bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

บทคัดย่อ

ชื่อโครงการวิจัย การจัดการเรียนรวมในโรงเรียนและการพัฒนาของครูเพื่อการเรียนรู้สูงสุดของนักเรียน
คณะผู้วิจัย ผศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ หัวหน้าโครงการวิจัย
คณะนักวิจัย
ดร.กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์
ผศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี
ผศ.นภาพร บรรพพงศ์
ดร.พรพนา วัฒนเสรี
ผศ.เพ็ญจันทร์ สุนทราจารย์
ผศ.ดร.วินัย ดำสุวรรณ
ผศ.ดร.สุจินต์ เลี้ยงจรูญรัตน์
ดร.สุมาลี กาญจนชาตรี
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2544-2545

ผลการศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า

          1.  โครงการมีผลการดำเนินงานชัดเจน และบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะส่วน ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนออทิสติก สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษอื่นๆ ไม่มีการศึกษาวิจัย ส่วนโครงการมีผลการดำเนินงานชัดเจน และบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ นักเรียนที่มีปัญหาด้านการเรียน  ไม่มีร่องรอยการดำเนินการเพื่อส่งเสริม  นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ หรือ นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษด้านอื่นๆ
          2.  ทั้งสองโครงการ มีกระบวนการคัดเลือกนักเรียน เข้าร่วมโครงการชัดเจน มีคุณภาพ เหมาะสมสามารถปฏิบัติได้
          3.  อาจารย์ส่วนใหญ่ในโครงการทั้งสอง มีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับงานที่ทำ  แต่กระบวนการพัฒนาอาจารย์มีความชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้
          4.  โครงการทั้งสองมีการจัดหลักสูตร ที่เน้นความเป็นเอกัตบุคคล  มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของนักเรียนแต่ละคน

              5.  มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้
              6.  ทั้งสองโครงการมีระเบียบ เกี่ยวกับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และมีแผนการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน  และสามารถปฏิบัติได้  ผู้ปกครองเข้าใจจุดประสงค์ของโครงการ พ. 2  ไม่ตรงกัน  แต่มีบรรยากาศของความร่วมมือระหว่างบ้าน  โรงเรียน  และชุมชนชัดเจน  ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนของโครงการ พ. 1 เกี่ยวกับความเข้าใจจุดประสงค์ของโครงการ  ความร่วมมือระหว่างบ้าน  โรงเรียนและชุมชน  และการประเมินผลโครงการ
              7.  การดำเนินการจัดการเรียนรวม มีปัญหาและอุปสรรคด้านบุคลากร การจัดปัจจัย     เกื้อหนุน  การบริหารจัดการและหลักสูตร ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานโดยรวมของโครงการรวม 9 รายการ แต่ปัญหาอุปสรรคดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่สามารถแก้ไขได้ 7 รายการ
              8.  การดำเนินการจัดการเรียนรวม มีผลกระทบต่อบุคคล องค์กรและสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบด้านบวกคือ  นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษได้เรียนร ู้และปรับตัวให้เข้ากับสังคม นักเรียนปกติเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม  อาจารย์ได้พัฒนาตนเองด้านวิธีการสอน      ผลกระทบด้านลบคือ นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษมักถูกกลั่นแกล้ง  ไปสร้างความรำคาญและรบกวนชั้นเรียน  ทำให้นักเรียนปกติไม่มีสมาธิในการเรียน และเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมของ   นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
          ผลการศึกษาประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ผู้ปกครองและอาจารย์มีความเห็นว่า นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ มีพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม และสติปัญญาไม่ถึงระดับดี ตามมาตราวัด 4 ระดับ ผู้ปกครองมากกว่าร้อยละ 60 มีความพึงพอใจกับการจัดการเรียนรวม ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ส่วนนักเรียนและอาจารย์มีความพึงพอใจกับการจัดการเรียนรวมต่ำกว่าร้อยละ 60

          โครงการย่อยที่ 2 การศึกษากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน และการจัดการในชั้น      เรียนรวม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม และเพื่อสร้างเสริม   ศักยภาพของอาจารย์ ในการพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม ด้วยการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของอาจารย์นักวิจัยร่วมจำนวน 25 คน ดำเนินการวิจัยจำนวน 12 เรื่อง กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 คณะผู้วิจัยหลัก นำผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนรวม มาสังเคราะห์เชิงคุณภาพ รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์นักวิจัย ในการเข้าร่วมวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

 

          การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนรวมจำนวน 12 เรื่องนั้น เป็นการศึกษาปัญหาความสัมพันธ ์ระหว่างนักเรียนปกต ิและนักเรียนออทิสติกในชั้นเรียนรวมจำนวน 4 เรื่อง ปัญหาพฤติกรรม        ไม่ตั้งใจเรียนจำนวน 4 เรื่อง ปัญหาความสามารถในการเรียนรู้ทางวิชาการของนักเรียนออทิสติกจำนวน 2 เรื่อง และปัญหาพัฒนาการทางสังคมของนักเรียนออทิสติกจำนวน 2 เรื่อง

 

          ผลการสังเคราะห์ผลการวิจัย เกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์       นักวิจัย พบว่า มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างนักเรียนปกติและนักเรียนออทิสติก         เพิ่มพฤติกรรมการตั้งใจเรียน ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ทางวิชาการ  และพัฒนาการทางสังคม ของนักเรียนออทิสติกในห้องเรียนรวม คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)   การมีเจตคติที่ดี  รู้จักและเข้าใจลักษณะของนักเรียนออทิสติก  การออกแบบบทเรียน และกิจกรรมที่กำหนดบทบาทที่ชัดเจนของสมาชิกในกลุ่ม  โดยเฉพาะนักเรียนออทิสติกต้องได้รับทราบลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงาน อย่างเป็นรูปธรรม  การประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติงานของกลุ่ม  สื่อสารกับ นักเรียนออทิสติกอย่างชัดเจนและตรงประเด็น  รวมทั้งให้การเสริมแรงพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ของสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกลยุทธ์การจัดการในชั้นเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ คือ อาจารย์แสดงพฤติกรรมเป็น           แบบอย่างที่ดีของการมีเจตคติที่ดีต่อนักเรียนออทิสติก จัดนักเรียนออทิสติกนั่งใกล้กับเพื่อนที่ให้       การยอมรับ  จัดโอกาสให้นักเรียนออทิสติกได้แสดงความสามารถ ให้นักเรียนสร้างข้อตกลงร่วมกัน   ในการเรียน ให้การเสริมแรงพฤติกรรมส่งเสริมสังคมของนักเรียนปกติ  จัดโปรแกรมปรับพฤติกรรม      ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนออทิสติก และการทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำระหว่างอาจารย์ในห้องเรียนปกติ และห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ในการสร้างบรรยากาศของการยอมรับ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างนักเรียนปกติและนักเรียนออทิสติก
          ผลการศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ เกี่ยวกับการสร้างเสริมศักยภาพของอาจารย์ ในการพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม ด้วยการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  พบว่าอาจารย์ส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น ต่อลักษณะของชั้นเรียนรวม ลักษณะของนักเรียนออทิสติก และนักเรียนอื่น ๆ  เป็นรายบุคคล การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม  สามารถจัดการเรียนการสอนได้ดีขึ้น  มีความกระตือรือร้น และเกิดความคิดที่จะปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียน ออทิสติกให้ได้ผลดีขึ้น อาจารย์ส่วนใหญ่เข้าใจกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนดีขึ้น และเห็นว่าการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนรวม มีคุณค่าต่อนักเรียนออทิสติกทำให้นักเรียนออทิสติกปรับตัวได้ดีขึ้น  มีความสุขและประสบความสำเร็จในการเรียน รวมทั้งมีคุณค่าต่อนักเรียนปกติ  ทำให้นักเรียนปกติเข้าใจ ยอมรับ และให้ความช่วยเหลือนักเรียนออทิสติก แต่อาจารย์ส่วนใหญ่ยังต้องการฝึกอบรม     เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และการเขียนรายงานการวิจัย
          โครงการย่อยที่ 3   คือ  การศึกษาพฤติกรรมการเรียนดี ในชั้นเรียนรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อ        1) พัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่อาจารย์คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนรวม ในฐานะอาจารย์นักวิจัย จากกระบวนการวิจัย ตามแบบแผนการศึกษาค้นคว้าแบบร่วมมือกัน  2)  เพื่อรวบรวมความรู้เชิงข้อมูลหรือข้อเสนอ คุณลักษณะบ่งชี้พฤติกรรมการเรียนดีในชั้นเรียนรวมตามความเห็นของอาจารย์นักวิจัย และจากการอภิปรายร่วมกับนักเรียน 3) เพื่อจัดทำข้อมูลเส้นฐาน        พฤติกรรมการเรียนดีในชั้นเรียนรวม  ทุกช่วงชั้นในสภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนตามปกติ และ    4) เพื่อรวบรวมความรู้ เชิงประสบการณ์ จากการใช้มาตรการในลักษณะของ intervention   เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน ในชั้นเรียนรวม แสดงพฤติกรรมการเรียนดี
          วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ใช้วิธีการศึกษาค้นคว้า แบบร่วมมือกันชนิดเต็มรูปแบบ    มีคณะผู้วิจัยเป็นผู้ถูกวิจัยไปพร้อมกัน  จำนวน 22 คน  ภายใต้ชื่อคณะกรรมการศึกษาค้นคว้า แบบร่วมมือกัน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    นักวิจัยทั้งหมดเป็นผู้สอนคณิตศาสตร์และ / หรือวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนรวม ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2544-2545 และมีประสบการณ์ในการสอนชั้นเรียนรวม  ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาแล้ว 1-6 ปี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสังเกต แบบบันทึกภาคสนาม  และการประชุมอภิปรายในกลุ่ม      นักวิจัย (สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง) ตลอดระยะเวลาการเก็บข้อมูลแต่ละช่วง ตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบย้ำยัน (triangulation)  จากข้อมูลหลายแหล่ง และนักวิจัยหลายคน
          ผลการวิจัย พบว่าอาจารย์นักวิจัยเกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้จากการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ         การสังเกตห้องเรียนอย่างเป็นระบบไปสู่ความเชี่ยวชาญ ในการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด   ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านการคิดการตัดสินใจ  ทักษะการสังเกต      การสอน และเรียนรู้วิธีปฏิบัติอย่างมืออาชีพ ในการรวบรวมความรู้เชิงข้อเสนอพบว่า  องค์ประกอบ     ทางจิตที่บ่งชี้พฤติกรรมการเรียนดีมี 6 พฤติกรรม คือ อาสาสมัคร ความเอื้ออาทร การเสนอแนวคิด   การดูแลเอาใจใส่ ความเอางานเอาการ และการร่วมคิดร่วมทำ   ส่วนมาตรการกระตุ้นให้นักเรียนในชั้น    เรียนรวมแสดงพฤติกรรมการเรียนดี ได้ความรู้ในเชิงประสบการณ์ 2 ประเด็นสำคัญ   คือ 1) เมื่อนักวิจัยทำการวิจัยสังเกตการณ์ เป็นโครงการย่อยอีก 15 เรื่อง พบเทคนิควิธี 5 ประการที่กระตุ้นพฤติกรรม      การเรียนดี  ได้แก่  การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม  การอภิปรายกลุ่มย่อย การกล่าวชมเชย      การถาม-ตอบโดยครู และการอธิบายโจทย์พิเศษ  และ 2) เมื่อมีการแทรกสิ่งเร้า พฤติกรรมการเรียนดีจะแสดงออกชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมอาสาสมัคร มีความชัดเจนต่อเนื่อง  เมื่อนักเรียนได้ทำงานกลุ่ม

         

           โครงการย่อยที่ 4    คือ การสังเคราะห์ทฤษฎี และผลการวิจัยเพื่อพัฒนา โปรแกรมการฝึกอบรมครูผู้สอนในชั้นเรียนรวม   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสร้างรูปแบบ (model) การศึกษาอบรมอาจารย์  ผู้สอนชั้นเรียนรวม รูปแบบ (model) นี้ตั้งอยู่บนกรอบความคิด ของทฤษฎีภาระการเรียนรู้ด้านพุทธิปัญญา (Cognitive Load Theory) และการออกแบบแผนอบรมทวิประสาท เนื้อหาของโปรแกรม     ฝึกอบรมนี้ได้ประมวลจากการศึกษาบทความ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  การสัมภาษณ์ผู้วิจัยในชั้นเรียนรวมในโครงการย่อยที่ 1-2-3 รวมทั้งการสังเคราะห์ผลการวิจัยโครงการย่อย 1-2-3 มาจัดเป็นหนังสือ ชื่อ “ห้องเรียนรวม ประกอบด้วยเนื้อหา 6 บท คือ  การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม  สำหรับเด็กออทิสติก   การบริหารโรงเรียนที่มีนักเรียนออทิสติก เทคนิคและวิธีการเตรียมอาจารย์เพื่อการจัดชั้นเรียนรวม    ลักษณะของนักเรียนออทิสติกในชั้นเรียนรวม พฤติกรรมและการแก้ไข แนวคิดในการสร้าง พฤติกรรมเรียนดีในชั้นเรียนรวม   และข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ สำหรับอาจารย์ผู้สอนชั้นเรียนรวม  หนังสือห้องเรียนรวม”  นี้    มีคู่มือชุดฝึกอบรมประกอบอีก 2 เล่ม คือ ฉบับชี้แจงวิธีการศึกษาพร้อมคำถามก่อนศึกษา หลังศึกษา  และคำถามท้ายบท  เพื่อใช้ในการประเมินความร ู้ ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาหนังสือ (ห้องเรียนรวม) ส่วนอีกเล่มหนึ่ง คือ ฉบับเฉลยคำตอบ ด้วยความจำกัดทางด้าน                 งบประมาณ หนังสือเล่มนี้จึงทำออกมา ในสื่อการสอนทางกระดาษ  ซึ่งจะต้องการพัฒนาไปสู่สื่อการสอนทาง Computer software ที่สนับสนุนการจัดการอบรม เพื่อลดภาระการทำงานด้านพุทธิปัญญาอย่างสมบูรณ์

Abstract

Name of Project: The Inclusive School and Teacher Development for Optimal Learning of Students
Head of Project: Assistant Professor Dr. Daranee Utairatanakit
Research Team: Dr. Kanda Sakulthanasakdi Moore
Assistant Professor Dr. Chiraporn Sirithavee
Assistant Professor Napaporn Banpapong
Dr. Pornpana Wattanaseree
Assistant Professor Phenchan Suntharachan
Assistant Professor Dr. Winai Damsuwarn
Assistant Professor Dr. Sujin Liengjaroonrat
Dr. Sumalee Kanjanachatree
Years of Study: 2001 - 2002
Objectives of Project:
The objective of the project was to study and develop programs for optimal learning of students in an inclusive school.  In order to fulfill this objective the research project was divided into the following four subprograms with the following objectives:
    1. To evaluate inclusive classroom management methods in use in Kasetsart University Laboratory School
    2. To study strategies for teaching-learning and classroom management of inclusive school classrooms.
    3. To study good learning behavior in inclusive classrooms.
    4. To apply cognitive theory to the research results in order to develop a program for training teachers of inclusive classrooms.

 

Subproject 1

 

The objective of this subproject was to study the effectiveness of the inclusive classroom management methods in use in Kasetsart University Laboratory School (KUS).  The research studied the following groups that participate in the inclusive classroom programs at KUS. i) School administrative staff, ii) the Committee of the Educational Research Center for Children with Special Needs,  iii) participants in the Special Education Program (P1), iv) the Educational and Research Cooperation Program between Kasetsart University Laboratory School and The Child Psychiatric Hospital (P2) during 1994-2001, v) teachers, students and parents in P1 and P2 programs, vi) teachers, students and parents of regular students in primary and secondary  schools.

 

The research instruments consisted of questionnaires, interviews, information note-taking.
The data collection procedure was by content analysis from various documents that relate to inclusive classroom management, and enquiries of parents of P1 and P2 about student development, the objectives of the program, teaching, learning, classroom management, curriculum, media, evaluation, problems in classroom management.  
Enquiries of  teachers, students and parents who are involved with the inclusive classroom to measure the acceptance and levels of satisfaction to the inclusive classroom.
Interviews with the following groups: i) School administrative staff, ii) the Committee of Educational Research Center for Children with Special Needs, iii) participants in the Special Education Program (P1), iv) the Educational and Research Cooperation Program between Kasetsart University Laboratory School and the Child Psychiatric Hospital (P2) during 1994-2001 about the objectives of the P1 and P2 programs.

 

Data Analysis.  A content-based analysis of the data and division of responses into percentage.

 

Results of the study of inclusive classrooms in Kasetsart University Laboratory School found that:
  1) The Educational and Research Cooperation Program between Kasetsart University Laboratory School and the Child Psychiatric Hospital (P2) had a method of working which was effective for autistic students but no research was available on its effectiveness for other kinds of special needs students.

For the Special Education Program (P1) the program was effective for students with  learning disabilities, but the program was not meeting the needs of gifted students or of students with special needs in areas other than learning disabilities.

   2) Both P1 and P2 programs had a clear and practical process of selecting students for admission into the programs.

   3) Although most of the teachers in P2 were not graduates of degree programs in special education, the inservice training schemes provided at the school produced teachers who were successful and skilled in the inclusive classroom.

   4) Both P1 and P2 provided a curriculum that was able to meet the needs of individual students.

   5) Both P1 and P2 had an educational management structure that was clear and practical.

   6) Parents of P2 programs had difficulties in understanding the objectives of the programs, but there was an atmosphere of  cooperation between home and school  and between school and the community.  The P2 program required budget support from parents.  P2 had a clear and practical program for development of human resources.  The P1 program required budget support from parents and had a clear and practical plan for development of human resources.  There was insufficient information available to evaluate the understanding of the objectives of the P1 program and of the cooperation between school, home and community.

   7) The management of the inclusive classroom project at Kasetsart University Laboratory School had some difficulties with personnel, providing facilities, administrative management, and curriculum that affected the practical operation of the project in nine items.  However, these difficulties can be overcome in seven of the nine items.

   8) The management of the inclusive classroom project at Kasetsart University Laboratory School had effects on persons, institutes and community that  had both advantages and disadvantages.  The advantages were that the students with special needs were able to study and adapt themselves to the community and  regular  students  were  able  to  learn  how  to  live  equally  in   society.

Teachers developed themselves in teaching methods.  The disadvantages were that the students with special needs were sometimes bullied by friends.  The students with special needs could be annoying and disruptive of the classroom, and their behavior could be copied by the regular students.
The results of the study on the effectiveness of inclusive classroom management at Kasetsart University Laboratory School found that parents and teachers had the opinion that students with special needs did not develop physically, emotionally, socially and mentally to the level of good on the 4-point scale.   More than 60% of parents showed satisfaction with the effectiveness of inclusive classroom management at Kasetsart University Laboratory School, but less than 60% of teachers and regular students were satisfied with the inclusive classroom management.

 

Subproject 2

 

The objectives of this subproject were:  1) to study teaching-learning strategies and inclusive classroom management strategies, and 2) to enhance teacher’s potential in developing teaching-learning in the inclusive classroom by conducting classroom action research.

 

This research consisted of 25 teacher researchers at Kasetsart University Laboratory School, Center for Educational Research and Development (KUS) conducting 12 sub research projects.  The sample comprised students from grade 1 to grade 4 and grade 7 to grade 11.  They studied in the inclusive classroom at the KUS during the 2001 and 2002 academic year. Two to three students with autism were included in each class. The committee of head researchers qualitatively synthesized the results of the 12 sub research projects of classroom action research. Teachers who involved in this classroom action research were observed, interviewed, and asked to answer questionnaires.

 

The action research covered all the following aspects: 4 aspects about relationship problems. 4 aspects concerned inattentive study behavior. 2 aspects about the autistic students’ abilities to learn academic concept. Another 2 aspects were about the social development of autistic students. The results of the synthesis revealed that cooperative learning was the most important strategies in teaching and learning that promoted relationships between regular and autistic students, increased attentive behavior, and promoted the ability in conceiving knowledge and social development of autistic students in the classroom.  Cooperative learning consisted of the following factors :  1) Teachers had good attitudes, knowledge and understanding about autistic students.  2) Student grouping had to be limited to not more than five including 1 autistic student. The normal students in this group had to have good attitudes to the autistic students. The group were mixed in ability, gender, and attention. 3) Very specific role and responsibility were needed in instructional design and activities. The autistic student had to know the steps of his work in concrete terms. Norm criterion reference should be used as mean of evaluation. Avoid competition  between groups. Communication with autistic students had to be clear and precise. Regular member students in the group should be acknowledged for cooperative behavior.
The effective strategies in inclusive classroom management found in this research included: teachers are good role model for positive behavior and attitudes to autistic students. Seat autistic students next to friends who accepts them. Provide opportunity for autistic students to show their ability. Encourage students to set up classroom rules and regulations. Praise prosocial behavior of regular students towards autistic students. Provide a program to change inappropriate behavior of autistic students. Collaboration between teachers in regular classroom and special education classroom to build up the classroom atmosphere and help each other between normal and autistic students.
Teacher researches in this study agreed that conducting classroom action research had helped them to develop better understanding towards characteristics of inclusive classroom, characteristics of autistic students and other individual students, teaching and learning to develop autistic students. Most of the teacher researchers got a better understanding in the process of classroom action research and agree that in conducting classroom action research for autistic students they are able to make autistic student better adjust themselves to the group and be happier and more successful in their study. The study revealed that the normal students in inclusive classrooms were also benefit. They gained better understanding and be ever to accept the autistic students as they were and willing to work cooperatively with them. Most of the teachers showed that they need more workshops about how to analyze qualitative information and how to write research reports.
Subproject 3.
The objectives of the study of good learning behavior in inclusive classrooms are               1) To develop potential, increase experience for mathematics and science teachers in an inclusive classroom as teacher-researcher from cooperative inquiry procedure plan.  2) To put together information and knowledge or identification of characteristics of good learning behavior in an inclusive classroom according to teacher-researcher ideas and from the discussion between teachers and students. 3)To make base line information of good learning behavior in an inclusive classroom in each class level  in a normal teaching and learning situation. 4)To gather all knowledge from experience from using intervention to encourage students in inclusive classroom to show good learning behavior.
Data collection procedure was by a full-scale cooperative inquiry involving 22 teacher-researchers who conducted the research and were subject to the research. They were acting as a committee under the name of “Cooperative inquiry Committee Kasetsart University Laboratory School”.  All researchers were teachers of mathematics or science in inclusive classrooms from years 1 to 12 in 2001 and 2002.  They had had experience in teaching in inclusive classrooms in Kasetsart University Laboratory School for from 1 to 6 years.  Each of the 22 teacher-researchers collected data by observation and information note taking in their classroom for the period of the study.  Each week during this period the data from the 22 teacher-researchers was analyzed by triangulation for 2 hours each week by the full committee.
The study found that teacher-researchers  acquired classroom activity skills from cooperative inquiry activities, such as, panel discussions, practical application in the classroom of suggestions from the discussions, systematic classroom observations.  This led them to be specialists in providing classroom activities for optimal learning and developed their potential and gave them more experience in decision making and classroom observation, and taught them how to manage a classroom in a professional manner.  During the collection  and the discussions of the data, the committee found that there were 6 characteristics that indicate good learning behavior.  These are:  volunteer, altruism, offering ideas, care giving behavior, formality and collaboration.  The strategy to encourage students to show good learning behavior has been divided into 2 elements.  First, when the teacher-researchers conducted 15 researches by observation they found 5 techniques to encourage good learning behavior.  They are: teaching and learning in small groups, small-group discussions, giving praise, question and answer by teacher, more explanation of problems.  Second, when interventions are put into the classroom, good learning behavior will show up, especially volunteer behavior will show up and persist when teaching and learning happens in a small group.

 

Subproject 4.
The objectives of this subproject were to apply cognitive theory to the research results in order to develop a program for training teachers of inclusive classrooms.  The content of the training program was collected from relevant articles, books and researches, and also from interviews of teachers involved in inclusive classrooms in subprojects 1, 2 and 3, and by synthesis of results and activities which were found to be advantage in managing inclusive classroom from subprojects 1, 2 and 3.  This content has been put into a book called “Inclusive Classrooms” which has been designed based on Cognitive Load Theory.  This book consists of 6 chapters.  Chapter 1 is “Inclusive School for Students with Autism”.  Chapter 2  is “Inclusive School Management”.  Chapter 3 is “Teacher preparation for Inclusive Classroom”.  Chapter 4 is “Maintaining Correct Behavior of Students with Autism”.  Chapter 5 is “Good Learning behavior in Inclusive Classroom”.  Chapter 6 is “Some Advice for Inclusive Classroom”.  2 manuals have also been developed for use with this book.  These manuals are a question manual and an answer manual and they are designed to evaluate the knowledge gained from the Inclusive Classrooms book.  Because of budget limitations, this book has not yet been developed into a computer-assisted instruction (CAI) package.  The development of a CAI package is an important step required by cognitive theory.
 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics