bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

 

 

การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Positive Behavior Support, Sensory Integration, และ Relaxation สำหรับนักเรียนออทิสติกที่มีระดับค่อนข้างรุนแรง
Decreasing Inappropriate Behavior using Positive Behavior Support, Sensory Integration, and Relaxation for Severe Students with Autism.

สุพัตรา วงศ์วิเศษ แอนดราดี* นฤมล ทวีพันธ์* และ วีรมลล์ โล้เจริญรัตน์*
Supattra Wongvisate Andrade, Nareumol Taweephan, and  Weeramol Locharoenrat

บทคัดย่อ 
          การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ Positive Behavior Support, Sensory Integration, and Relaxation ในการปรับพฤติกรรม และ ลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ สำหรับนักเรียน ออทิ สติกที่มีระดับ ค่อนข้างรุนแรง รูปแบบ การวิจัยเป็น การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ระยะเวลาของการวิจัยเริ่ม 26 พฤษภาคม-22 กันยายน 2549 โดยศึกษา นักเรียนออทิสติกที่มี ระดับค่อน ข้างรุนแรง 3 คน ซึ่งทั้ง 3 กรณีศึกษามี ความ บกพร่อง ใน ด้านการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสาร และ การแสดงออก ของพฤติกรรม   
          ผลการวิจัยพบว่า การลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Positive Behavior Support, Sensory Integration, และ Relaxation สามารถลด ความรุนแรง ของการ แสดงพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้ง การลดช่วงระยะ เวลาของการเกิด และ การ แสดงพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ ให้น้อยลง เพื่อ ให้การ พัฒนามี ความชัดเจน และ คงทน คณะผู้วิจัยจะปฺฏิบัติการต่อร่วม กับการช่วยเหลือด้าน การสื่อสาร และ ภาษา ตลอด จนติดตาม เพื่อค้นหา ปัจจัย สภาพแวดล้อม ที่เข้ามากระทบ กับการปรับตัวของ นักเรียนทั้ง 3 คน อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2550

ABSTRACT 
          The purpose of this research was to study positive behavior support, sensory integration, and relaxation for decreasing the inappropriate behavior of severe students with autism. It classroom based, begun in the first semester of 2006 (May26th – Sept 22nd). The research provided 3 case studies with severe autism, who exhibit malfunction in communication and behavior.
          The results of this research show that positive behavior support, sensory integration, and relaxation are able to decrease the inappropriate behaviors of severe students with autism and decreased the frequency of the inappropriate behaviors. The researchers will continue to increase the students’ potential by continuing to collect data and observe the effects of adaptive behavior.
Keywords: Autism, Inappropriate behavior, Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation
Email: wongvisate_s@yahoo.com
 
Presented in the 45th Academic Conference, Kasetsart University January 30th - February 2nd, 2007

คำนำ 
          โรงเรียนสาธิต แห่ง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ได้เล็งเห็น ความสำคัญของ การมุ่งเน้นให้ความ ช่วยเหลือรวมทั้ง การพัฒนา นักเรียนที่มีภาวะ ออทิซึมให้มี การพัฒนาการตาม ศักยภาพ ทั้งทาง ด้านการศึกษา  ทางด้านทักษะสังคม และ การอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นอย่างมีความสุข นักเรียนที่มีภาวะ ออทิซึมจะมีลักษณะ อาการที่แตกต่างกัน ได้แก่ระดับที่สามารถเรียนรู้ได้  ระดับปานกลาง  และ ใน ระดับค่อน ข้างรุนแรง นักเรียนที่มีภาวะ ออทิซึมในระดับที่เรียนรู้ได้และ ระดับปานกลาง  สามารถเรียนร่วม กับ นักเรียนในห้องปกติได้เหมาะสม ตามศักยภาพ ส่วนนี้นักเรียนที่มีภาวะ ออทิซึมระดับ ค่อนข้างรุนแรง ส่วนใหญ่จะมี พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นอุปสรรคใน ด้านการเรียน และ การอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคม  เช่น  การส่งเสียงกรีดร้องขณะเรียน  การทำร้ายร่างกายตัวเอง  ครูผู้สอน และ เพื่อน  การทำลายทรัพย์สิน   เป็นต้น ดังนั้น ในกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมระดับ ค่อนข้างรุนแรงจำเป็น ต้องได้รับความช่วยเหลือ ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ให้นักเรียนได้เกิดการพัฒนา และ การเรียนรู้ ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข และ เป็นที่ยอมรับในสังคม

          เมื่อ 2 ปีที่แล้ว จากการที่ได้รับมอบ หมายหน้าที่รับผิดชอบ นักเรียนที่มีภาวะ ออทิซึม ระดับค่อนข้าง รุนแรง เริ่มแรกมี ความรู้สึกกลัวที่ จะโดน ทำร้ายจากนักเรียน แต่เมื่อนึกถึง ว่าถ้ากลัวอยู่เช่นนี้ก็จะไม่สามารถสอนนักเรียน คนหนึ่งให้อยู่ร่วม กับผู้อื่นได้ และ ยังคงเป็น ที่น่ากลัว น่ารังเกียจ สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ ดังนั้นจากการ เรียนรู้ซึ่งกัน และ กัน ระหว่างและ นักเรียน โดยใช้ ความรัก และ การดูแลเอาใจใส่ ทั้งการเรียน และ พฤติกรรม ตลอดเวลา ที่นักเรียน ก้าวเข้ามาใน โรงเรียน  ครูจะตระหนัก เสมอในหน้าที่ “ที่เปรียบเสมือนแม่ที่ให้ ความรักแก่ลูก สอนให้ลูกรู้ถึง ความว่ารัก และ ศรัทธาในสิ่งที่แม่มอบให้” ถึงแม้จะใช้เวลานาน ในการเรียนรู้ และ การลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ  แต่เป็น การรอคอยที่คุ้มค่า และ เกิดเป็นความภาค ภูมิใจในที่สุด เมื่อเห็นนักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและ ไม่ทำร้ายผู้อื่นดั่งเช่นเมื่อก่อน ครูจะไม่ลืมเลยว่า ครูได้เรียนรู้คำว่า “รัก” โดยเริ่มจากคำว่า “กลัว” ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการใช้ Positive Behavior Support, Sensory Integration, และ Relaxation ในการปรับและ ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์สำหรับนักเรียนออทิสติกในระดับค่อนข้างรุนแรง

กรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 

          แนวการจัดกระบวน การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Positive ฺ Behavior Support, Sensory Integration, และ Relaxation สำหรับนักเรียนออทิสติกในระดับค่อนข้างรุนแรง

         

          1.         Positive Behavior Support เป็นการสร้างการศึกษาที่มุ่งเน้นถึงความเข้าใจ ของสาเหตุที่ทำให้เกิด พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  โดยเลือกการปฏิบัติ ในด้าน ทางบวก และ ไม่มีการลงโทษแต่อย่างใด   เพื่อเป็น การเคารพสิทธิใน ตัวของเด็ก ของความ เป็นมนุษยชน (Dunlap & Fox, 1999)  ดังนั้นคณะ วิจัยได้นำมาใช้สำหรับเด็กออ ทิสติกที่มี ระดับค่อนข้าง รุนแรงเพื่อเป็น การปรับพฤติกรรม และ ลดปัญหา พฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์   เนื่องจากเด็กออ ทิสติกที่มีระ ดับค่อนข้าง รุนแรงส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของการ แสดงออกของ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บางคนก็จะ แสดงพฤติกรรมที่รุนแรงกับบุคคลรอบข้าง ในลักษณะของ การทำร้าย   และ ทางเลือกส่วนใหญ ่ของการช่วยให้เด็กออ ทิสติกที่มี ระดับค่อนข้าง รุนแรงลด พฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เหล่านี้คือ  การทำโทษโดย การแยกตัว นักเรียนออกจากกลุ่ม  หรือวิธีการที่รุนแรงต่อเด็ก เพื่อต้องการให้หยุด แสดงพฤติกรรมเหล่านั้น   การปฏิบัติกับ นักเรียนใน ด้าน ทางบวก หรือ Positive behavior support   ได้แก่  การแสดงท่าทาง ที่แสดงถึง ความรัก การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีจากและ เพื่อน   การให้คำชมเชย   การพูดให้กำลังใจ    หลีกเลี่ยงการพูดว่ากล่าวที่รุนแรงหรือ การพูดสอดเสียด   การให้รางวัล และ แรงเสริม  การจัด สภาพแวดล้อมในห้องเรียน และ สถานที่ต่างที่เอื้ออำนวยต่อ การเรียนรู้และ การผ่อนคลาย จัดรูปแบบ กิจกรรมการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับ นักเรียน และ ในส่วนสำคัญ คือควรหลีกเลี่ยง การทำโทษ และ ไม่มีการลงโทษ ที่รุนแรง (Jackson & Panyan, 2002, 199-212)

          2.         Sensory Integration คือ การรับ ความรู้สึกผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งในเด็กออ ทิสติกจะ มีการประมวล การรับความรู้สึก ที่บกพร่อง ลักษณะอาการของ การรับรู้ความรู้สึกจะมี 2 ประเภท คือ 1)  การรับรู้ที่ไวผิดปกติ    2) การรับรู้ที่ช้ากว่าปกติ   จากการรับรู้ ที่ผิดปกติเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัญหา ของพฤติกรรม เช่น การเคลื่อนไหว ที่ผิดปกติ  มีลักษณะ ของอาการ หุนหันพลันแล่น  ต่อต้านสถานการณ์ต่างๆ  ระดับความคับข้องใจสูง  ปัญหาในด้านการควบคุมตัวเอง  ปัญหาในด้านการเรียน  ปัญหาทางด้านสังคม และ ปัญหา ทางด้านการแสดง ออกทางอารมณ์

 

                         ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะเน้นในส่วนของ วิธีการ กระตุ้นประสาทสัมผัส ในด้านพัฒนาการจัด ระเบียบของ ความรู้สึกทาง การสัมผัส เมื่อนักเรียนออทิสติก แสดงพฤติกรรม และ อารมณ์ที่รุนแรง ครูสามารถเลือกแนว ทางวิธีปฏิบัติ ได้ดังนี้  1) ครูใช้ ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็น เช็ดตามบริเวณ หน้า ลำคอ แขนของนักเรียน ด้วยการลงน้ำหนักอย่างช้าๆ ขณะเช็ด แล้วเช็ดในแนวลง  2)  ครูใช้ โลชั่นทาบริเวณ แขนของ นักเรียนด้วยการ ลงน้ำหนักอย่างช้า ๆ แล้วนำแปรงขัดตัว มาขัดในแนวลง  3) ครูใช้บอลบำบัด กดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย นักเรียนอย่างช้าๆ  โดยจะเน้นในช่วง ข้อต่อ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อหัวไหล่ เป็นต้น   ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้แรงกด ที่หนักมากกว่า ส่วนอื่น  การปฏิบัติเหล่านี้ จะช่วยให้นักเรียนรู้สึก ผ่อนคลาย และ ลดการกระตุ้น จากสิ่งเร้าต่างๆ (สุภาพร, 2547

          3.         Relaxation เป็นการผ่อนคลาย ที่ช่วยตอบสนอง เพื่อลดภาวะ ความตึงเครียดให้น้อยลง    ได้แก่   การผ่อนคลาย ทางด้านกล้ามเนื้อ การควบคุม ระบบหายใจ ระดับการเต้นของหัวใจ และ ระดับความดัน  เนื่องจากบุคคลที่มีภาวะออทิซึมมีความบก พร่องในด้าน ของการสื่อสาร  ทักษะสังคม  และ การสร้าง ปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น        ในภาวะความตึงเครียด จึงทำให้

เกิดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค ์และ เป็นอุปสรรค ในการเรียนรู้   เด็กออ ทิสติกส่วนใหญ่ จะมีความรู้สึกที่อ่อน ไหวมากกว่าเด็ก ปกติทั่วไป  และ มีการรับรู้ที่ผิดปกติซึ่งเป็นผล มาจาก ระบบประสาท  ดังนั้น Relaxation  จึงมีส่วนสำคัญในการช่วย ลดระดับความตึงเครียด ของเด็กที่มีภาวะ ออทิซึม และ ยังสามารถควบคุม ความตึงเครียดของ ระบบต่างๆในร่างกายโดย เฉพาะกล้ามเนื้อ และ การควบคุมอารมณ์ที่แสดงต่อ สถานการณ์ต่างๆ (Relaxation. Autism Sa, 2004) วิธีการ ปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนได้พักผ่อน และ ลดความตึงเครียด

  • จัดชั่วโมงผ่อนคลายให้นักเรียน สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง   โดยมีวิธีการดังนี้ 
         1. ให้นักเรียนนอนบนเบาะในมุมพักผ่อน
         2. เปิดเพลงซึ่งมีทำนองที่ช้าให้นักเรียนฟังขณะที่นักเรียนนอน  โดยกำหนดเวลาประมาณ 30 นาที
         3. นำบอลบำบัดมานวด
  • สอนให้นักเรียนบอกความต้องการเมื่อเกิดความเครียด  เพื่อให้นักเรียนได้เลือกวิธีการที่ทำให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย
แผนปฎิบัติการ 
การเก็บรวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูล 
      • การเก็บรวบรวมข้อมูล
             1. สังเกตและ บันทึกพฤติกรรมในแต่ละวัน ทั้งในห้องเรียนกลุ่มย่อย ห้องเรียนรวม กิจกรรมนอกสถานที่ ช่วงเวลาพักดื่มนม และ ช่วงเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน
             2.  สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และ เพื่อนในชั้นเรียนรวมอย่างไม่เป็นทางการ
    • การวิเคราะห์ข้อมูล

                     เปรียบเทียบความถี่ในการ แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation และ หลังใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation จากแบบบันทึกพฤติกรรม และ สัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และ เพื่อนในชั้นเรียนรวมนำเสนอในรูปแผนภาพประกอบคำบรรยาย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
  1. แบบบันทึกเหตุการณ์
  2. บันทึกความถี่ของพฤติกรรม
  3. อุปกรณ์สำหรับ Sensory Integration ได้แก่  บ่อบอล  บอลบำบัด  แปรงขัดตัว โลชั่น ผ้าขนหนูผืนเล็ก      น้ำเย็น
  4. อุปกรณ์สำหรับ Relaxation ได้แก่ มุมพักผ่อน เบาะ หมอน บอลบำบัด  ผ้าห่ม ตุ๊กตา  ซีดีเพลง 
สรุปผลการปฏิบัติ 
กรณีศึกษาที่ 1 
1. ข้อมูลนักเรียน
นายพล  อายุ 17 ปี   เรียนอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1   เป็นลูกชายคนเล็ก    มีพี่ชาย  1 คน  บิดา และ มารดาเป็นนักธุรกิจ  ได้รับการวินิจฉัย ว่ามีอาการออ ทิซึม  ในระดับ ค่อนข้างรุนแรง  ใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารน้อย พูดสื่อสารเป็นคำๆ   สร้างปฏิสัมพันธ์เฉพาะกับบุคคล ที่ไว้ใจ  ระดับสติปัญญาอย ู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า เกณฑ์เฉลี่ย    สามารถอ่านออก และ เขียนได้ แต่ไม่สามารถ เข้าใจความหมาย ของคำหรือ ประโยคนั้น

2. พฤติกรรมก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation
นายพลทำร้ายครูทันที โดยการหยิกแรงๆ  ตี  ส่งเสียง กรีดร้อง  ปัดของ  และ ดึงผมเพื่อน เมื่อไม่พอใจ หรือโดนขัดใจ  จากการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ของนายพล ก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation โดยเรียงตาม ลำดับจากความถี่ที่ เกิดขึ้นมากไปหาน้อยคือ การแสดงพฤติกรรมดังนี้    ส่งเสียง กรีดร้อง หยิก เอาศีรษะโขกโต๊ะ  ปัดสิ่งของ จากการเก็บรวบรวม ข้อมูลพบว่า สาเหตุของการ เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์       ส่วนใหญ่เกิดจาก การปฏิเสธการเรียน โดนขัดใจ และ เป็นอาการ เฉพาะของความบก พร่องทาง การรับรู้ นอกจากนี้                 การเก็บรวบรวม ข้อมูลที่ได้จาก การสัมภาษณ์บุคคล ทางบ้านพบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภายใน โรงเรียนในสัปดาห์ที่ 2   นายพลพักผ่อนน้อย เนื่องจาก รอผู้ปกครอง กลับบ้านจนถึ งเวลาประมาณ ตี 1

3.   พฤติกรรมหลังใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation
จากการ วิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนายพลหลังใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation โดยเรียงตาม ลำดับจาก ความถี่ที่เกิดขึ้นมากไปหาน้อยคือ การแสดงพฤติกรรมดังนี้   ส่งเสียงกรีดร้อง หยิก ปัดสิ่งของ เอาศีรษะโขกโต๊ะ ดึงผมตนเอง และ เพื่อน   จากการ เก็บรวบรวม ข้อมูลพบว่า  สาเหต ุของการเกิดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ ่เกิดจาก  การปฏิเสธการเรียน  อาการเฉพาะ ของความ บกพร่องทาง การรับรู้   โดนขัดใจและ เกิดจากการกระตุ้น จากสภาพแวดล้อม ซึ่งการ เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์แต่ละสัปดาห์อาจจะสรุป เหตุการณ์ได้จาก กิจกรรมการเรียน การสอนในวิชา ภาษาไทย และ วิชาทักษะกลไก  นอกจากนี้การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลทางบ้านพบว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภาย ในโรงเรียนอาจเป็นผลมาจาก การทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัว การผิดสัญญาขอ งสมาชิกในครอบครัว และ การหยุดเรียน เป็นเวลานาน ทำให้เกิด การเรียน การสอนและ การใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation ที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นตัวแปร สำคัญที่ทำให้การใช้Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation ไม่สามารถลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนายพลได้อย่างคงที่
Figure 1: Frequency of inappropriate behavior by week.
Case Study Pon: 1 Semester
กรณีศึกษาที่ 2  
          1.   ข้อมูลนักเรียน
ด.ช.ปอง  อายุ 14 ปี เรียนอยู่ใน ระดับประถม ศึกษาปีที่ 3  เป็นลูกชายคนเล็ก มีพี่ชาย 1 คน    และ พี่สาว     1 คน  บิดาและ มารดา มีอาชีพรับราชการ  ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการออทิซึม  ในระดับค่อนข้างรุนแรง   ใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารน้อย พูดสื่อสารเป็นคำๆ  ระดับสติปัญญาอยู่ใน เกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมาก   

 
          2.   พฤติกรรมก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation
ในบางเวลาปองจะวิ่งหนี ครูออกนอกห้องเรียน หรือวิ่งไปสถานที่อื่นๆในบริเวณของโรงเรียน   นอกจากนี้ปองจะทำร้ายและ เพื่อนโดยการ  ดึงผม  และ ถุยน้ำลาย  จากการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของด.ช. ปองก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation โดยเรียงตามลำดับจาก ความถี่ที่เกิดขึ้นมากไปหาน้อย คือการแสดง พฤติกรรมดังนี้   วิ่งหนีและ ทำร้าย ถุยน้ำลาย   จากการเก็บรวบรวม ข้อมูลพบว่าสาเหต ุของการเกิดพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ ่เกิดจาก   ปฏิเสธการช่วยเหลือ จากครูทางด้าน การสัมผัสตัวของด.ช.ปอง  และ การกระตุ้นจาก สภาพแวดล้อม และ บุคคล  การเรียกร้องความสนใจ และ ความเครียด 


          3.   พฤติกรรมหลังใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation  จากการวิเคราะห์พฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ของด.ช. ปองหลังใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation  ปรากฎว่าด.ช.ปอง แสดงพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ 1 พฤติกรรม คือ ดึงผมและ เพื่อน  แต่ด.ช.ปองไม่แสดงพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆอีก จากการเก็บรวบรวม ข้อมูลพบว่าสาเหต ุของการเกิดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เกิดจาก  การกระตุ้น จากสภาพแวดล้อม และ บุคคลในกิจกรรมนอก เวลาเรียน คือ กิจกรรมพละเสริม  แต่สาเหตุที่เกิดจากการ เรียกร้องความสนใจ และ ปฏิเสธการช่วยเหลือ จากครูด้านการ สัมผัสไม่ปรากฏขึ้นอีก  นอกจากนี้การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก การสัมภาษณ์บุคคลทางบ้านพบว่า วันอาทิตย์ในสัปดาห์ที่ 4  ด.ช.ปอง มีพฤติกรรมดึง ผมบุคคลสมาชิกภายในบ้าน และ ในวันจันทร์ด.ช.ปองก็ม าดึงผมครูผู้สอน  แต่หลังจากที่ครูใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation พฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ลดลง อย่างเห็นได้ชัด  และ ทางคณะนักวิจัยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของ ด.ช.ปอง จากการสัมภาษณ์บุคคลทางบ้านพบว่าให้ความดูแลเอาใจใส่  มีเวลาใกล้ชิด  และ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการใช้ Positive behavior support อย่างต่อเนื่อง

Figure 3: Frequency of inappropriate behavior by week.
Case Study Mena: 1 Semester
กรณีศึกษาที่ 3 
1.   ข้อมูลนักเรียน
ด.ช.มีนา  อายุ  9 ปี เรียนอยู่ใน ระดับประถมศึกษา ปีที่ 2  เป็นลูกชายคนโต   มีน้องชาย 2   บิดา และ มารดามีอาชีพรับราชการ  ได้รับการวินิจฉัย ว่ามีอาการออ ทิซึม  ในระดับค่อน ข้างรุนแรง     ใช้ภาษาเพื่อการ สื่อสารน้อย พูดออกเสียงไม่ชัด    พูดสื่อสารเป็นคำๆ  ระดับสติปัญญาอย ู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า เกณฑ์เฉลี่ยมาก

 
2.   พฤติกรรมก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation
ด.ช.มีนามีอารมณ์ค่อนข้างแปรปรวน ไม่ยอมรับการ เปลี่ยนแปลง และ ไม่มีความยืดหยุ่น ในบางสถานการณ์  จึงทำให้เกิดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ได้แก่  ร้องไห้โวยวาย   ลงไปนอนบนพื้น  ตี     เอาหัวโขก บุคคลและ สิ่งของที่อยู่รอบข้าง  จากการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์ของด.ช. มีนาก่อนใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation โดยเรียงตาม ลำดับจาก ความถี่ที่เกิดขึ้น มากไปหาน้อยคือ การแสดงพฤติกรรมดังนี้   ร้องไห้โวยวาย     เอาศีรษะโขกบุคคล และ สิ่งของรอบข้าง  ลงนอนกับพื้น   ตี   จากการเก็บ รวบรวมข้อมูลพบว่าสาเหต ุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามลำดับดังนี้  การเปลี่ยนแปลงของสิ่งของ และ ปฏิเสธการเรียนวิชา   ภาษาไทย   การเปลี่ยนแปลงของสถานที่และ โดนขัดใจ ไม่เข้าใจเนื้อหาวิชา          

  3.   พฤติกรรมหลังใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation
จากการ วิเคราะห์พฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ของด.ช. มีนาหลังใช้ Positive behavior support, Sensory integration, Relaxation โดยเรียงตาม ลำดับจากความถี่ที่เกิดขึ้นมากไปหาน้อย คือการแสดง พฤติกรรม ดังนี้  เอาศีรษะโขกบุคคล และ สิ่งของรอบข้าง  ร้องไห้โวยวาย  ตี  ลงนอนกับพื้น  จากการ เก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า   สาเหตุของพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตาม ลำดับดังนี้  การโดนขัดใจ  การเปลี่ยนแปลง ของสิ่งของ  การโดนทำร้าย  การปฏิเสธการเรียน และ ไม่เข้าใจเนื้อหาวิชา  แต่ไม่ปรากฏ สาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จาก การเปลี่ยนแปลงของสถานที่อีก  นอกจากนี้การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จาก การสัมภาษณ์บุคคล ทางบ้านพบว่า ทางบ้านให้ความดูแล    เอาใจใส่ พร้อมทั้งให้ความ ร่วมมือในการใช้ Positive behavior support  แต่ในสัปดาห์ที่ 15 ด.ช.มีนาเกิด การเปลี่ยนแปลงภายในบ้าน  เนื่องจากผู้ปกครอง ไม่อยู่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ ไม่ได้รับประทานยา สาเหตุนี้อาจเป็นผลทำให้ ด.ช. มีนาแสดง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น

         
          
          

Figure 3: Frequency of inappropriate behavior by week.
Case Study Mena: 1 Semester

สรุปผล   
          จากการรวบรวม ข้อมูลการวิจัย จากกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณี ได้แสดงให้เห็นว่า การลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation สำหรับ นักเรียนออ ทิสติกที่มีระดับค่อน ข้างรุนแรง  ในกรณีศึกษาที่ 1 มีแนวโน้มของการใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation ในการลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์อย่าง ไม่ชัดเจน  จากการ วิเคราะห์ข้อมูลได้พบถึงอุปสรรคที่เป็นสาเหตุของการยังคง แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อายุของนักเรียน ที่อยู่ในระดับวัยรุ่น  เนื้อหาจากกิจกรรม การเรียนการสอน และ ภาวะสถานการณ์ที่ไม่ราบรื่นภายในบ้าน  ในกรณีที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มของการใช้ Positive behavior support, Sensory Integration, and Relaxation ในการลดพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์อย่างคงที่และ ลดลงตามลำดับ เนื่องจากนักเรียนทั้ง 2 คน อยู่ในระดับวัยเด็ก  ได้รับการเอาใจใส่ดูแล อย่างใกล้ชิดและ ให้ความร่วมมือในการใช้ Positive behavior support อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากการ วิเคราะห์ข้อมูลได้ พบถึงอุปสรรคที่เป็น สาเหตุของการยังคงแสดง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากการได้รับการกระตุ้นจากบุคคล สภาวะแวดล้อม บางสถานการณ์ และ การเเปลี่ยนแปลงของสิ่งของ
            การวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ค้นพบ จากผลการวิจัยว่าการลด พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Positive Behavior Support, Sensory Integration, และ Relaxation สามารถลดความรุนแรงของ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้ง การลดช่วงระยะ เวลาของการเกิด และ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้น้อยลง เพื่อให้การพัฒนามี ความชัดเจน และ คงทนคณะผู้วิจัย จะปฏิบัติการวิจัยต่อเนื่อง และ ร่วมกับการ ให้ความช่วยเหลือพัฒนาในด้านทักษะ การสื่อสารและ ภาษา ตลอดจนติดตาม ค้นหาปัจจัย สภาพแวดล้อมที่เข้ามา กระทบกับการปรับตัวของ นักเรียนทั้ง 3 คน อย่างต่อเนื่องต่อไป
คำขอบคุณ  
          คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณ รศ.ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ ผู้ที่กรุณาชี้แนะแนว ทางของครูด ีเป็นนักวิจัยได้ และ ด้วยความกรุณาของอาจารย์  คณะผู้วิจัยจะปฎิบัติการสอน และ ศึกษางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง
          ขอขอบพระคุณ ผศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ และ ผศ.จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์  ผู้ให้โอกาสและ เป็นกำลังใจ อันสำคัญตลอดระยะ เวลาการทำงาน รวมทั้งอาจารย์ และ ผู้ปกครองที่สนับสนุน และ ให้ความช่วยเหลือ เป็นผลให้งาน วิจัยครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์   
เอกสารอ้างอิง 
เพ็ญแข  ลิ่มศิลา. 2545. คู่มือฝึกและ ดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง. โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ :

 

          โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว..
สุภาพร  ชินชัย. 2547. เอกสารประกอบคำบรรยายกิจกรรมบำบัด. โครงการฝึกอบรมครูและ บุคคลากรทาง

 

          การศึกษาพิเศษ : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา.
Jackson & Panyan. 2002. Positive Behavioral Support in the Classroom. Baltimore : Paul H. Brooks

           Publishing Co.


www.autismsa.org.au. 2004. Information Sheet 1 Relaxation. Autism SA.
www.kidneeds.com. 1999. Dunlap & Fox. Teaching student with autism.

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics