bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนออทิสติก
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Model of Learning Approach in Sciences Class for Autistic Students in Second Grade
จิรนันท์ บุญเรือน
Jiranan Boonruan
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนออทิสติกพลวิจัย ที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โครงการการศึกษาพิเศษ ( พ.2) โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นออทิสติก และ แอสเพอเกอร์ จำนวน 7 คน ได้รับการจัดกิจกรรมตาม กระบวนการเรียนการสอนที่ประยุกต์ รูปแบบของกานเย่ และ แนวการสอนทีช ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังการสอนแต่ละครั้ง ผู้วิจัยจะบันทึกพฤติกรรม เพื่อนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุง แผนการสอนให้เหมาะสม กับลักษณะการเรียนรู้ ของนักเรียนออทิสติก เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรม ผู้วิจัยนำข้อมูลจาก แบบบันทึกพฤติกรรมมา วิเคราะห์ร่วมกับแผนการสอน และ คะแนนสอบ พบว่านักเรียนออทิสติก สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ดี และ สามารถจดจำ เนื้อหาได้นานขึ้น

 

ปีที่ทำการวิจัย : 2549
ABSTRACT 
          The purpose of the study was to find appropriate teaching method for learning style of autistic students. Subject of the study were seven students in second grade diagnosed with pervasive developmental disorder of Educational research center for children with special needs Kasetsart University Laboratory School. The researcher studied in sciences class for four weeks. After each section, the researcher would collect students’ behavior. All collected data would be analyzed and developed lesson plans until these lesson plans were appropriate for leaning style of autistic students.
          After four weeks of teaching applied Ganne approach, the researcher analyzed data from lesson plans, behavioral report forms and test scores. The results showed that autistic students could remember their lesson for a long time and improved their performance in sciences class.
Key words : Model of Learning Approach , Science , Autistic

 

Year of study : 2006

 

Presented and published at Chulalongkorn Academic Conference to promote nation researcher on the occasion of the 50th anniversary of the establishment of the Faculty of Education, July 10th-11th, 2007

บทนำ 

ความเป็นมาและ ความสำคัญของปัญหาวิจัย

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญ กับการจัดการศึกษาสำหรับบุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และ การเรียนรู้ เด็ก ออทิสติกก็เป็นเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่มีความบกพร่อง เพ็ญแข ลิ่มศิลา (2536) ได้กล่าวถึง ออทิสติกไว้ว่า ออทิสติกเป็นกลุ่มอากา ที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม แบบจำเพาะ ซึ่งปรากฎให้เห็นเป็นที่สังเกตได้ ในระยะแรกๆของชีวิตก่อนอายุ 30 เดือน พฤติกรรมที่ผิดปกตินั้นเป็นความบกพร่อง เกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพทางสังคม ภาษา การสื่อความหมาย และ การใช้จินตนาการ ในการเล่น (การเล่นโดยใช้การสมมุติ) ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงาน ในหน้าที่บางส่วนของสมองผิดปกติ ไป เด็กออทิสติกแต่ละคนนั้น จะมีเอกลักษณ์ของตนเองที่แตกต่างไป จากเด็กอื่นที่ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกเหมือนกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอาการของเด็กแต่ละคน มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป รวมถึง การช่วยเหลือของครอบครัว และ การจัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเด็กแต่ละคน ล้วนส่งผลให้ เด็กออทิสติกแต่ละคน แตกต่างกันไป โดยลักษณะเฉพาะบางอย่างนี้เอง ที่ทำเด็ก ออทิสติกหลายคนเมื่อเข้าสู่โรงเรียน มักมีปัญหาหลายอย่างในการเรียน
          จากประสบการณ์การสอนที่ผู้วิจัย ได้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้กับ นักเรียนออทิสติกมาเป็นเวลา 5 ปี พบว่ามักมีปัญหาด้าน กระบวนการเรียนรู้และ การจดจำเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ จากสภาพการเรียนการสอนที่ผ่านๆมา ผู้วิจัยสังเกตเห็นว่านักเรียนส่วนใหญ่ ขณะเรียนมีอาการเหม่อลอยเป็นช่วงๆ ตอบคำถาม และ ให้เหตุผลประกอบ ไม่ตรงประเด็น ความสนใจในการตอบคำถามไม่สม่ำเสมอ พูดซ้ำๆ ในสิ่งที่ตนสนใจ วิตกกังวล บางครั้งไม่ยืดหยุ่นกับ ความเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำความเข้าใจเนื้อหา ที่ซับซ้อนได้ หรือทำความเข้าใจเนื้อหาได้แต่ช้าและ ลืมไว สอดคล้องกับเพ็ญแข ลิ่มศิลา(2548) ที่กล่าวว่า เด็กออทิสติกนั้นมีปัญหาด้าน การเรียนรู้อันเป็นผลเนื่องมาจาก ลักษณะและ พฤติกรรมเฉพาะตัว ของเด็ดออทิสติกแต่ละคน        

          ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรหาวิธีการเพื่อพัฒนากระบวน การเรียนรู้และ การจดจำเนื้อหาให้กับ ผู้เรียนออทิสติก โดยผู้วิจัยได้นำแนวการสอน ทีช (Teacch) มาผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอน ตามรูปแบบของกานเย่ที่เป็น การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวน การเรียนรู้และ การจดจำเนื้อหาของมนุษย์และ ยังช่วยเพิ่มพู ทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมาย ของข้อมูลให้กับผู้เรียน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

          เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการ เรียนรู้เพื่อนักเรียนออทิสติก กรณีศึกษาการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ของ นักเรียนออทิสติก

แนวการจัดรูปแบบการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนออทิสติก 

          การจัดการเรียนการสอนเป็น การผสมผสานระหว่างแนว การสอนเด็กออทิสติก ทีช ( TEACCH )ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทาง และ ขั้นตอนการสอน ตามรูปแบบของกานเย่

        1. แนวการสอน ทีช ( TEACCH ) เป็นแนวการสอน เด็กออทิสติกโดยเน้นการ จัดสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็ก การสอนดำเนินเป็นขั้นตอนอย่างง่ายๆ ประกอบด้วยการจัดขั้นตอนใน 3 ประการ คือ

                    1.1 การจัดสภาพแวดล้อมเป็น การจัด สภาวะแวดล้อม ในห้องเรียน ให้เอื้ออำนวยต่อ การเรียนการสอนเด็ก ออทิสติก การจัดสภาพแวดล้อมมีแนวปฏิบัติดังนี้

                             1.1.1 กำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน โต๊ะจะตั้งบริเวณที่เด็ก เสียสมาธิน้อยที่สุด
                             1.1.2 จัดเตรียมอุปกรณ์การสอนให้ใกล้มือครู โดยครูไม่ต้องเดินไปหยิบ เพราะการเดินไปมาอาจ ทำให้เด็กหันเหความสนใจไปยังสิ่งอื่น และ เสียสมาธิในการเรียนได้
                             1.1.3 เนื้อหาที่สอนจะต้องอยู่ในระดับที่เด็กจะทำได้ ไม่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไป

                    1.2 เวลา ครูต้องหาทางให้เด็กเข้าใจ กรอบเวลาว่า เด็กจะต้องทำอะไรบ้าง การจัดเวลามีแนวปฏิบัติดังนี้
                             1.2.1 กิจกรรมที่จัดต้อง เหมาะสมกับเวลา ตารางกิจกรรมที่จะ ให้เด็กปฏิบัติต้องมีความชัดเจน
                             1.2.2 กิจกรรมจะต้องมีทั้งกิจกรรมกลุ่ม และ กิจกรรมที่ให้เด็กทำตามลำพัง
                             1.2.3 กิจกรรมต้องเหมาะ กับระดับความสามารถของเด็ก
                             1.2.4 กิจกรรมต้องเป็นสิ่ง ที่เด็กชอบและ สนใจ
                             1.2.5 กิจกรรมจะต้องประกอบ ด้วยสิ่งที่เด็กทำได้ และ สิ่งที่เด็กต้องใช้ ความพยายาม มีรางวัล(แรงเสริม) สลับกันไป จะทำให้เด็กเรียนได้ดี

                    1.3 การจัดโครงสร้างงาน งานหมายถึงงานที่ครูมอบหมาย ให้นักเรียนทำ ครูต้องสอนให้เด็กทราบว่างานนั้น มีขั้นตอนอย่างไร และ ครูต้องจัดขั้นตอน ในการสอนให้เป็นระบบ ว่าจะสอนให้เด็กทำอะไรก่อน-หลัง การที่ครูนำงานมาเรียงกัน ตามลำดับเรียกว่า Structured work ซึ่งประกอบด้วย การออกคำสั่ง การกระตุ้นเตือน และ การให้แรงเสริม

        2.    การสอนตามรูปแบบของกานเย่ มีลำดับขั้นตอนในการสอนดังนี้

                   ขั้นที่    1 การกระตุ้น และ ดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียน ออทิสติกตื่นตัวที่จะรับรู้ สิ่งที่จะเรียน และ เกิดแรงจูงใจ ในการเรียน

             

                   ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของ บทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็น การช่วยให้ผู้เรียนออทิสติก ได้รับรู้ความคาดหวัง ของผู้สอน และ จัดบรรยากาศการเรียน ให้มีแบบแผนคาดเดาได้ อันเป็น การลดความเครียดของผู้เรียนเอง

                   ขั้นที่    3   การกระตุ้น ให้ระลึกถึง ความรู้เดิมเป็น การช่วยให้ผู้เรียน ออทิสติกดึงข้อมูลเดิมที่อยู่ใน สมองออกมาใช้ ซึ่งจะเป็น การกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดความพร้อมใน การเชื่อมโยง ความรู้ใหม่กับ ความรู้เดิม อันจะทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น

                   ขั้นที่   4   การนำเสนอสิ่งเร้า หรือเนื้อหาสาระใหม่ เป็นขั้นที่ผู้สอน จัดสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเห็นลักษณะ สำคัญของสิ่งที่จะเรียนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้นการตอบสนองของ ผู้เรียนด้วยสื่อและ วิธีการ ที่เป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย เพื่อความสะดวกใน การรับรู้ของผู้เรียน โดยผู้สอนต้องสอน ทีละเรื่องย่อยๆ พยายามลดเสียงรบกวน หรือสิ่งหันเหความสนใจของ ผู้เรียนออทิสติก ทำให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ เนื้อหาสาระได้ดี

                  

                  ขั้นที่   5 การให้แนวการเรียนรู้หรือ การจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย ในรูปแบบที่ง่ายต่อ การจดจำ เป็นการช่วยให้ ผู้เรียนออทิสติก สามารถทำความเข้าใจ กับสาระได้ง่าย และ เข้าใจยิ่งขึ้น โดยผู้สอนไม่ใช้สำนวน หรือคำพูดที่มีความกำกวม เข้าใจยาก

                  ขั้นที่     6     การกระตุ้นให้ผู้เรียน แสดงความสามารถ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาส ตอบสนองต่อสาระที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ในตัวผู้เรียนออทิสติก โดยผู้สอน จะให้เวลาผู้เรียนใน การรวบรวม และ ประมวลความคิด ทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียน และ ปฎิบัติกิจกรรมตาม ที่กำหนดได้

                  ขั้นที่   7  การให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นการให้ การเสริมแรงและ ข้อมูลที่ เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ออทิสติก โดยผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้น ซึ่งในขั้นนี้ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ จะเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม ภาคภูมิใจ และ เกิดแรงจูงใจในการเรียนอื่นๆ ครั้งต่อไป

                  ขั้นที่ 8     การประเมินผล ของผู้เรียนออทิสติก เพื่อช่วยให้ผู้เรียน ทราบว่าตนเอง สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด และ มีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง หากประเมินแล้วไม่ผ่าน ผู้สอนต้องเรียก ผู้เรียนไปพบนอกเวลา เพื่อหาสาเหตุของการไม่ผ่าน การประเมิน และ แก้ไขปัญหานั้นๆ

                  ขั้นที่    9     ส่งเสริมความคงทน และ การถ่ายโอนการเรียนรู้เป็น การให้โอกาสผู้เรียนได้มี การฝึกฝนอย่างพอเพียง และ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย ทำให้ความรู้แน่นขึ้น

                  เมื่อนำเอาแนวการสอนทีชซึ่ง เป็นการสอนเด็กออทิสติกที่เน้น การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม กับเด็กและ สอนอย่างเป็นขั้นตอน มาประยุกต์รวมกับรูปแบบ การสอนของกานเย่ สามารถ สรุปเป็นกรอบแนวคิดเชิงหลักการ ได้ดังนี้

แผนภาพ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนออทิสติก

อุปกรณ์และ วิธีการ 
การปฏิบัติการสอน 

                  การจัดรูปแบบการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อ เด็กออทิสติกได้ดำเนินการสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โครงการการศึกษาพิเศษ (พ.2) โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัย และ พัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2549 จำนวน 7 คน เป็นชาย 6 คน และ หญิง 1 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นออทิสติกและ แอสเพอเกอร์ ระยะเวลาในการวิจัยใช้เวลา การจัดการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที เนื้อหาที่นำมาใช้ในการวิจัย คือเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์หน่วย การเรียนรู้ที่ 2 สารรอบตัว

วิธีดำเนินการวิจัย 

                  1. ทดสอบความรู้ทั่วไปของผู้เรียน ที่จำเป็นกับการเรียน เรื่องสารรอบตัว โดยใช้วิธีตอบปากเปล่า เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน ว่านักเรียนแต่ละคนมีความรู้มากน้อย เพียงใด สำหรับเป็นข้อมูล ในการสร้างแผนการสอน

                  2.    สร้างแผนการสอน วิทยาศาสตร์ตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อนักเรียนออทิสติกจำนวน 5 แผน และ ออกแบบเครื่องมือ ที่ใช้ใน การเก็บข้อมูล (แบบบันทึกพฤติกรรม)

                  3.    ปฏิบัติการสอน ตามแผนการสอนที่สร้างไว้ ขณะสอนผู้ช่วยวิจัย จะเก็บข้อมูลพฤติกรรม แล้วบันทึกลงแบบ บันทึกพฤติกรรม โดยระยะเวลาที่ใช้ใน การดำเนินการวิจัย ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที

                  4. หลังการสอนแต่ละครั้ง ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้ในแบบบันทึกพฤติกรรม มาวิเคราะห์ว่าการสอนแต่ละ ขั้นตอนนั้นสอดคล้อง เหมาะสมกับพฤติกรรม ที่มุ่งหวังหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมต้องมี การปรับปรุงในแผนการสอนต่อๆไป

                  5.    เมื่อสอนเรื่องสารรอบตัว จบแล้วทดสอบความรู้หลังเรียน (สอบย่อยรายหน่วย) จากนั้นทิ้ง ระยะเวลาห่าง 2 สัปดาห์แล้วทดสอบ หาความคงทนของ การเรียนรู้ ( ข้อสอบปลายภาค )

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

                  1.  แบบบันทึกพฤติกรรม
                  2.  แบบวิเคราะห์พฤติกรรม

                  3.  แบบสอบวัดความรู้
วิธีรวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์ข้อมูล 

                  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บข้อมูลตามแผนการสอน และ การวิจัย

                  2. การวิเคราะห์ข้อมูล

                      2.1 วิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนโดยหาค่าความถี่ของพฤติกรรม แล้วบรรยายสรุป
                      2.2 นำคะแนนสอบย่อยรายหน่วย และ คะแนนสอบปลายภาคมาสรุปหาความคงทน ของการเรียนรู้

ผลปฏิบัติการวิจัย 

                  เมื่อได้ทำการสอนตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร ์เพื่อนักเรียนออทิสติก แล้ว พบว่า

1. พฤติกรรมในชั้นเรียน ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้

                  ขั้นที่   1 กระตุ้น และ ดึงดูดความสนใจ ผู้เรียนส่วนใหญ่ปฏิบัติกิจกรรมด้วยเต็มใจ มีความกระตือรือร้น ในการเรียน สนุกสนาน และ ตื่นเต้นไปกับกิจกรรม


                  ขั้นที่   2  แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน ให้ผู้เรียนทราบ ผู้เรียนรับฟังอย่างสงบ สนใจสิ่งที่ผู้สอนบอกเล่า


                  ขั้นที่   3   กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม ผู้เรียนรับฟังอย่างสงบ มีการแข่งขันกันตอบคำถามเป็นระยะ และ มีความพยายามใน การนึกถึงความรู้เดิม ที่ผู้สอนกระตุ้นถาม


                  ขั้นที่   4  นำเสนอเนื้อหาสาระใหม่ ผู้เรียนส่วนใหญ่จดจำบทเรียนได้ สามารถตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เรื่องที่กำหนดให้ สนใจบทเรียน และ ปฏิบัติกิจกรรม ตามที่กำหนดให้ได้ โดยในขั้นนี้จะยังมี นักเรียนบางคนที่ยังต้องพบอาจารย์นอกเวลาเพื่ออธิบายเนื้อหาด้วย วิธีสอนที่เฉพาะเป็นรายบุคคล


                  ขั้นที่   5   ให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย ในรูปแบบที่ง่ายต่อการจดจำ ผู้เรียนส่วนใหญ่ยกตัวอย่าง และ ตอบคำถามได้ สามารถสรุปผังความคิด ตั้งใจและ มีความพยายามในการทำงาน ในขั้นนี้จะมีนักเรียนบางคน ที่ยังต้องพบอาจารย์นอกเวลา เพื่อฝึกจัดระบบข้อมูลด้วย วิธีการที่เฉพาะเป็นรายบุคคล


                  ขั้นที่   6    กระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ ในขั้นนี้ผู้เรียนส่วนใหญ่สนุกสนานตื่นเต้น และ กระฉับกระเฉงกับ การปฏิบัติกิจกรรม สามารถทำแบบฝึกหัดได้ และ มีความพยายามที่จะปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนดให้ แต่ยังมีนักเรียนบางคนที่ ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรม ที่กำหนดให้ได้เนื่องจาก สาเหตุต่างๆเช่นอาการของโรค ไม่เข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร วิตกกังวลหรือเครียดเกินไป จนไม่กล้าทำ ผู้สอน จึงเข้าไปให้ความช่วยเหลือ


                  ขั้นที่ 7  ให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นการ ให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน ขั้นนี้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ผลงาน ของตนเอง และ ของผู้อื่น ผู้เรียนภาคภูมิใจ กับผลงานของตนเอง และ ให้ความสนใจงานของผู้อื่น


                  ขั้นที่   8 ประเมินผลของผู้เรียนออทิสติก ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัด ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และ ปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด ให้ได้ ส่วนผู้เรียนที่ไม่ผ่าน การประเมินต้องพบผู้สอน เพื่อหาสาเหตุที่ไม่ผ่าน การประเมินแล้วแก้ไข ปัญหานั้นๆเป็นรายบุคคล


                  ขั้นที่   9  ส่งเสริมความคงทน และ การถ่ายโอนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมตาม ที่กำหนดโดยเชื่อมโยง กับความรู้ที่เรียนมาได้ ทำแบบฝึกหัด ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และ สามารถตอบคำถาม ที่เชื่อมโยงไป สู่สถานการณ์อื่นได้
                  ในระหว่างการสอนมีนักเรียน ที่ปฏิบัติกิจกรรมไม่ผ่านขั้นตอนเฉลี่ย ในแต่ละขั้นดังนี้ ขั้นที่ 4 จำนวน 3 คน ขั้นที่ 5 จำนวน 3 คน ขั้นที่ 6 จำนวน 1 คน และ ขั้นที่ 8 จำนวน 2 คน โดยเมื่อครูนำนักเรียน ที่ไม่ผ่านขั้นตอนมาจัดกิจกรรม เพื่อซ่อมเสริมนอกเวลาเป็น รายบุคคลพบว่านักเรียน สามารถปฏิบัติกิจกรรม ขั้นตอนต่างๆ ผ่านหมดทุกคน
2. คะแนนสอบ
                  2.1 นักเรียนสามารถสอบหน่วยย่อย วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารรอบตัวผ่านหมดทุกคน คะแนนสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 100 และ ต่ำสุดร้อยละ 70
                  2.2 เมื่อทิ้งระยะเวลาห่าง 2 สัปดาห์นักเรียน สามารถสอบปลายภาค เรื่องสารรอบตัวผ่านหมด ทุกคน รอบเดียว โดยไม่มีการสอบซ่อม
อภิปรายผลการวิจัย 
                  ผู้เรียนออทิสติก สามารถทำคะแนนสอบได้ดี และ มีพฤติกรรม การเรียนรู้ที่ดี เพราะการสอนตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อ นักเรียนออทิสติกเป็น การผสมผสานแนวการสอน เด็กออทิสติกโดยวิธีการทีช (TEACCH) กับขั้นตอนการสอนตาม รูปแบบของกานเย่ การสอนเป็นการนำเสนอ ความรู้โดยใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผู้สอนใช้คำพูดสั้นๆ ง่ายต่อความเข้าใจ และ ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนทำ ให้ผู้เรียนรู้สึกไว้วางใจ คุ้นเคยจนกล้าที่จะซักถาม หรือขอความช่วยเหลือ เมื่อทำงานไม่ได้ การสอนดำเนินตามขั้นตอน มีการย่อยทักษะแล้วนำมาประมวล ในภาพรวม แล้วให้ผู้เรียนจัดระบบข้อมูล ในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยผู้สอนไม่รีบร้อน หรือบังคับให้เด็กเรียนรู้มากเกินไป เพราะ ทำให้เด็กปฏิเสธการเรียนรู้ มีปัญหาด้านอารมณ์ และ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝน หรือนำความรู้ไปใช้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง หากนักเรียนคนใดไม่เข้าใจ หรือไม่ผ่านขั้นตอน ผู้สอนก็จะอธิบายสร้างความเข้ ใจนอกเวลาเป็นรายบุคคล อันเป็นการสร้างความเข้าใจเนื้อหาโดย ไม่รบกวนการเรียนรู้ ของนักเรียนคนอื่น และ ยังเป็นการลดความเครีย ให้กับนักเรียนอีกทางหนึ่งด้วยขณะดำเนิน การสอนผู้สอนนำเทคนิคการให้รางวัลมา ส่งเสริมพฤติกรรมทางบวก เพื่อให้ กิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนทำพฤติกรรม หรือเรียนรู้เนื้อหาที่ต้องการ ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนง่ายขึ้น ส่วนการลงโทษนั้น ผู้สอนพยายามหลีกเลี่ยง หรือใช้ให้น้อยที่สุด และ ในระหว่างการสอนนั้น ผู้เรียนบางคนยังคงมีอาการ เหม่อลอย พูดซ้ำๆ มีอารมณ์แปรปรวนขึ้นลง ไม่สมเหตุผล ย้ำคิดย้ำทำ โวยวายไม่ยอมแพ้ อยู่บ้างในบางชั่วโมงซึ่งเป็น อาการของโรคไม่สามารถรักให้หายขาด ได้ แต่การสอนวิธีนี้ สามารถทำให้อาการเหล่านี้ลดน้อยลง ครูผู้สอน สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะในการสอน 
              จากการปฏิบัติการสอนตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อ นักเรียนออทิสติก กับนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนออทิสติก จะมีภาวะความไม่แน่นอน พฤติกรรมเป็น ปรากฏการณ์ที่ผู้สอนไม่สามารถ กำหนดล่วงหน้าได้ทั้งหมด จึงควรให้การสังเกตอย่างใกล้ชิดถึง ปฏิกริยาของการแสดงออก ทางอารมณ์ และ การเรียนรู้แต่ละขณะ และ ให้ความช่วยเหลือตามรูปแบบ การสอนดังที่นำเสนอมา ควรมีการจดบันทึก ข้อมูลสำหรับการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจ กับการเรียนรู้เด็กออทิสติกต่อไป
คำขอบคุณ 
              ในปัจจุบันเรื่องของ เด็กออทิสติกกำลังได้รับ ความสนใจอย่างกว้างขวาง แต่ความรู้เกี่ยวกับการสอน เด็กออทิสติกยังมีค่อนข้างน้อย และ จำกัดในวงแคบ งานวิจัยนี้จึงเป็นส่วนหนึ่ง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยมีวัตถุประสงค์ ที่ต้องการหาแนวทางการสอน ที่สอดคล้องและ เหมาะสม กับลักษณะของนักเรียนออทิสติก ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยัง ไม่สมบูรณ์เพียงแค่นี้ ควรมีการนำไปใช้และ เก็บข้อมูลซ้ำอีก

              ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ผศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ และ ผศ. จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ ที่ได้ให้โอกาส ในการทำงานกับเด็กพิเศษ รศ. ดร. จีระพันธ์ พูลพัฒน์ ผู้ซึ่งเป็นเข็มทิศ ของความเป็นครู อาจารย์ระพีพร ศุภมหิธร ที่ได้ให้คำแนะนำ เรื่องการสอนเด็กออทิสติก อาจารย์บุญรัตน์ เจียมจิตวนิชา ที่ช่วยรวบรวมข้อมูล และ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผศ. ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ เป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำแนะนำ ที่เป็นประโยชน์หลายประการ ทังยังช่วยปรับปรุงงานวิจัย และ ให้กำลังใจใน การทำวิจัยด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งตลอดมา

              ท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบคุณศิษย์รัก ออทิสติกทุกคนที่มีส่วนช่วย ให้ผู้วิจัยเกิดการเรียนรู้ เรื่องการสอน จนสามารถทำงานวิจัยชิ้นนี้ ได้สำเร็จ

หนังสืออ้างอิง 
ดารณี อุทัยรัตนกิจ 2545 ออทิซึมในประเทศไทย: การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กออทิสติก
      เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง ครู หมอ พ่อแม่ : มิติแห่งการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
      สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ
 
เพ็ญแข ลิ่มศิลา 2548 รู้จัก.. รัก..ช่วยเหลือเด็กออทิสติก
      ฝ่ายผลิตเอกสารและ ตำราโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา
 
เพ็ญแข ลิ่มศิลา 2545 ออทิซึมในประเทศไทย
      เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง ครู หมอ พ่อแม่ : มิติแห่งการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก
      สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ
 
ชาญวิทย์ พรนภดล 2545 จะรู้อย่างไรว่าเด็กเข้าข่ายออทิซึม
      เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการ การประชุมวิชาการระดับชาติ
      โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา
 
ชูศักดิ์ จันทยานนท์ 2542 การเรียนรู้ของเด็กออทิสติก เอกสารประชาสัมพันธ์ลำดับที่ 06/2542
      โรงเรียนอนุบาลจันทยานนท์ กรุงเทพฯ
 
ทิศนา แขมมณี 2545 ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
      สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
สมาคมเพื่อบุคคลแอสเพอร์เกอร์ 2546 กระบวนทัศน์การให้ความช่วยเหลือทางการศึกษากับนักเรียนออทิสติกและ แอสเพอร์เกอร์
      เอกสารอัดสำเนาการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 2 กรุงเทพ
 
สมทรง ตันประเสริฐ (บรรณาธิการ) 2546 คู่มือคุณครูสำหรับช่วยเหลือเด็กออทิสติก
      ชัยเจริญ58, กรุงเทพฯ
 
Gagne, Robert M. 1985 The Conditions of Learning and Theory of Instruction 4th ed.
      New York : Holt, Rinchart and Winston
 
 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและ พัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552: