bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

รายงานการวิจัย

 

เรื่อง

การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก
โดยใช้กิจกรรมการเล่นร่วมกันกับนักเรียนปกติ

Developing Autistic Children’s Social Skills through Play with Normal Children

โดย

ผศ. จิตติรัตน์ พุกจินดา หัวหน้าโครงการวิจัย
อาจารย์ระพีพร ศุภมหิธร ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์อรไท อ๊อกกังวาล ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์พรพรรณ เลียบสวัสดิ์ ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์จิรดา บุญอารยะสกุล ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์นิรมล ยสินทร ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์กรัยวิเชียร น้อยวิบล ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์อนุตตรีย์ กิตติคุณวุฒิ ผู้ร่วมวิจัย
อาจารย์สุภาพร รัตนพรสุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

เสนอต่อ

การประชุมระดับชาติเรื่อง “ครู หมอ พ่อแม่ : มิติแห่งการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
วันที่ 21 – 23  มีนาคม  2545
ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก และส่งเสริมนักเรียนปกติให้มีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียนออทิสติกโดยใช้กิจกรรมการเล่น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนออทิสติกที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  7 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 คน และนักเรียนในห้องเรียนปกติที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวนเฉลี่ย 20 คนต่อวัน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวนเฉลี่ย 12 คนต่อวัน รวมกิจกรรมทั้งหมด 32 ครั้ง โดยจัดช่วงเวลาพักดื่มนม (10.10 – 10.35 น.) ของทุกวันในภาคปลาย ปีการศึกษา 2544  (พ.ย. 2544 – ก.พ. 2545) ผู้วิจัยจัดกิจกรรมการเล่นตามความสนใจของนักเรียนตามระดับชั้น ดังนี้ นักเรียน ป.1 ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การต่อตัวต่อ การต่อไม้หนีบผ้า และการร้อยลูกปัด นักเรียน ป. 2 ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การต่อตัวต่อ การต่อไม้หนีบผ้า และการปั้นดินเหนียวขาว   ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสังเกตและบันทึกการแสดงออก กิริยาท่าทาง คำพูด ปฏิสัมพันธ์ที่นักเรียนมีต่อกันและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์พฤติกรรมด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักเรียน

 

          ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนออทิสติกมีพัฒนาการทักษะทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกทุกคน ในระดับที่ไม่เท่ากัน  การเปลี่ยนแปลงชัดเจน ได้แก่ นักเรียนแสดงความประสงค์ที่จะมีเพื่อนร่วมกิจกรรม พูดคุยและร่วมแสดงความคิดเห็น เชิญชวนให้เพื่อนร่วมปฏิบัติงาน อวดผลงานของตน และสามารถแก้ปัญหาที่มีความเห็นขัดแย้งกันได้ ส่วนที่มีพัฒนาการช้า ได้แก่ นักเรียนแสดงความสนใจเพื่อนมากขึ้น  รับรู้และยอมรับว่ามีบุคคลอื่นมาร่วมเล่นด้วย แต่ยังคงพอใจที่จะทำงานหรืออยู่ตามลำพัง สำหรับนักเรียนปกติมีพฤติกรรมการแสดงบทบาทเป็นเพื่อนที่ดี ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทักษะทางสังคมให้แก่นักเรียนออทิสติก หลักสำคัญของการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะทางสังคมแก่นักเรียนออทิสติกนั้น ควรเป็นรูปแบบการเล่นที่ทำให้เกิดความสนุก ง่ายต่อการสร้างสัมพันธภาพ และเป็นกิจกรรมที่นักเรียนออทิสติกคุ้นเคย

 

Abstract

 

          The objectives of this study were to develop autistic children’s social skills and to stimulate normal ones to offer supportive roles through playing. It was a classroom action research. Participants were 7 first graders and 5 second graders with autism along with 20 voluntary regular students from first grade and 12 from second grade. The outcomes were recorded throughout 32 morning milk breaks (10.10 – 10.30 o’clock) of the 2002 academic year’s second semester  (Nov.2002 – Feb.2003). Various activities of their interests were used such drawing and coloring, jigsaw puzzles, clipping clothes clips and stringing beads for first graders while white clay was added for second graders. The researcher observed and recorded all interactions both gestural and verbal in order to analyze their development in social skills.

 

          It was concluded that all children with autism improved certain social skills even at different degree. Some seemed with well progress were  responsive to others by chatting around, expressing ideas, asking others to join in, showing off their own works and even coping with disagreements. Other slower cases only showed a little more interests in others, recognizing and receiving co-players, while still being isolated, withdrawing into ownselves. As for normal students, it was obvious that, they offered good and friendly helps to the autistic ones. It should be noted that every activity chosen to encourage the social skill development of the children with autism must be fun, simple, easy to interact and of course be familiar one to them
 
 
 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics