โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือบุคคล ออทิสติก เริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการอนุมัติให้โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับนักเรียนออทิสติกเข้าศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 (จงรักษ์ และคณะ, 2536) ในปี พ.ศ.2545 มีนักเรียน ออทิสติกจำนวนหนึ่งสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สูตะบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น มีดำริที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนออทิสติกกลุ่มดังกล่าวเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยวิธีพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อนุมัติโครงการเพื่อรับนักเรียนออทิสติกเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยวิธีพิเศษเมื่อเดือนตุลาคม 2544 แล้วจึงแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนมีนาคม 2545 โดยมีคณะกรรมการดังต่อไปนี้
1. ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล ประธานกรรมการ
2. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กรรมการ
3. ประธานกรรมการอำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษา กรรมการ
เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หรือผู้แทน
4. เลขานุการคณะกรรมการอำนวยการ กรรมการและเลขานุการ
ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการ
ความช่วยเหลือพิเศษ โรงเรียนสาธิต
แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มีหน้าที่รับสมัครและพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของผู้สมัครเพื่อเข้าศึกษาในคณะ / สาขาที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้สมัครในแต่ละปีการศึกษา และสรุปผลการพิจารณาให้มหาวิทยาลัยอนุมัติตามลำดับ
เดือนกุมภาพันธ์ 2546 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใหม่ ดังนี้
1. ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและ ประธานกรรมการ
ประมวลผล
2. คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กรรมการ
3. คณบดีคณะสังคมศาสตร์ กรรมการ
4. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กรรมการ
5. ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษา กรรมการ
เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
หรือผู้แทน
6. เลขานุการคณะกรรมการบริหาร กรรมการและเลขานุการ
ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่
ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนออทิสติกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ฯ ได้พิจารณานักเรียนออทิสติกกลุ่มแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2545 จำนวน 5 ราย โดยเข้าศึกษาในคณะและสาขาวิชา ดังนี้
คนที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชา พลศึกษา
คนที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชา ธุรกิจศึกษา
คนที่ 3 คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คนที่ 4 คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คนที่ 5 คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชา ประวัติศาสตร์
เดือนกุมภาพันธ์ 2546 รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ที่ปรึกษา
- รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต ที่ปรึกษา
- คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ประธานกรรมการ
- คณบดีคณะสังคมศาสตร์ กรรมการ
- คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กรรมการ
- ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา กรรมการ
- ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล กรรมการ
- ผู้แทนผู้ปกครองนิสิตออทิสติก กรรมการ
- ประธานคณะกรรมการบริหาร กรรมการ ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
- ประธานคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์วิจัย กรรมการ การศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ พิเศษโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
- นางระพีพร ศุภมหิธร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกให้สามารถศึกษาได้สูงสุดตามศักยภาพของนิสิต และรายงานผลการศึกษาวิจัยให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทราบ
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีประกาศ เรื่อง ระเบียบว่าด้วยการบริหารโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิส ติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีประกาศเรื่อง กำหนดอัตราค่าเบี้ยประชุม ค่าสมนาคุณ ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นๆในการบริหารโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547
โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลอทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อจัดโอกาสให้นักเรียนออทิสติกที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนหนึ่งจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีพิเศษ
- เพื่อศึกษาวิจัยการเรียนรู้ของบุคคลออทิสติกในระดับอุดมศึกษา ต่อเนื่องจากการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- เพื่อศึกษาพัฒนาการทุกด้านของบุคคลออทิสติกที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
- เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางด้านวิชาการและบริการระหว่างสถาบันทางการศึกษาและสถาบันทางการแพทย์
- เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษาให้เป็นที่เข้าใจแพร่หลายสู่สาธารณชน
|
วิธีการดำเนินงานของโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2550 มีดังนี้
1. โครงการความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยการจัดการศึกษาพิเศษระหว่างโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯจัดประชุมผู้ปกครองและนักเรียนออทิสติกที่กำลังเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2549 เพื่อสอบถามความสนใจ ในสาขาวิชาและคณะที่จะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักจิตวิทยาทดสอบทางจิตวิทยา และส่งข้อมูลทั้งหมดรวมทั้งผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ พิจารณา
2. คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ ได้พิจารณาให้นักเรียนออทิสติกที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยวิธีพิเศษ
3. ปีการศึกษา 2550 จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า และให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหากับนิสิตออทิสติก และร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้การดำเนินงานของโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้
ประชุมครั้งที่ 1/2550 วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่ 2/2550 วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่ 3/2550 วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่ 4/2550 วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่ 5/2550 วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ.2550
ประชุมครั้งที่ 6/2550 วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2550
4. ส่งข้อมูลเบื้องต้นของนิสิตออทิสติกให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาที่นิสิตออทิสติก ลงทะเบียนเรียนทุกภาคการศึกษา
5. จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ จิตแพทย์ โดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิง เพ็ญแข ลิ่มศิลา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน นิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ และผู้ปกครองนิสิตออทิสติก ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อรายงานความก้าวหน้า ผลการเรียน และปัญหาของนิสิตออทิสติกเป็นรายบุคคล และหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติกร่วมกัน จำนวน 2 ครั้งดังนี้
ครั้งที่ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550
ครั้งที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2550
6. นิสิตออทิสติกทุกคนจะมีนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ คอยดูแลและช่วยเหลือในอัตราส่วน 1: 1 ซึ่งภาระงาน (Job Description) ของนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ คือ ประสานกับอาจารย์ผู้สอน ผู้ปกครอง ทางด้านการเรียน โดยพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิต ออทิสติก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง พบนิสิตออทิสติก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ช.ม. รวบรวมเอกสารการเรียนการสอน ในวิชาที่นิสิตออทิสติกต้องการ แนะนำแหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการเรียน แนะนำ Tutor ที่เหมาะสม และ/หรือ อาจให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา ข้อมูล ความยากง่ายของวิชาต่าง ๆ รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนเมื่อได้รับการร้องขอจากนิสิตออทิสติก นอกจากนี้ยังช่วยประสานกับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เมื่อนิสิตออทิสติกเกิดปัญหา และประสานกับกลุ่มเพื่อน ชี้แนะและชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งด้านการเรียนและสังคม โดยแนะนำกิจกรรมที่เหมาะสมให้นิสิตออทิสติกเข้าร่วม ช่วยดูแลและคอยแนะนำกลุ่มเพื่อนที่เหมาะสม หากเกิดปัญหาให้แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน ผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้องทราบ นิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ จะต้องส่งแบบบันทึกการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ รวมทั้งประสานกับนักวิจัยประจำโครงการฯ เพื่อรวบรวมข้อมูลของนิสิตออทิสติกให้กับโครงการฯ โดยก่อนการปฏิบัติงาน ทางโครงการฯ จะจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลของนิสิตออทิสติก บอกแนวทางและวิธีการให้ความช่วยเหลือ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและความต้องการพิเศษของนิสิตออทิสติก รวมทั้งชี้แจงแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ ด้วย
7. ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ได้เสนอโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัยและการติดตามผลนิสิตออทิสติก และนิสิตที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณารับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities, LD) เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยวิธีพิเศษเพิ่มเติมจากนักเรียนออทิสติก ที่ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว เนื่องจากเด็กพิเศษที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ความช่วยเหลือ นอกจากเด็กออทิสติกแล้ว ยังมีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities, LD) ด้วย โดยทางโครงการฯ ได้เสนอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อรับนักเรียนทั้งสองกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพิธีพิเศษ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการฯของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปีการศึกษา 2550 มีนิสิตออทิสติกในโครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 6 คน โดยศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 1 คน คณะสังคมศาสตร์จำนวน 4 คน และคณะมนุษยศาสตร์จำนวน 1 คน ดังนี้
คนที่1 |
คณะศึกษาศาสตร์ |
สาขาวิชาพลศึกษา |
ชั้นปีที่ 6 |
คนที่2 |
คณะสังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
ชั้นปีที่ 6 |
คนที่3 |
คณะมนุษยศาสตร์ |
สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา |
ชั้นปีที่ 3 |
คนที่4 |
คณะสังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
ชั้นปีที่ 3 |
คนที่5 |
คณะสังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
ชั้นปีที่ 2 |
คนที่6 |
คณะสังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
ชั้นปีที่ 1 |
|
บุคคลออทิสติก
ออทิซึม เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของโรค Pervasive Developmental Disorders (PDDs) ซึ่งเป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการอย่างรุนแรง ลักษณะเฉพาะของกลุ่มนี้ คือมีความผิดปกติในลักษณะของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม รูปแบบของการสื่อความหมายและมีข้อจำกัดความสนใจและพฤติกรรมซ้ำๆ ความผิดปกติเหล่านี้แสดงออกในทุกสถานการณ์ แต่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของแต่ละคน (ชัยชนะ, 2536)
Autism พบครั้งแรกในปี ค.ศ.1943 โดยจิตแพทย์ลีโอ แคนเนอร์ (Dr.Leo Kanner) โรงพยาบาลจอห์นฮอปกินส์ โดยศึกษาจากเด็ก 11 คน ให้ชื่อพฤติกรรมจำเพาะในเด็กกลุ่มนี้ว่า ออทิซึม (autism) และเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่าเด็กออทิสติก (Autistic Children) ซึ่งมีความหมายว่า เด็กที่อยู่ในโลกของตัวเอง ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา (2540) ได้บอกข้อชี้บ่งตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิตของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ครั้งที่ 3 สำหรับใช้วินิจฉัยโรค ออทิซึม มีหัวข้อใหญ่ 4 หัวข้อ ซึ่งแต่ละหัวข้อจะแบ่งเป็นข้อย่อย ดังนี้
1. การสูญเสียทางด้านสังคมและไม่สามารถมีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพของบุคคลได้ ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 2 ข้อย่อย ดังนี้
1.1 แสดงพฤติกรรมไม่สนใจใคร มีการกระทำต่อบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตอื่นคล้ายสิ่งของ ไม่สามารถมีปฏิกิริยาต่อสัมพันธภาพของบุคคล
1.2 แสดงพฤติกรรมไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้จักช่วยตัวเองจากอันตรายต่างๆ
1.3 ไม่สามารถลอกเลียนแบบการกระทำของคนอื่นได้
1.4 เล่นกับใครไม่เป็น
1.5 ไม่สนใจที่จะมีเพื่อน ไม่สามารถผูกมิตรกับใคร
2. มีการสูญเสียทางด้านการสื่อความหมายด้วยการพูด และไม่ใช้คำพูด ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 1 ข้อย่อย ดังนี้
2.1 ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมสื่อความหมายได้เลย
2.2 มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในการสื่อความหมายที่ไม่ใช่คำพูด
2.3 ขาดจินตนาการในการเล่น
2.4 มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในการเปล่งเสียงพูด
2.5 มีความผิดปกติอย่างชัดเจนในรูปแบบและเนื้อหาของการพูด
2.6 ไม่มีความสามารถที่จะสนทนากับใครได้นาน มักจะพูดแต่เรื่องที่ตนเองสนใจเท่านั้น
3. มีการกระทำและความสนใจซ้ำซากอย่างเด่นชัด ซึ่งจะต้องพบอย่างน้อย 1 ข้อย่อย ดังนี้
3.1 เคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายซ้ำๆ
3.2 คิดหมกมุ่นหรือสนใจส่วนหนึ่งส่วนใดของสิ่งของ
3.3 แสดงความคับข้องใจอย่างมาก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเขา หรือที่เกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวัน
3.4 ต้องทำสิ่งหนึ่งที่เคยทำเป็นประจำ โดยมีรายละเอียดเหมือนเดิม
3.5 มีความสนใจในขอบเขตที่จำกัด
4. เริ่มพบอาการในช่วงอายุระหว่างวัยทารก (ก่อน 30-36 เดือน) หรือวัยเด็ก ซึ่งเป็นข้อบังคับว่าต้องมีข้อนี้เสมอ
เมื่อรวมข้อปลีกย่อยทั้งหมดจากข้อ (1) (2) (3) และ (4) แล้วต้องพบทั้งหมดไม่น้อยกว่า 8 ข้อย่อย สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือ จะต้องพิจารณาว่าความผิดปกติทางพฤติกรรมที่พบนั้น เป็นความผิดปกติที่เปรียบเทียบจาก ระดับพัฒนาการของเด็กวัยเดียวกันเท่านั้น
ดารณี และคณะ (2548) กล่าวว่า ลักษณะทั่วไปของเด็กกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
1. พัฒนาการทางสังคม คือ เด็กออทิสติกมักมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสบตา ไม่ชอบการถูกสัมผัส และแตะเนื้อต้องตัว แยกตัวอยู่คนเดียว และสีหน้าเฉยเมย
2. พัฒนาการทางภาษาพูดและการสื่อความหมาย เด็กออทิสติกพบได้จากเริ่มตั้งแต่พูดไม่ได้ พูดเลียนคำ พูดภาษาของตนเอง พูดซ้ำๆ พูดเจื้อยแจ้ว แต่สนทนาโต้ตอบไม่ตรงประเด็น พูดแสดงถึงความต้องการของตนเองไม่ได้
3. กระบวนการทางความคิด ความเข้าใจ เด็กออทิสติกจะขาดจินตนาการ เล่นสมมติไม่เป็น ฟังนิทานไม่รู้เรื่อง
4. พฤติกรรมซ้ำๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ โดยการหมุนตัว โบกมือไปมา ชอบดูของหมุนๆ ชอบดูโฆษณาทางโทรทัศน์ซ้ำๆ ฟังเพลงซ้ำๆ เปิดปิดประตู ไฟฟ้า วิทยุ โทรศัพท์ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเส้นทางเดิน เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันยาก ทำให้เกิดการหมกมุ่นกับเหตุการณ์และสิ่งของ ถ้าถูกขัดใจจะเกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ เช่น กรีดร้อง ทำร้างร่างกายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น
นอกจากลักษณะทั้ง 4 ด้านนี้แล้ว ยังพบว่า เด็กที่มีภาวะออทิซึมไม่สามารถเข้าใจความคิดและความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นได้ คือ เด็กออทิสติกจะไม่สามารถสะท้อนความนึกคิดของตนเอง หรืออธิบายความรู้สึกของการกระทำของตนเองได้ว่า ทำไมเขาถึงกระทำอย่างนี้ รวมทั้งไม่สามารถเข้าใจมุมมอง หรือเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของผู้อื่นได้ ซึ่งหมายถึง เด็กที่มีภาวะออทิซึมจะมีสภาวะทางด้านจิตใจที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป เช่น ความเชื่อ ความปรารถนา ความตั้งใจ จินตนาการ และอารมณ์
บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยมีความบกพร่องในกลุ่มออทิสติก (Autistic Spectrum Disorders) หรือบุคคลออทิสติกจะเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากการเห็น (Visual thinking and learning) ทำความเข้าใจและตอบสนองได้ดีในสิ่งที่มีโครงสร้างชัดเจน ข้อตกลงที่บุคคลกลุ่มนี้เข้าใจต้องเป็นรูปธรรม เรียนรู้ที่จะทำตามแบบที่กำหนดได้ ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งบางครั้งเกินความพอดี และจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้มีส่วนร่วมคือ ลงมือทำ โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติไม่ใช่จากการฟัง บุคคลกลุ่มนี้รับรู้สิ่งต่างๆที่ตรงไปตรงมา ไม่เข้าใจในสิ่งที่อ้อมค้อมหรือต้องแปลความ หากสนใจสิ่งใดจะเรียนรู้ได้ดีมาก สามารถจดจำในรายละเอียดของบางจุดหรือบางเรื่องที่สนใจเท่านั้น ขาดความสนใจและมีความยากลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคม ไม่สนใจที่จะแสวงหาความสุขหรือสนุกกับผู้อื่น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว มีความยากลำบากที่จะเข้าใจหรือปฏิบัติตามกฎหรือพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสมได้ (Robin, 2008)
Dr.Temple Grandin เป็นบุคคลออทิสติกที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีความเชี่ยวชาญด้านปศุสัตว์ ได้กล่าวว่า บุคคลออทิสติกมีวิธีคิดที่เฉพาะ (type of specialized thinking) แบ่งออกเป็น 3 แบบ (Temple, 2008) คือ
1. Visual thinkers/Thinking in Picture เป็นกลุ่มที่ชอบศิลปะ ต่อบล็อกเลโก้ เด็กกลุ่มนี้ง่ายที่จะทำให้สนใจวัตถุต่างๆ
2. Music and Math thinkers เป็นกลุ่มที่มีกระบวนการคิดเป็นรูปแบบ (patterns) แทนการคิดเป็นรูปภาพ
3. Verbal logic thinkers เป็นกลุ่มที่ชอบจดบันทึกและตัวเลข หลายคนสามารถจำตารางการเดินรถประจำทาง หรือเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ กลุ่มนี้จะมีความสนใจเฉพาะในประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสถิติทางกีฬา
ดารณีและคณะ (2548) กล่าวว่า โรคออทิซึม และโรคอื่นๆ ในกลุ่ม Pervasive Developmental Disorders (PDDs) เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเด็กที่เป็นออทิสติก คือการนำวิธีการรักษาในด้านต่างๆมาผสมผสานรวมกัน โดยมีเป้าหมายของการรักษาอยู่ที่การกระตุ้นและฟื้นฟูพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่น การพูด การเข้าสังคม การรับรู้ และการเรียน ให้ดีขึ้นจนใกล้เคียงเด็กปกติมากที่สุด และลดหรือกำจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การรักษาในด้านเหล่านั้น ได้แก่ การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม การฝึกพูด การกระตุ้นพัฒนาการและการฝึกอาชีพ การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม การช่วยเหลือครอบครัว และการรักษาด้วยยา ซึ่งสอดคล้องกับศรีเรือน (2548) ที่กล่าวว่า เด็กกลุ่มนี้มักมีความด้อยในทักษะทางภาษาและเหตุผลเชิงนามธรรม ขาดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้เก่า ความรู้ใหม่ การจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มนี้ต้องมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นพิเศษ การทำการรักษาเด็กกลุ่มนี้ต้องใช้วิธีการทางจิตบำบัดและรักษาด้วยยา เด็กที่ได้รับการรักษาและให้การศึกษาอย่างถูกวิธี อาการจะเบาลงได้มาก การรักษาที่ได้ผลดีมากไม่ว่าในรูปแบบใดต้องได้รับความช่วยเหลือจากพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างมาก และต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรหลายความถนัด เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา นักอรรถบำบัด ครู นักจิตบำบัด
ผดุง (2542) ได้เสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กออทิสติก ดังนี้
1. การปรับหลักสูตร หลักสูตรควรได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็ก การจัดการเรียนการสอนควรเน้นขบวนการเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อมุ่งบรรเทาปัญหาความบกพร่องของเด็กในด้านทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทักษะในการพูดและการใช้ภาษา ทักษะในการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กกล้ามเนื้อใหญ่ อารมณ์และสังคมของเด็ก และทักษะในการปรับตัวเพื่อให้เด็กแสดงปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
2. การดำรงชีพในสังคม หลักสูตรสำหรับเด็กออทิสติกไม่ควรเน้นเฉพาะด้านวิชาการ ควรเน้นทักษะที่จะช่วยให้เด็กสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้ โดยไม่อาศัยความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
3. การตอบสนองความต้องการของเด็ก เด็กออทิสติกมีปัญหาหลายด้าน ทั้งด้านการแพทย์ ด้านสังคม ด้านความคิดความจำ ด้านการพูดและภาษา ด้านการปรับตัว และด้านพฤติกรรม การจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งขจัดหรือบรรเทาปัญหาเหล่านี้ จึงควรประกอบด้วยบริการหลายๆด้าน มีการวางแผนโดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรหลายฝ่าย
4. ความช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งเด็กได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วเพียงใด โอกาสที่ปัญหาของเด็กจะบรรเทาลงยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่เด็กควรได้รับ ได้แก่ ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารและการปรับพฤติกรรม
5. การทำงานเป็นทีม โปรแกรมการช่วยเหลือเด็กออทิสติก ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย เช่น ครูการศึกษาพิเศษ ครูที่สอนเด็กปกติ นักแก้ไขการพูด นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด และบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นอื่นๆ
Robin (2008) ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับบุคคลออทิสติกให้มีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพ มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. พิจารณาลักษณะเฉพาะของบุคคลออทิสติกแต่ละคน เพื่อหาวิธีการพัฒนาและการช่วยเหลือที่เหมาะสม
2. บอกเงื่อนไขที่ช่วยให้บุคคลออทิสติก แต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ให้ผู้สอนทราบ
3. จัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเพิ่มความรู้ความสามารถในการเรียนรู้และลดสิ่งรบกวนหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมลง
4. ใช้การสนับสนุนพฤติกรรมทางบวก (positive behavior supports) เพื่อช่วยให้พฤติกรรมที่เหมาะสมยังคงอยู่
5. มีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
6. ใช้ข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน หรือการให้ความช่วยเหลือ
จุดประสงค์ทั้งหมดของการจัดการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิตของบุคคลออทิสติกให้มีชีวิตอยู่อย่างอิสระได้
บุคคลออทิสติกเป็นกลุ่มผู้พิการประเภทหนึ่งที่พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสามารถพบได้ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ดารณี และคณะ (2548) กล่าวว่า ผลการศึกษาจากการใช้เกณฑ์ ภาวะออทิสติกสเปคตรัม ในการวินิจฉัย พบว่า ความชุกของบุคคลที่มีภาวะออทิซึมเพิ่มขึ้นเป็น 21 ในเด็ก 10,000 คน หรือในเด็กทุก 500 คน พบเด็กออทิสติก 1 คน และจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ภายหลังจากได้มีการประกาศใช้แบบทดสอบใหม่ ทำให้ประชากรกลุ่มออทิสติก (Autistic Spectrum Disorders) เพิ่มขึ้นอย่างมาก คือมีประมาณ 6 ใน 1,000 (ร้อยละ 0.6) ของประชากรทั้งหมด สำหรับประเทศไทยพบความชุกของโรคออทิซึมในเด็กอายุ 1-5 ปี เท่ากับ 9.9 : 10,000 คน ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาของหลายประเทศที่มีค่าอยู่ระหว่าง 3.3 16 :10,000 คน จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้สันนิฐานได้ว่า ในอนาคตจะมีบุคคล ออทิสติกเข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การให้ความช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ และมีรูปแบบที่ชัดเจน จึงจะช่วยให้บุคคลออทิสติกพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยตัวเอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสกับบุคคลออทิสติกมาเกือบ 20 ปี โดยเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และให้โอกาสในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาโดยวิธีพิเศษ บัดนี้มีบุคคลออทิสติกจำนวนหนึ่งสามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อีกจำนวนหนึ่งสามารถใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้ ปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่และดำเนินชีวิตได้ สามารถพึ่งพาตนเองและมีชีวิตอยู่อย่างอิสระได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างจากระดับอุดมศึกษา ด้วยลักษณะและความต้องการพิเศษของเขาเปลี่ยนไป ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษากระบวนการดำเนินงานของ โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ และ ศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยศึกษาเฉพาะปีการศึกษา 2550 โดยคาดหวังว่า ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางสำหรับสถาบันการศึกษาอื่นๆ นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานศึกษาและความต้องการพิเศษเฉพาะของบุคคลออทิสติก ซึ่งจะช่วยให้บุคคลออทิสติกสามารถช่วยเหลือตนเอง ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของ โครงการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550 โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
- การศึกษากระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550
- การศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกเป้าหมาย
1. การศึกษากระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ปีการศึกษา 2550
- ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความเหมาะสม และปัญหา / อุปสรรค ในขั้นตอนของการดำเนินงานของโครงการฯ ต่อไปนี้
1.1.1 การพิจารณารับนักเรียนออทิสติกที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีการศึกษา 2549 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยวิธีพิเศษ ดำเนินการโดยประชุมผู้ปกครองและนักเรียนออทิสติกเพื่อสอบถามความสนใจในสาขาวิชาและคณะที่จะเข้าศึกษาต่อ คณะกรรมการฯพิจารณาจากข้อมูลที่นักจิตวิทยาทดสอบ ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทั้งความสนใจและความสามารถของนักเรียนออทิสติก เสนอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่ออนุมัติ
1.1.2 การคัดเลือกนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ เพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือนิสิตออทิสติกที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2550 ชี้แจงและมอบหมายงานตามภาระงานที่คณะกรรมการฯ กำหนด
1.1.3 การประสานงานระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ฝ่ายเลขานุการประกอบด้วย เลขานุการคณะกรรมการฯ และนักวิจัยประจำโครงการฯ ส่งข้อมูลเบื้องต้นของนิสิต ออทิสติกจำนวน 6 คน ให้กับอาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาที่นิสิตออทิสติกลงทะเบียนเรียนในภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2550 จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง
1.1.4 การให้ความช่วยเหลือระหว่างการดำเนินงานของโครงการฯ คณะกรรมการฯ ประชุมร่วมกันเพื่อรับทราบปัญหาของนิสิตออทิสติกเป็นรายบุคคล โดยฝ่ายเลขานุการรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์และการรายงานของนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯ รวมทั้งจากอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน และผู้ปกครองนิสิตออทิสติก เพื่อวางแผนและหาแนวทางให้ความช่วยเหลือ มีการประชุมจำนวน 6 ครั้ง
1.2 รวบรวมข้อมูลจาก
1.2.1 รายงานการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนตามโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1 ฉบับ
1.2.2 รายงานการประชุม คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล ออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 6 ฉบับ
1.2.3 ใบรายงานผลการลงทะเบียนเรียน ของนิสิตออทิสติกภาคต้น ภาคปลายปีการศึกษา 2550
2. การศึกษาพัฒนาการของนิสิตออทิสติกเป้าหมาย จำนวน 6 คน
ในปีการศึกษา 2550 มีนิสิตออทิสติกศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นนิสิตออทิสติกเป้าหมาย
2.1 ตัวแปรที่ศึกษา คือ
2.1.1 พัฒนาการทางด้านอารมณ์
2.1.2 พัฒนาการด้านสังคม
2.1.3 พัฒนาการด้านสติปัญญา
2.1.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตออทิสติก
2.2 รวบรวมข้อมูลจาก
2.2.1 แบบบันทึกการปฏิบัติงานของนิสิตอาสาสมัครประจำโครงการฯของนิสิตออทิสติกรายบุคคล
2.2.2 ผลการเรียนของนิสิตออทิสติก ภาคต้น ภาคปลาย ปีการศึกษา 2550
2.2.3 รายงานการประชุม คณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2550 จำนวน 6 ฉบับ
2.2.4 บทสรุปรายงานการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการดำเนินการจัดการศึกษา การวิจัย และการติดตามผลนิสิตออทิสติกในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และผู้เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2550 จำนวน 2 ฉบับ |