bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

 

ผลของการฝึกโดยใช้ลูกบอลที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองมือและตาของเด็กออทิสติก
Effects of the Ball Training upon Eye and Hand Reaction Time of Autistic Children

 

นายกรัยวิเชียร   น้อยวิบล
Mr.Kraivichian   Noyvibol 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและ เปรียบเทียบผล ของการฝึกโดยใช้ลูกบอลที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองมือและตา ของเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนออทิสติก  เพศชาย ที่มีอายุระหว่าง 7-10 ปี ที่กำลังศึกษาอย ู่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2548 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ  กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา และโปรแกรมการฝึก โดยใช้ลูกบอลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ดำเนินการทดลองโดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการฝึกกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ควบคู่กับโปรแกรมการฝึกโดยใช้ลูกบอล กลุ่มควบคุมฝึกกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพียงอย่างเดียว  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการฝึกต่อเนื่องเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันฝึกในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ โดยกลุ่มตัวอย่างจะต้องทำการทดสอบเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ของมือและตา ก่อนการฝึกสัปดาห์ที่ 1 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางชนิดวัดซ้ำ และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึก โดยใช้ลูกบอลที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองมือ และตาของเด็กออทิสติก โดยใช้สถิติแบบ t – test
          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา  ควบคู่กับโปรแกรมการฝึกโดยใช้ลูกบอล กับกลุ่มที่ฝึกกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพียงอย่างเดียว  มีเวลาปฏิกิริยาตอบสนองของมือ และตา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึกในสัปดาห์ที่ 8

ABSTRACT

          The purpose of the research was to study and compare Effects of the Ball Training upon Eye and Hand Reaction Time of Autistic Children. The participants were twenty male autistic students aged from seven to ten years old at Kasetsart University Laboratory School in the second semester year 2005.  They were selected by using purposive random sampling.
          The instruments were physical education activities and the ball training. The participants were divided into two groups (experimental and controlled groups).  Both groups were engaged in all physical education activities but the ball training was also included in the experimental group.  The research was carried out 3 days a week for 8 consecutive weeks (Monday, Wednesday and Friday). The experimental group was pre – tested for the reaction time of eye and hand in the first week and a post – test, after the eighth week. The collected data were analyzed by mean, standard deviation and two–way analysis of variance with repeated measures.  T-test was used to compare the effect of the ball training upon eye and hand reaction time of autistic children.
          The result showed that the autistic children trained in physical education activities and the ball training has made a significant difference at the level of .05 by t-test when compared with the controlled group trained only in physical education activities.  

Key words:  Reaction Time of Autistic Children

E-mail address:  g4666369@ku.ac.th

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics