorders  (PDDs)  ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรุนแรง  ลักษณะเฉพาะของกลุ่มนี้ คือมีความผิดปกติใน ลักษณะของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  รูปแบบของการสื่อความหมาย และมีข้อจำกัดความสนใจและพฤติกรรมซ้ำๆ  ความผิดปกติเหล่านี้ แสดงออกในทุกสถานการณ์  แต่แตกต่างกันไป ตามระดับความรุนแรงของแต่ละคน  (ชัยชนะ,  2536)

          Autism  พบครั้งแรกในปี ค.ศ.1943  โดยจิตแพทย์ลีโอ   แคนเนอร์  (Dr.Leo  Kanner)  โรงพยาบาลจอห์นฮอปกินส์  โดยศึกษาจากเด็ก 11 คน  ให้ชื่อพฤติกรรมจำเพาะในเด็กกลุ่มนี้ว่า ออทิซึม (autism)  และเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กออทิสติก  (Autistic Children)  ซึ่งมีความหมายว่า "เด็กที่อยู่ในโลก ของตัวเอง"  ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข  ลิ่มศิลา  (2540)  ได้บอกข้อชี้บ่งตามคู่มือ การวินิจฉัย และสถิติความผิดปกติทางจิต ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน  ครั้งที่ 3  สำหรับใช้วินิจฉัยโรค "ออทิซึม"  มีหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อ  ซึ่งแต่ละหัวข้อจะแบ่งเป็นข้อย่อย  ดังนี้

          1.  การสูญเสียทางด้านสังคม และไม่สามารถมีปฏิกิริยา ต่อสัมพันธภาพของบุคคลได้  ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 2 ข้อย่อย  ดังนี้
                   1.1  แสดงพฤติกรรมไม่สนใจใคร  มีการกระทำต่อบุคคล หรือสิ่งมีชีวิตอื่นคล้ายสิ่งของ  ไม่สามารถมีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพของบุคคล
                   1.2  แสดงพฤติกรรมไม่รู้ร้อนรู้หนาว  ไม่รู้จักช่วยตัวเองจากอันตรายต่างๆ
                   1.3  ไม่สามารถลอกเลียนแบบการกระทำของคนอื่นได้
                   1.4  เล่นกับใครไม่เป็น
                   1.5  ไม่สนใจที่จะมีเพื่อน  ไม่สามารถผูกมิตรกับใคร

          2.  มีการสูญเสียทางด้านการสื่อความหมายด้วยการพูด  และไม่ใช้คำพูด ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 1 ข้อย่อย  ดังนี้
                   2.1  ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมสื่อความหมายได้เลย
                   2.2  มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในการสื่อความหมายที่ไม่ใช่คำพูด
                   2.3  ขาดจินตนาการในการเล่น
                   2.4  มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในการเปล่งเสียงพูด
                   2.5  มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในรูปแบบและเนื้อหาของการพูด
                   2.6  ไม่มีความสามารถที่จะสนทนากับใครได้นาน  มักจะพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจเท่านั้น
          3.  มีการกระทำและความสนใจซ้ำซากอย่างเด่นชัด  ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 1 ข้อย่อย ดังนี้
                   3.1  เคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายซ้ำๆ
                   3.2  คิดหมกมุ่นหรือสนใจส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งของ
                   3.3  แสดงความคับข้องใจอย่างมาก  ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเขา  หรือที่เกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวัน
                   3.4  ต้องทำสิ่งหนึ่งที่เคยทำเป็นประจำ  โดยมีรายละเอียดเหมือนเดิม
                   3.5  มีความสนใจในขอบเขตที่จำกัด

          4.  เริ่มพบอาการในช่วงอายุระหว่างวัยทารก (ก่อน 30-36 เดือน)  หรือวัยเด็ก  ซึ่งเป็นข้อบังคับว่าต้องมีข้อนี้เสมอ

          เมื่อรวมข้อปลีกย่อยทั้งหมดจากข้อ (1) (2) (3) และ (4)  แล้วต้องพบทั้งหมดไม่น้อยกว่า 8 ข้อย่อย สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือ จะต้องพิจารณาว่า ความผิดปกติทางพฤติกรรมที่พบนั้น  เป็นความผิดปกติที่เปรียบเทียบจาก ระดับพัฒนาการของเด็กวัยเดียวกันเท่านั้น


          ดารณี และคณะ (2548)  กล่าวว่า  ลักษณะทั่วไปของเด็กกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
          1.  พัฒนาการทางสังคม  คือ  เด็กออทิสติกมักมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสบตา  ไม่ชอบการถูกสัมผัส  และแตะเนื้อต้องตัว   แยกตัวอยู่คนเดียว  และสีหน้าเฉยเมย
          2.  พัฒนาการทางภาษาพูดและการสื่อความหมาย  เด็กออทิสติกพบได้จากเริ่มตั้งแต่พูดไม่ได้  พูดเลียนคำ  พูดภาษาของตนเอง  พูดซ้ำๆ พูดเจื้อยแจ้ว  แต่สนทนาโต้ตอบไม่ตรงประเด็น  พูดแสดงถึงความต้องการของตนเองไม่ได้
          3.  กระบวนการทางความคิด  ความเข้าใจ  เด็กออทิสติกจะขาดจินตนาการ  เล่นสมมติ            ไม่เป็น  ฟังนิทานไม่รู้เรื่อง
          4.  พฤติกรรมซ้ำๆ เช่น  การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ โดยการหมุนตัว  โบกมือไปมา  ชอบดูของหมุนๆ  ชอบดูโฆษณาทางโทรทัศน์ซ้ำๆ   ฟังเพลงซ้ำๆ  เปิดปิดประตู  ไฟฟ้า  วิทยุ  โทรศัพท์  ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดิน  เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันยาก  ทำให้เกิดการหมกมุ่น กับเหตุการณ์และสิ่งของ  ถ้าถูกขัดใจ จะเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์  เช่น  กรีดร้อง  ทำร้างร่างกายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น

      

  นอกจากลักษณะทั้ง 4 ด้านนี้แล้ว  ยังพบว่า เด็กที่มีภาวะออทิซึมไม่สามารถเข้าใจความคิด และความรู้สึกทั้งของตนเอง และผู้อื่นได้  คือ เด็กออทิสติกจะไม่สามารถสะท้อนความนึกคิดของตนเอง  หรืออธิบายความรู้สึกของการกระทำของตนเองได้ว่าทำไมเขาถึงกระทำอย่างนี้รวมทั้งไม่สามารถ เข้าใจมุมมอง  หรือเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของผู้อื่นได้  ซึ่งหมายถึงเด็กที่มีภาวะออทิซึมจะมีสภาวะทางด้านจิตใจที่แตกต่าง จากบุคคลทั่วไป  เช่น  ความเชื่อ  ความปรารถนา  ความตั้งใจ  จินตนาการ  และอารมณ์

          บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัย มีความบกพร่องในกลุ่มออทิสติก  (Autistic Spectrum Disorders)  หรือ บุคคลออทิสติกจะเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม  เรียนรู้จากการเห็น (Visual thinking  and learning)  ทำความเข้าใจ และตอบสนองได้ดี ในสิ่งที่มีโครงสร้างชัดเจน ข้อตกลงที่บุคคลกลุ่มนี้เข้าใจ ต้องเป็นรูปธรรม  เรียนรู้ที่จะทำตามแบบที่กำหนดได้  ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์แบบ  ซึ่งบาง ครั้งเกินความพอดี  และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้มีส่วนร่วมคือลงมือทำ โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่จาก การฟัง บุคคลกลุ่มนี้รับรู้สิ่งต่างๆที่ตรงไปตรงมา ไม่เข้าใจในสิ่งที่อ้อมค้อมหรือต้องแปลความ  หากสนใจสิ่งใด จะเรียนรู้ได้ดีมาก  สามารถจดจำในรายละเอียดของบางจุดหรือบางเรื่องที่สนใจเท่านั้น  ขาดความสนใจ และมีความยากลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคม ไม่สนใจที่จะแสวงหาความสุขหรือสนุกกับ ผู้อื่น  ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว  มีความยากลำบากที่จะเข้าใจหรือปฏิบัติตามกฎ หรือพฤติกรรมทางสังคมที่ เหมาะสมได้  (Robin, 2008) 
          Dr.Temple  Grandin  เป็นบุคคลออทิสติกที่ประสบความสำเร็จในชีวิต  มีความเชี่ยวชาญด้านปศุสัตว์  ได้กล่าวว่า บุคคลออทิสติกมีวิธีคิดที่เฉพาะ  (type of specialized thinking)  แบ่งออกเป็น 3 แบบ (Temple, 2008) คือ

          1.  Visual  thinkers/Thinking in Picture  เป็นกลุ่มที่ชอบศิลปะ  ต่อบล็อกเลโก้  เด็กกลุ่มนี้ ง่ายที่จะทำให้สนใจวัตถุต่างๆ
          2.  Music and Math thinkers  เป็นกลุ่มที่มีกระบวนการคิดเป็นรูปแบบ (patterns) แทนการ คิดเป็นรูปภาพ
          3.  Verbal logic thinkers   เป็นกลุ่มที่ชอบจดบันทึกและตัวเลข  หลายคนสามารถจำตาราง การเดินรถประจำทาง  หรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้  กลุ่มนี้จะมีความสนใจเฉพาะในประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสถิติทางกีฬา

 

          ดารณีและคณะ (2548)  กล่าวว่า  โรคออทิซึม และโรคอื่นๆ ในกลุ่ม Pervasive Developmental Disorders (PDDs)  เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  การรักษาเด็กที่เป็นออทิสติก  คือการนำ วิธีการรักษาในด้านต่างๆ มาผสมผสานรวมกัน  โดยมีเป้าหมายของการรักษาอยู่ที่การกระตุ้น และฟื้นฟูพัฒนาการ ในด้านต่างๆ เช่น การพูด  การเข้าสังคม  การรับรู้  และการเรียน ให้ดีขึ้นจนใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด และลด หรือกำจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  การรักษาในด้านเหล่านั้น ได้แก่ การปรับพฤติกรรม และฝึกทักษะ ทางสังคม  การฝึกพูด  การกระตุ้นพัฒนาการ และการฝึกอาชีพ  การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม  การช่วยเหลือครอบครัว  และการรักษาด้วยยา  ซึ่งสอดคล้องกับศรีเรือน  (2548)  ที่กล่าวว่า เด็กกลุ่มนี้มักมีความด้อยในทักษะทางภาษา และเหตุผลเชิงนามธรรม ขาดความสามารถ ในการเชื่อมโยงความรู้เก่า ความรู้ใหม่  การจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มนี้ ต้องมีการจัดการศึกษา อย่างเป็นพิเศษ  การทำการรักษาเด็กกลุ่มนี้ ต้องใช้วิธีการ ทางจิตบำบัดและรักษา ด้วยยา  เด็กที่ได้รับการรักษา และให้การศึกษาอย่างถูกวิธี  อาการจะเบาลงได้มาก การรักษาที่ได้ผลดีมาก ไม่ว่าในรูปแบบใด ต้องได้รับความช่วยเหลือ จากพ่อแม่ ผู้ปกครองอย่างมาก  และต้องได้รับความร่วมมือจาก บุคลากรหลายความถนัด เช่น แพทย์  นักจิตวิทยา  นักอรรถบำบัด  ครู นักจิตบำบัด

           ผดุง (2542)  ได้เสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก  ดังนี้
          1.  การปรับหลักสูตร  หลักสูตรควรได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถ ของเด็ก  การจัดการเรียนการสอน ควรเน้นขบวนการเพื่อแก้ปัญหา  หรือเพื่อมุ่งบรรเทาปัญหาความบกพร่อง ของเด็กในด้านทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ทักษะในการพูด และการใช้ภาษา  ทักษะในการ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก กล้ามเนื้อใหญ่  อารมณ์และสังคมของเด็กและทักษะในการปรับตัว เพื่อให้เด็กแสดง ปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

          2.  การดำรงชีพในสังคม  หลักสูตรสำหรับเด็กออทิสติก ไม่ควรเน้นเฉพาะด้านวิชาการ  ควรเน้นทักษะ ที่จะช่วยให้เด็กสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้โดยไม่อาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น

          3.  การตอบสนองความต้องการของเด็ก  เด็กออทิสติกมีปัญหาหลายด้าน  ทั้งด้านการแพทย์  ด้านสังคม  ด้านความคิดความจำ  ด้านการพูดและภาษา  ด้านการปรับตัว  และด้านพฤติกรรม  การจัดการ เรียนการสอนเพื่อมุ่งขจัดหรือบรรเทาปัญหาเหล่านี้จึงควรประกอบด้วยบริการหลายๆด้าน  มีการวาง แผนโดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรหลายฝ่าย

          4.  ความช่วยเหลือเบื้องต้น  เป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งเด็กได้รับการช่วยเหลือ รวดเร็วเพียงใด  โอกาสที่ปัญหาของเด็ก จะบรรเทาลงยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น  ความช่วยเหลือเบื้องต้น ที่เด็กควรได้รับ  ได้แก่  ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสาร และการปรับพฤติกรรม

          5.  การทำงานเป็นทีม  โปรแกรมการช่วยเหลือ เด็กออทิสติก ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย เช่น ครูการศึกษาพิเศษ  ครูที่สอนเด็กปกติ  นักแก้ไขการพูด  นักสังคมสงเคราะห์  นักจิตวิทยา  จิตแพทย์  นักกิจกรรมบำบัด  นักกายภาพบำบัด  และบุคลากรทางการแพทย์ ที่จำเป็นอื่นๆ

      Robin (2008)  ได้เสนอแนวทาง การจัดการเรียนการสอน สำหรับบุคคลออทิสติก ให้มีประสิทธิภาพ  สามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ตามศักยภาพ  มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
          1.  พิจารณาลักษณะเฉพาะของบุคคลออทิสติกแต่ละคน  เพื่อหาวิธีการพัฒนาและการช่วยเหลือที่เหมาะสม
          2.  บอกเงื่อนไขที่ช่วยให้บุคคลออทิสติก แต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ให้ผู้สอนทราบ
          3.  จัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเพิ่มความรู้ความสามารถในการเรียนรู้และลดสิ่งรบกวนหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง
          4.  ใช้การสนับสนุนพฤติกรรมทางบวก (positive behavior supports)  เพื่อช่วยให้พฤติกรรมที่เหมาะสมยังคงอยู่
          5.  มีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
          6.  ใช้ข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน หรือการให้ความช่วยเหลือ 

 

          จุดประสงค์ทั้งหมดของการจัดการเรียนการสอน  เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิตของบุคคล ออทิสติกให้มีชีวิตอยู่อย่างอิสระได้

          บุคคลออทิสติกเป็นกลุ่มผู้พิการประเภทหนึ่งที่พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสามารถพบได้ทั้งในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา  ดารณี และคณะ (2548)  กล่าวว่า  ผลการศึกษาจากการใช้เกณฑ์ "ภาวะออทิสติกสเปคตรัม"  ในการวินิจฉัย พบว่า  ความชุกของบุคคลที่มีภาวะออทิซึมเพิ่มขึ้นเป็น 21 ในเด็ก 10,000 คน หรือในเด็กทุก 500 คน พบเด็กออทิสติก 1 คน  และจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า  ภายหลังจากได้มีการประกาศใช้แบบทดสอบใหม่  ทำให้ประชากรกลุ่มออทิสติก (Autistic Spectrum Disorders)  เพิ่มขึ้นอย่างมาก คือมีประมาณ 6 ใน 1,000 (ร้อยละ 0.6)  ของประชากรทั้งหมด  สำหรับประเทศ ไทยพบความชุกของโรคออทิซึมในเด็กอายุ 1-5 ปี เท่ากับ  9.9 : 10,000 คน  ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษา ของหลายประเทศที่มีค่าอยู่ระหว่าง 3.3 – 16 :10,000 คน  จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้สันนิฐานได้ว่า ในอนาคตจะมีบุคคลออทิสติกเข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การให้ความช่วยเหลือ บุคคลกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ และมีรูปแบบที่ชัดเจน จึงจะช่วยให้บุคคลออทิสติก พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยตัวเอง 
         
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสกับบุคคลออทิสติกมาเกือบ 20 ปี  โดยเปิดโอกาสให้ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  และให้โอกาสในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยวิธีพิเศษ บัดนี้มีบุคคลออทิสติกจำนวนหนึ่งสามารถ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  อีกจำนวนหนึ่งสามารถใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้  ปรับตัวเข้ากับสังคม ใหม่และดำเนินชีวิตได้  สามารถพึ่งพาตนเองและมีชีวิตอยู่อย่างอิสระได้ระดับหนึ่ง  อย่างไรก็ตามการให้ความ ช่วยเหลือบุคคลออทิสติกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างจากระดับอุดมศึกษา  ด้วยลักษณะและความ ต้องการพิเศษของเขาเปลี่ยนไป  ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการดำเนินงานของ "โครงการดำเนินการ จัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนา ศักยภาพบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"   และ ศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกด้านอารมณ์  สังคม และสติปัญญา  โดยศึกษา เฉพาะปีการศึกษา 2550  โดยคาดหวังว่า ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางสำหรับสถาบันการศึกษาอื่นๆ  นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานศึกษาและความต้องการพิเศษเฉพาะของบุคคลออทิสติก ซึ่งจะช่วยให้บุคคล ออทิสติกสามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

                      

     วิธีดำเนินการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการดำเนินงานของ  "โครงการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"  ปีการศึกษา 2550  โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์เฉพาะ  ดังนี้

  1. การศึกษากระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550
  2. การศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกเป้าหมาย

 

1.  การศึกษากระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550

    1.  ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความเหมาะสม และปัญหา / อุปสรรค ในขั้นตอนของการดำเนิน

งานของโครงการฯ ต่อไปนี้
1.1.1  การพิจารณารับนักเรียนออทิสติกที่สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2549 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์โดยวิธีพิเศษ  ดำเนินการโดยประชุมผู้ปกครองและนักเรียนออทิสติกเพื่อสอบถามความสน ใจในสาขาวิชาและคณะ ที่จะเข้าศึกษาต่อ คณะกรรมการฯ พิจารณาจากข้อมูลที่นักจิตวิทยาทดสอบ ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย รวมทั้งความสนใจและความสามารถของนักเรียนออทิสติก เสนอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่ออนุมัติ
1.1.2  การคัดเลือกนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ  เพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติกที่เข้าศึกษา ในปีการศึกษา 2550 ชี้แจง และมอบหมายงาน ตามภาระงานที่คณะกรรมการฯ กำหนด
1.1.3  การประสานงานระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง  ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย เลขานุการคณะกรรมการฯ และนักวิจัยประจำโครงการฯ ส่งข้อมูลเบื้องต้นของนิสิตออทิสติกจำนวน 6 คน ให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชา ที่นิสิตออทิสติกลงทะเบียนเรียน ในภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
1.1.4  การให้ความช่วยเหลือระหว่างการดำเนินงานของโครงการฯ คณะกรรมการฯประชุมร่วมกันเพื่อ รับทราบปัญหาของนิสิตออทิสติก เป็นรายบุคคลโดยฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการปฏิบัติ งานทุกสัปดาห์ และการรายงานของนิสิตอาสาสมัคร ประจำโครงการฯ รวมทั้งจาก อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน และผู้ปกครองนิสิตออทิสติก เพื่อวางแผนและหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ มีการประชุมจำนวน 6 ครั้ง

 

1.2  รวบรวมข้อมูลจาก

1.2.1  รายงานการประชุมของ "คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียน ตาม
โครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ฉบับ
1.2.2   รายงานการประชุม "คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และ
ติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"   ปีการศึกษา 2550  จำนวน 6 ฉบับ
1.2.3  ใบรายงานผลการลงทะเบียนเรียน ของนิสิตออทิสติกภาคต้น – ภาคปลาย ปีการศึกษา 2550

 

2.  การศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกเป้าหมาย จำนวน 6 คน

          ในปีการศึกษา 2550  มีนิสิตออทิสติกศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จำนวน 6 คน  ซึ่งเป็นนิสิตออทิสติกเป้าหมาย

 

2.1 ตัวแปรที่ศึกษา คือ

2.1.1  พัฒนาการทางด้านอารมณ์
2.1.2  พัฒนาการด้านสังคม
2.1.3  พัฒนาการด้านสติปัญญา
2.1.4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตออทิสติก

 

2.2 รวบรวมข้อมูลจาก

2.2.1  แบบบันทึกการปฏิบัติงานของนิสิตอาสาสมัคร ประจำโครงการฯ ของนิสิตออทิสติกรายบุคคล
2.2.2  ผลการเรียนของนิสิตออทิสติก ภาคต้น – ภาคปลาย  ปีการศึกษา 2550
2.2.3  รายงานการประชุม คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา  การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  ปีการศึกษา 2550 จำนวน 6 ฉบับ
2.2.4  บทสรุปรายงานการประชุมร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการดำเนิน
การจัดการศึกษา  การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และผู้เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2550 จำนวน 2 ฉบับ

               

        ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์

ผลการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของ  "โครงการดำเนินการ จัดการศึกษา  การวิจัย  และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์"  ปีการศึกษา 2550 โดยนำเสนอผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์เฉพาะ  ดังนี้

 

1.กระบวนการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการ ศึกษา การวิจัย และการ
ติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2550  ศึกษาความเหมาะสม และปัญหา/อุปสรรค ในขั้นตอนของการดำเนินงานของโครงการฯ พบว่า

 

1.1 การพิจารณารับนักเรียนออทิสติก ที่สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา ตอนปลายจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์โดยวิธีพิเศษ  มีความเหมาะสม นักเรียนออทิสติกได้เรียนต่อในสาขาวิชา และคณะที่ตนสนใจ และเหมาะสมกับความสามารถ ปัญหา/ อุปสรรคที่พบคือ นักเรียนออทิสติก มีความสนใจบางสาขาวิชามากกว่า แต่ไม่ผ่านเกณฑ์เฉพาะของสาขาวิชา นั้นๆ ทำให้ทางคณะ ไม่สามารถรับเข้าศึกษาได้ เช่น สาขาวิชาดนตรีสากล  ภาควิชาศิลปะนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์เป็นต้น  ทำให้ต้องเลือกเรียนในสาขาวิชาที่สนใจรองลงมา

 

1.2 การคัดเลือกนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย  สามารถ ช่วยเหลือนิสิตออทิสติกได้มาก แบบบันทึกการปฏิบัติงาน และการรายงานของนิสิตอาสาสมัคร ประจำโครงการฯ ช่วยให้คณะกรรมการฯ สามารถวางแผน และให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติกได้ทันท่วงที เมื่อเกิดปัญหา  และช่วยให้นิสิตออทิสติกปรับตัว เข้ากับสังคมใหม่ได้ดีขึ้น  มีทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น ปัญหา/ อุปสรรคที่พบคือ มีความยากลำบาก ในการหานิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ นิสิตบางคนอยากทำแต่ไม่มีเวลา  หรือบางคน ไม่แน่ใจวิธีสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมกับนิสิตออทิสติก ซึ่งทางโครงการฯ ได้ปฐมนิเทศ ประชุม ชี้แจง  และบอกแนวทางปฏิบัติและข้อมูลของนิสิตออทิสติกให้ บางคนสอบผ่านวิชานั้นๆก่อน ทำให้ไม่สามารถ ช่วยเหลือนิสิตออทิสติกได้ดีเท่าที่ควร สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือ นิสิตควรเรียน สาขาวิชาเดียวกันและเรียน ด้วยกันกับนิสิตออทิสติกมากที่สุด และควรเป็นความสมัครใจและยินดีที่จะทำหน้าที่ของนิสิตอาสาสมัครฯ รวมทั้งความสบายใจของนิสิตออทิสติกด้วย

 

1.3 การประสานงานระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง โดยมีการประชุมร่วมกันและร่วมมืออย่างใกล้ชิด สามารถช่วยสนับสนุนให้นิสิตออทิสติก ประสบความสำเร็จ ในการเรียน และใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้ดีขึ้น

 

1.4 การให้ความช่วยเหลือระหว่างการดำเนินงานของโครงการฯ โดยมีคณะกรรมการฯ เป็นผู้ดำเนินการวางแผน และวางรูปแบบในการช่วยเหลือ สามารถช่วยเหลือนิสิต   ออทิสติกเมื่อเกิดปัญหาได้ จากการศึกษาพบว่า นิสิตออทิสติกสามารถเรียนได้ดี ในวิชาประเภทความจำ และวิชาที่ใช้ทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ของร่างกาย เช่น Badminton,  Ethics, Social Psychology,    Introduction to Speech Communication, Marxist Philosophy, Introduction philosophy, Introduction to Education Technology, Mahayana buddhism, Archery  และที่เรียนไม่ได้หรือเรียนได้ไม่ดี  ในวิชาประเภทคิดวิเคราะห์และประมวลความรู้ ความคิด  เช่น  Sociological Thought & Theory, Fundamental English Writing, General Psychology, Introduction to Anthropology, Introduction to Sociology, Urban Sociology เป็นต้น  นิสิตออทิสติกต้องเรียนตามหลักสูตรปกติ บางคนสามารถเรียนได้ และเรียนได้ดีในบางรายวิชาที่ใช้การจำ เป็นส่วนใหญ่ แต่บางคนไม่สามารถเรียนบางรายวิชา โดยเฉพาะวิชา ที่เน้นการคิดขั้นสูง การวิเคราะห์วิจารณ์ได้ ทำให้สอบไม่ผ่านหรือต้องงดเรียน ทางโครงการฯ ต้องปรับแผนการเรียนของ นิสิตออทิสติกจำนวน 2 คน คือ นิสิตคนที่ 1 (คณะศึกษาศาสตร์  สาขาพลศึกษา  ปี 6)

และ

นิสิตคนที่ 2 (คณะสังคมศาสตร์  สาขาสังคม วิทยาและมนุษยวิทยา ปี 6 )

โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และคำนึงถึงความสามารถ และความชอบของนิสิตออทิสติก  การปรับแผน การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ของนิสิตออทิสติก หรือการจัดแผนการเรียนรู้เฉพาะบุคคล จะช่วยให้นิสิต ออทิสติกประสบผลสำเร็จในการเรียนได้ดีขึ้น

 

2.  นิสิตออทิสติกมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาดีขึ้น  พบว่า

 

 2.1. พัฒนาการทางด้านอารมณ์  นิสิตออทิสติก รู้จักที่จะแสดงออก มากขึ้น สามารถ
แสดงความรู้สึก ในเวลาที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ยังมีความเครียด และวิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ ทั้งเรื่องการเรียน การทำงาน  และสภาพแวดล้อมรอบตัว  การเปลี่ยนสถานะภาพ จากนักเรียนมาเป็นนิสิตมหาวิทยาลัย ทำให้นิสิตออทิสติก มีปัญหาในการจัดการกับเวลา ที่ว่างจากการเรียน  ทำให้เกิดความรู้สึก เหงา และขาดเพื่อน

 

2.2  พัฒนาการทางด้านสังคม   นิสิตออทิสติก มีทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ยอมรับที่ จะเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น   มีการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับผิดชอบและรู้หน้าที่ของตนเองเพิ่มขึ้น  แต่บางครั้ง ยังชอบอยู่ในโลกส่วนตัว ชอบอยู่คนเดียว เมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยนิสิตออทิสติก ต้องพึ่งตัวเองมากขึ้น  มีปัญหา ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น  ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เกี่ยวข้อง  การมีนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ ช่วยนิสิตออทิสติกในการปรับตัวด้านการเรียน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้มาก

 

2.3  พัฒนาการทางด้านสติปัญญา นิสิตออทิสติก ได้เรียนรู้ในวิชาที่ยากขึ้น  และมีการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น  ทำให้มีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น รู้จักการช่วยเหลือตนเอง ในการแก้ปัญหาต่างๆ   แต่นิสิตออทิสติก บางคน ก็ยังไม่สามารถ ที่จะแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ต้องมีผู้คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ

 

2.4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตออทิสติกปีการศึกษา 2550
นิสิตคนที่ 1        คณะศึกษาศาสตร์  สาขาพลศึกษา                         ปี 6 เกรดเฉลี่ย  2.04
นิสิตคนที่ 2        คณะสังคมศาสตร์  สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา   ปี 6 เกรดเฉลี่ย  1.83
นิสิตคนที่ 3        คณะมนุษยศาสตร์  สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา        ปี 3 เกรดเฉลี่ย  2.93
นิสิตคนที่ 4        คณะสังคมศาสตร์  สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา   ปี 3 เกรดเฉลี่ย  2.39
นิสิตคนที่ 5        คณะสังคมศาสตร์  สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา   ปี 2 เกรดเฉลี่ย  2.57
นิสิตคนที่  6       คณะสังคมศาสตร์  สาขาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา   ปี 1 เกรดเฉลี่ย 1.55    

พบว่า   นิสิตออทิสติกคนที่ 1 ถึงคนที่ 5 มีเกรดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2549

 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

 

1. กระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550 ซึ่งวางแผนและดำเนินการตามรูปแบบวิธีการ ที่โครงการฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546  โดยมีคณะกรรมการฯ เป็นผู้วางแผนการดำเนินงาน วางรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ  มีการประชุม และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง  ได้แก่ จิตแพทย์  อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ผู้สอน  นิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ  และผู้ปกครองนิสิตออทิสติก  ทำให้โครงการฯ ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ปัญหา / อุปสรรคที่พบ คือนิสิต ออทิสติกจำนวน 2 คน ไม่สามารถเรียนตามหลักสูตรปกติได้  ทางโครงการฯ ต้องปรับแผนการเรียน โดยให้ เรียนตามความสามารถ และความสนใจ  และความยากลำบาก ในการหานิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ

 

2. นิสิตออทิสติกมีพัฒนาการด้านอารมณ์  สังคม  และสติปัญญาดีขึ้น  รู้จักแสดงออก และแสดงความรู้สึก ในเวลาที่เหมาะสมขึ้น  มีทักษะทางสังคมเพิ่มขึ้น  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ยอมรับที่จะเรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น มากขึ้น รู้จักช่วยเหลือตนเองในการแก้ปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2549 ทุกคน

   

ข้อวิจารณ์
         
          บุคคลออทิสติก มีความยากลำบาก ในการปรับตัวเข้าสู่สังคมใหม่ (รัชนี, มปป)  การให้ความช่วยเหลือ บุคคลออทิสติกอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยผู้ใหญ่  จะช่วยให้บุคคลออทิสติกสามารถดำเนินชีวิต ในสังคมได้ดีขึ้น  (Robin และ Trary 2008) กระบวนการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการ และวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติก จากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  ปีการศึกษา 2550  ซึ่งมีการวางแผน และดำเนินการตามรูปแบบ ที่ได้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546  โดยมีคณะกรรมการฯ เป็นผู้วางแผนการดำเนินงาน  วางรูปแบบ และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือนิสิต ออทิสติกอย่างเป็นระบบ  มีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติก โดยพิจารณาเป็นรายกรณี  การประชุม และความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง  ทำให้โครงการฯ ประสบ ความสำเร็จ  สามารถช่วยให้นิสิตออทิสติก มีพัฒนาการด้านอารมณ์  สังคม  และสติปัญญาดีขึ้น  ควบคุมอารมณ์ และแสดงความรู้สึก ในเวลาที่เหมาะสมดีขึ้น  ยอมรับที่จะเรียนรู้ และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น  มีทักษะทางสังคม เพิ่มขึ้น ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดีขึ้น  รู้จักที่จะคิดและหาหนทางแก้ปัญหาให้กับตนเองดีขึ้น 

 

          ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการฯ ที่พบ  คือ
1.ความสามารถของนิสิตออทิสติกด้านการเรียน พบว่านิสิตออทิสติก ต้องเรียนตามหลักสูตรปกติ บางคนสามารถ เรียนได้  แต่บางคนไม่สามารถเรียนบางรายวิชา ตามหลักสูตรได้ดีเท่าที่ควร หรือบางคนสอบไม่ผ่าน  โดยเฉพาะ วิชาที่เน้นการคิดขั้นสูง  การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  หรือวิจารณ์  ทำให้นิสิตออทิสติกบางคนต้องใช้เวลาในการ เรียนเพิ่มขึ้น  หรือบางคน ต้องออกจากหลักสูตรปกติ และเลือกเรียนวิชาตามความสนใจแทน 

2.  การจัดนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ พบว่า มีความยากลำบาก ในการหานิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ บางคนสอบผ่านวิชานั้นๆ ก่อน  ทำให้เรียนวิชาต่างกันกับนิสิต    ออทิสติก   การให้ความช่วยเหลือต่างๆ จึงไม่ดีเท่าที่ควร  หรือบางคน อยากทำแต่ไม่มีเวลา  บางคน ไม่แน่ใจวิธีสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสม  บางคน เกิดปัญหาความไม่เข้าใจกับพฤติกรรม และการแสดงออกของนิสิตออทิสติก  ทำให้เบื่อ  ไม่อยากทำ  และปฏิเสธที่จะทำ

          การให้ความรู้และข้อมูลเบื้องต้นของนิสิตออทิสติกแต่ละคนกับผู้เกี่ยวข้อง เป็นความจำเป็น และเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง  ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจและร่วมกันหาวิธีที่เหมาะสมที่จะช่วยให้นิสิตออทิสติกประสบ ความสำเร็จในการเรียน การปรับตัวและการใช้ชีวิตในสังคมมหาวิทยาลัย

         

  ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

 

1.  ควรศึกษารูปแบบหรือวิธีการให้ความช่วยเหลือที่อาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนใช้ เพื่อช่วยให้นิสิต ออทิสติก ประสบความสำเร็จในการเรียน หรือการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

2.  ควรศึกษาเทคนิคหรือวิธีการที่นิสิตออทิสติกใช้ในการช่วยเหลือตนเอง ให้สามารถเรียนหรือปรับตัวเข้ากับ สังคมมหาวิทยาลัยได้ประสบความสำเร็จ

                   

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ
          นางระพีพร     ศุภมหิธร

สังกัด
          โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา 
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน

 

วุฒิการศึกษา
          วิทยาศาสตรบัณฑิต  (คหกรรมศาสตร์)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
          ศึกษาศาสตรบัณฑิต  (ปฐมวัยศึกษา)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
          คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  (พัฒนาการเด็กและครอบครัว)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

การอบรมและศึกษาดูงาน
- อบรมและศึกษาดูงานด้านการศึกษาพิเศษ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2545 ณ เมือง Denver  ประเทศสหรัฐอเมริกา
-  อบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำศูนย์บริการนักศึกษาพิการแบบเข้ม
(Intensive Program)  ช่วงที่ 1-2  วันที่ 19-29 พฤษภาคม 2551และ  วันที่ 5-15 สิงหาคม 2551  ณ วิทยาลัยราชสุดา  มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายาจังหวัดนครปฐม 
-  อบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำศูนย์บริการนักศึกษาพิการแบบเข้ม
          (Intensive Program)  ช่วงที่ 3 วันที่ 17 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน 2551  ณ University of
          Northern Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา
-  อบรมและสัมมนาสรุปบทเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำ
          ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ เพื่อร่วมจัดทำหลักสูตรอบรม ในรุ่นถัดไป  วันที่ 20-21
          มีนาคม 2552  ณ โรงแรมภูริมาศ  บิช แอนด์ สปา จังหวัดระยอง 

 

งานในความรับผิดชอบ
-  หัวหน้าและประธานคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ   ปีการศึกษา 2551 – ปัจจุบัน
-  กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการ
ความช่วยเหลือพิเศษ  ปีการศึกษา 2550 – ปัจจุบัน
-  หัวหน้าโครงการการศึกษาพิเศษ 2  ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการความช่วยเหลือ
พิเศษ  ปีการศึกษา 2549 – ปัจจุบัน
กรรมการและเลขานุการโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติกจากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2550 - ปัจจุบัน
-  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการ
ความช่วยเหลือพิเศษ  ปีการศึกษา 2546 – 2549
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์   ปีการศึกษา 2546 - 2549

 

ผลงานวิชาการ
           ระพีพร  ศุภมหิธร.  2540.  เทคนิคปราบพยศออทิสติก...แจ๊คผู้เกือบปราบครู...
                     วารสารแนะแนว  ปีที่ 31  ฉบับที่ 166  พ.ศ. 2540  หน้า 63-66
            ระพีพร  ศุภมหิธร.  2549.  เทคนิคการสอนเด็กออทิสติก.  วารสารวิทยาจารย์ 
                    ปีที่ 105 ฉบับที่ 4  กุมภาพันธ์ 2549  หน้า 52-55

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552: