ร่วมคิดร่วมแก้ไขเด็กพิเศษ
ผศ.อัญชิรา เศรษฐลัทธ์
|
ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ว่าด้วย การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได ้ และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ ของตนเอง ซึ่งย่อมครอบคลุม รวมถึงกลุ่มเด็ก ที่มีความบกพร่องต่าง ๆ เช่น ทางการมองเห็น, ทางการได้ยิน, ทางการสื่อสาร, ทางการเคลื่อนไหว และร่างกาย, ทางอารมณ์ และพฤติกรรม, ทางสติปัญญา, ทางการเรียนรู้, เด็กออทิสติก และความพิการซ้ำซ้อน
ในปัจจุบัน นักวิชาการ นักการศึกษา แพทย์ พ่อแม่ ได้ให้ความสำคัญ ในการศึกษา และช่วยเหลือ เด็กที่มีความบกพร่องมากขึ้น ซึ่งความบกพร่องบางชนิด ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ นักเรียนมักจะแฝงอยู่ นกลุ่มนักเรียนปกติ ซึ่งบางครั้ง เมื่อนักเรียนไม่สนใจเรียน หรือไม่สามารถเรียนได้ ครูไม่เข้าใจ และอาจจะตำหนินักเรียน ว่าเป็น "เด็กเกียจคร้าน หรือ เด็กไม่สนใจเรียน" ครูอาจจะลงโทษนักเรียน ทำให้นักเรียน ที่ถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ แสดงพฤติกรรมออกมา ในลักษณะก้าวร้าว หรือมีปัญหาทางอารมณ์ และในที่สุด นักเรียนจะขาดแรงจูงใจ ในการเรียน ทำให้ขาดโอกาส ในการศึกษา และเป็นปัญหา ของสังคมต่อไป |
|
|
ดังนั้น ถ้าครูได้ศึกษา ถึงพฤติกรรม ของนักเรียน ที่กล่าวข้างต้น อย่างลึกซึ้ง ทำให้ครูผู้สอนเข้าใจ ในตัวเด็กมากขึ้น การที่นักเรียนไม่สนใจ ในการเรียน มิใช่เพราะขี้เกียจเรียน แต่สาเหตุเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง จึงทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ มีพัฒนาการ ด้านการเรียนช้า เพราะสมองของเด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถจัดการ กับข้อมูลที่รับเข้าไป ได้อย่างถูกต้อง แต่ลักษณะโดยทั่วไป ของนักเรียนกลุ่มนี้ สติปัญญาปกติ หรือบางคน อาจจะมีสติปัญญา สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เด็กกลุ่มนี้มีมนุษยสัมพันธ์สื่อสาร กับคนทั่วไปได้
โดยทั่วไป เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ปะปนอยู่ในโรงเรียน หรือสังคม เมื่อครูผู้สอน มีความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับเด็ก ที่มีความบกพร่อง ในการเรียนรู้ ชัดเจนขึ้น ทำให้ช่วยเหลือ อย่างถูกต้อง และโอกาสที่เด็ก จะเรียนรู้ได้มากขึ้น (สุรางค์, 2541: 139-140) เช่น ถ้าได้รับการดูแล ตั้งแต่เด็กอยู่ ชั้น ป.1 และ ป.2 โอกาสที่เด็ก จะเรียนรู้ได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้า เริ่มให้การช่วยเหลือ ในระดับ ชั้น ป.4 โอกาสที่จะเรียนรู้ ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเริ่ม ในระดับ ชั้น ม.1 โอกาสเรียนรู้ ได้แค่ 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ Pierangelo (1994: 172) มีบุคคล ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ได้ถูกวินิจฉัยว่า เป็นบุคคล ที่ไม่สามารถในการอ่าน หรือมีความบกพร่อง ทางการเรียน (students with Learning Disabilities - LD) ตั้งแต่วัยเด็ก เช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein) นักทฤษฎีฟิสิกส์ ถูกไล่ออก จากโรงเรียน โดยอาจารย์กล่าวว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ เป็นนักเรียน ที่เรียนไม่ดี เบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย เข้าสังคมไม่ได้ ไม่เป็นระเบียบ แต่มีความสร้างสรรค์อื่น กว้างไกล นอกจากนั้น ยังมีบุคคลสำคัญ ในด้านต่าง ๆ ที่มีลักษณะ LD และไม่ประสบความสำเร็จ ในการเรียน ในโรงเรียน เช่น Thomas Edison นักประดิษฐ์, Nelson Rockefeller รองประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 41, Niels Bohr นักฟิสิกส์, เป็นต้น (สุรางค์, 2541: 139) |
|
|
|
Albert Einstein |
Thomas Edison |
|
|
Nelson Rockefeller |
Niels Bohr |
|
คำจำกัดความ
|
ผดุง อารยะวิญญู ได้ให้ความหมาย ของเด็ก ที่มีความบกพร่อง ทางด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities : LD) หมายถึง ความบกพร่องทางการเรียนรู้แสดงออกมา ในรูปของปัญหา ด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ และ เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ กล่าวเด็ก LD หรือ เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ เป็นเด็กที่ มีวงจรการทำงานของสมอง ไม่เป็นตามที่ควรจะเป็น เซลล์สมองสมองบางส่วน อยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหา ในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลาย ๆ วิชา ทั้งมีสติปัญญาดี
กล่าวโดยสรุป เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ คือ เด็กที่มีความบกพร่อง ในเรื่องของการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด การคิดคำนวณ ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งกลุ่มนี้ มีปัญหาเรื่องของการเรียนรู้ข้อมูล และแปลข้อมูล ได้ไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วน และเด็กบางคน อาจจะมีความบกพร่อง เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง ก็ได ้ ดังนั้น ทางวินิจฉัยได้เร็ว เด็กก็ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ เด็กสามารถพัฒนาไปได ้ตามศักยภาพ ของตนเอง |
|
|
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
|
ปัญหาด้านทางด้านภาษาไทย
1. การอ่าน
๐ อ่านตะกุกตะกัก
๐ มักอ่านข้ามคำ มีปัญหา การจำพยัญชนะ ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน
เช่น ส และ ล ผ และ ฝ
๐ จับใจความสำคัญ จากเรื่อง ที่อ่านไม่ได้
๐ ไม่สามารถ แยกเสียงสระได้ เช่น แสดง อ่านว่า แส - ลง แกลง อ่านว่า แก - ลง สนิทวงศ์ อ่านว่า สะ-นิ-ทวง
๐ อ่านกลับคำ เช่น จิตใจ อ่านเป็น ใจจิต
2. การเขียน
๐ ลากเส้นวน ที่หัวพยัญชนะ เป็นเวลานาน ไม่รู้จะลาก หัวพยัญชนะเข้า หรือออก จึงลากวนซ้ำไปมา
๐ เขียนตัวพยัญชนะ กลับด้าน เช่น ถ - ภ , ด - ค
๐ เขียนพยัญชนะ ก - ฮ ด้วยตนเองไม่ได้
๐ เขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
๐ เขียนคำตามเสียงอ่าน เช่น สามารถ เป็น สามาด , ขนม เป็น ขะหนม
๐ มีความยากลำบากในการเขียนให้อยู่ในกรอบหรือบนเส้นบรรทัด
3. การฟัง
ไม่เข้าใจคำพูดหรือไม่สามารถจับใจความเรื่องที่ฟังได้
4. การพูด
มักพูดเป็นคำ ๆ ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
5. การคิดคำนวณ
๐ ไม่เข้าใจพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์
๐ ไม่สามารถ คิดคำนวณเลข ที่สลับ ซับซ้อนได้
๐ ไม่สามารถ วิเคราะห์ โจทย์ปัญหาเลขได้
๐ ไม่สามารถ นับเงิน ทอนเงินได้
ปัญหา และพฤติกรรม ที่อาจพบ ในเด็กบกพร่อง ด้านการเรียนรู้ ดังนี้
๐ หลีกเลี่ยง การอ่านการเขียน
๐ ทำสมุดจดการบ้านหายบ่อย ๆ
๐ บางคน อาจต่อต้าน แบบตื้อเงียบ ไม่ทำตาม ที่ครูสั่ง หรือปฏิเสธโดยตรง ทำให้ดูเป็น เด็กเกียจคร้าน
๐ ทำงานสะเพร่า
๐ ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
๐ ออดอ้อน แบบเด็ก ๆ โดยเฉพาะ กรณี ที่มีน้องเล็ก
๐ กลัวครูดุ กลัวเพื่อนล้อว่า อ่านหนังสือช้า
๐ กล่าวโทษ ว่าครูสอนไม่ดี หรือ โทษว่า เพื่อนแกล้ง
๐ รู้สึกเบื่อหน่าย และท้อแท้ง่าย
๐ รู้สึกว่าตนเอง ไม่เก่ง รู้สึกด้อย และ ขาดความมั่นใจ ในตนเอง มักตอบคำถามว่า ทำไม่ได้ ไม่รู้ ไม่ทราบ
๐ ทำตัวเป็นตัวตลก ในห้องเรียน เพื่อกลบเกลื่อน ความรู้สึก ของตนเอง
๐ ก้าวร้าว กับพ่อแม่ ครู หรือเพื่อน |
|
นอกจากนี้ มีข้อมูลเพิ่มเติม จากงานวิจัยหลายชิ้น เกี่ยวกับ เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ทำให้ เรามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ มากขึ้น มีดังนี้
1. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่ พบในระดับ ชั้นประถมศึกษา คิดเป็น 75% ของเด็ก ที่มี ความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ทั้งหมด ที่คัดแยกได้
2. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ เป็นชาย มากกว่าหญิง ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1
3. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ส่วนมาก มีระดับสติปัญญา เฉลี่ยประมาณ 94 -98
4. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ในขั้นรุนแรง จะตรวจพบ ในระดับ ชั้นประถมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน ชั้น ป.3 , ป.4
5. เมื่อเด็กโต และเลื่อนชั้น ไปเรียน ในระดับ มัธยมศึกษา ความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ลดลง และพัฒนาการเรียน ได้ดีขึ้น
6. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ส่วนหนึ่ง (ประมาณ 15%) มีปัญหา ทางพฤติกรรม
7. เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้บางคน มีปัญหา สมาธิสั้น ร่วมด้วย |
|
|
การช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
|
ทางด้านการอ่าน
1. สอนให้นักเรียน รู้จัก ตัวอักษร หัดจับคู่ตัวอักษร ที่เหมือนกัน และแยกตัวอักษร ที่มีลักษณะ คล้ายกัน ให้ได ้เช่น ถ- ภ , ค ด , ผ - ฝ
2. ให้นักเรียน หัดออกเสียง ตามพยัญชนะต้น ตัวสะกด สระเสียงสั้น ยาว
3. อ่านพยัญชนะ หรือ คำคู่กับภาพ จนนักเรียน จำคำได้ จากนั้น ปิดรูป แล้วให้นักเรียนอ่าน เพื่อจำ ตัวพยัญชนะ และ คำให้ได้
4. เขียนพยัญชนะ หรือคำ ให้นักเรียน เขียนตาม พร้อมกับ อ่านออกเสียง ถ้าเป็นคำ ให้สะกดคำ พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด
5. ช่วยให้นักเรียน ฝึกแยก ช่องไฟ ในแต่ละ ประโยค
6. ครูอ่านให้ฟัง และ ให้นักเรียน อ่านตาม อ่านซ้ำคำ ที่อ่านไม่คล่อง จากนั้น ให้อ่านคู่กับครู เมื่อนักเรียน อ่านได้ดีขึ้น ลดระดับเสียงลง และ ให้นักเรียนอ่านเอง
7. เริ่มให้นักเรียน เข้าใจความหมาย ของคำศัพท์ ให้นักเรียน หัดใช ้พจนานุกรม
8. หัดอ่าน เป็นประโยค จากประโยคสั้น ๆ ไปถึง ประโยคยาว ๆ
9. ฝึกการอ่าน จับใจความ จนสามารถ เล่าเรื่อง และ ตอบคำถามได้ (เลือกเรื่อง ที่นักเรียนสนใจ)
10. ถ้านักเรียน อ่านได้ถูกต้อง หรือดีขึ้น ให้คำชมทันที |
|
|
ทางด้านการเขียน
1. ให้นักเรียน อ่านพยัญชนะ หรือ คำที่คู่กับภาพ เพื่อให้นักเรียน จำคำที่สอดคล้อง กับเสียง และภาพ จากนั้น ให้นักเรียน เขียนพยัญชนะ หรือ คำนั้น ๆ
2. ชี้ให้นักเรียน เห็นความแตกต่าง ระหว่าง พยัญชนะ ที่มีรูปร่าง ลักษณะ คล้ายกัน เช่น ถ- ภ ถ มีหัวพยัญชนะ เข้าข้างใน ภ มีหัวพยัญชนะ ออกนอก และ ฝึกเขียนพยัญชนะ ที่คล้ายคลึงบ่อย ๆ เพื่อให้เขียน ได้คล่องขึ้น
3. เมื่อนักเรียน รู้จักพยัญชนะ และสระ มากขึ้น ให้นักเรียน เลือกพยัญชนะ และ สระ มาประสมคำ
4. เมื่อนักเรียน อ่านหนังสือ เจอคำศัพท์ใหม่ ให้อ่านออกเสียง คำศัพท์นั้น โดยสะกดคำ และ เขียนไปพร้อม ๆ กัน
5. สอนตามหลักภาษา อย่างช้า ๆ เพื่อให้นักเรียน เข้าใจ ถ้านักเรียน เขียนผิด ให้นักเรียน คัดคำผิดซ้ำ แล้วใช้วิธี จำ จนขึ้นใจ แล้วเขียนคำศัพท์นั้น อีกครั้ง
6. ใช้วิธี ดู-ปิด-เขียน-ตรวจสอบ จากคำศัพท์ท้ายบทเรียน เป็นวิธี ที่ได้ผลดี
7. ให้นักเรียน แต่งประโยค จากคำศัพท ์ที่นักเรียนรู้จัก หรือ คำที่ครูกำหนด
8. เติมคำ หรือข้อความ ในประโยค ให้สมบูรณ์ หรือให้นักเรียน เรียงประโยคใหม่ ให้ถูกต้อง
9. เตือนนักเรียนล่วงหน้า ให้ระวัง สะกดคำผิด
10.ทบทวนบทเรียน โดยการทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ จากหนังสือหลาย ๆ เล่ม เพื่อให้นักเรียน ไม่เบื่อ |
|
|
ทางด้านวิชาคณิตศาสตร์
1. ให้นักเรียน มีโอกาส ใช้ทักษะ การบวก ลบ คูณ หาร ซึ่งเป็น ทักษะ การคำนวณพื้นฐานบ่อย ๆ เช่น หัดให้นักเรียน นับสมุด ที่ต้องไปแจกเพื่อน ๆ หรือ แบ่งของ ให้เพื่อนในกลุ่ม เชื่อมโยง กิจกรรม ในชีวิตประจำวัน เข้ากับการบวก ลบ คูณ หาร เพื่อนักเรียน จะได้เข้าใจชัดเจน ว่าสิ่งที่ครูสอน ในห้องเรียนนั้น สามารถนำมาใช้ ในชีวิตจริง อย่างไร ทำให้นักเรียน มีความกระจ่าง มากขึ้น
2. เน้นความเข้าใจ มากกว่า การจำ เช่น เลข 3 หมายถึง นักเรียน ต้องเข้าใจถึงของ 3 ชิ้น นักเรียนท่องสูตรคูณได ้ต้องเข้าใจความหมาย ของการคูณ
3. การสอนเลข โดยตัวเลขนั้น สำหรับนักเรียนบางคน อาจเข้าใจได้ยาก เพราะเป็นนามธรรมเกินไป ครูควรทำให้ นักเรียนเห็นของจริง ที่จับต้องได้ก่อน เพื่อช่วยให้ นักเรียนมีภาพในสมอง ที่ชัดเจน เพราะการคิดเลข ได้เก่งนั้น นักเรียนต้องสร้างภาพ ในสมอง ให้ได้ก่อน
4. การสอนนักเรียน เป็นขั้น ๆ โดยเริ่มจาก การใช้ของ ที่เป็นรูปธรรม และจับต้องได้ เช่น วัตถุต่าง ๆ เหรียญบอล แล้วค่อยมาใช้ ของกึ่งรูปธรรม เช่น วาดรูปส้ม ลงในสมุด ตามโจทย์ และในที่สุด นักเรียน ก็จะคิดเลข โดยใช้ตัวเลขโดด ๆ ได้
5. ในนักเรียนบางคน ที่ทำโจทย์เลข ที่มีเฉพาะตัวเลขได้ แต่ไม่สามารถ ทำโจทย์เลข ที่มีข้อความได้ เพราะนักเรียน อาจมีความบกพร่อง ด้านภาษา หรือการอ่าน ทำให้ ไม่สามารถ วิเคราะห์โจทย์ได้ การช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้ จำเป็นต้องแก้ไข ช่วยเหลือความบกพร่อง ด้านการอ่าน การเข้าใจภาษา ร่วมด้วย |
|
|
นอกจากนี้ การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 มักจะมีปัญหา ทางสมาธิสั้น ร่วมด้วย ซึ่งการให้ยา จะเป็นประโยชน์ สำหรับในเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ จำนวนมาก ได้รับประโยชน์ จากการรักษา ด้วยยา แม้ว่ายาเหล่านี้ จะเป็นตัวกระตุ้น ระบบประสาท แต่แทนที่ยาเหล่านี้ จะทำให้เด็ก มีพลังงานพลุ่งพล่านขึ้น กลับให้ผลตรงกันข้าม คือ สามารถทำให้ เด็กสงบลง และ ช่วยพัฒนา ความสนใจ หรือสมาธ ิและความสามารถ ที่จะจดจ่อ ในงาน ให้แก่เด็กได้ และยังช่วยให้เด็ก ควบคุมความผลีผลาม หุนหันพลันแล่น และพฤติกรรม อยู่ไม่สุขอื่น ๆ ของตนเอง ได้อีกด้วย
ผลของยานั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ในเด็กสมาธิสั้น ร่วมกับ ภาวะอยู่ไม่สุข (Attention Deficit Hyperactivity Disorder - ADHD) นั่นคือ ภายในเวลาไม่นาน หลังจาก เด็กรับประทานยา เข้าไป เด็กเหล่านี้ จะเริ่มมุ่งความสนใจ และมีความพร้อม ที่จะเรียนรู้ มากขึ้น มีงานวิจัย ที่ทำโดย ทีมวิจัย ของสถาบันวิจัยทางสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) ของประเทศ สหรัฐอเมริกา และ นักวิจัยอื่น ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า อย่างน้อย ร้อยละ 90 ของเด็กที่อยู่ไม่สุข และไม่มีสมาธิ สามารถที่จะ ได้รับความช่วยเหลือ โดยการใช้ยา ได้
ยานี้ มีประสิทธิภาพ อยู่ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง จะถูกกำจัด ออกจากร่างกาย ภายใน 12 ชั่วโมง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเด็ก จะต้องทำงาน อย่างใกล้ชิด กับครอบครัว และครู ในโรงเรียน เพื่อที่จะปรับระดับของยา และ ตารางการให้ยา อย่างระมัดระวัง เพื่อให้เกิดผลดีที่สุด ปกติแล้ว เด็ก ๆ จะรับประทานยา เพื่อให้ยานั้น ได้ออกฤทธิ์ ระหว่างช่วงเวลาเรียน วิชาที่ยุ่งยาก ที่สุด ต้องใช้สมาธิ มากที่สุด เช่น ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านั้น เป็นยา ไม่ใช่อาหาร ดังนั้น จึงมีผลข้างเคียง ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นผลข้างเคียง ระยะสั้น ผลข้างเคียงดังกล่าว จะมีผล ต่อความต้องการอาหาร ลดลง ดังนั้น เด็กที่ตัวเล็กอยู่แล้ว ก็อาจจะมีปัญหา ในเรื่องของน้ำหนัก เพราะทานอาหาร ได้น้อยลง นอกจากนั้น ยังมีผล ในเรื่องการนอนไม่หลับ อีกด้วย ฉะนั้น การให้ยาเหล่านี้จึงต้องให้ ในตอนเช้า เพื่อที่จะออกฤทธิ์ได้ ในช่วงเวลาเรียน ไม่ควรจะให้ ในตอนเย็น เพราะจะไม่ช่วย ในการเรียน และจะทำให้ มีปัญหา เรื่องการนอนไม่หลับ นอกจากนี้อาจจะมีผลข้างเคียง อย่างอื่น เช่น เด็กบางคน อาจจะปวดศีรษะ จากยา กลุ่มนี้ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว ผลข้างเคียงนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น กับเด็กทุกคน อาจเกิดขึ้น เฉพาะเด็กบางคน ที่อาจจะมีปัญหา ซึ่งต้อง ได้รับการปรับขนาด ของยา หรือถ้าจำเป็น การเปลี่ยนประเภท ของยา ก็จะทำให้ ดีขึ้นได้
นอกเหนือ จากการช่วยเหลือ เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ หรือเด็กที่มีสมาธิบกพร่อง ดังกล่าวแล้วข้างต้น สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กัน คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่โรงเรียน และห้องเรียน ในห้องเรียนนั้น จำนวนครูต่อนักเรียน ต้องมีความเหมาะสม หากจำนวนนักเรียน มากเกินไป เด็กที่มีสมาธิสั้น ก็ไม่สามารถ จะควบคุมสมาธิได้ จะวอกแวกง่าย หากนั่งใกล้ประตู หรือริมหน้าต่าง ก็จะทำให้วอกแวกง่าย เช่นกัน ส่วนคร ูจะต้องใช้ความสามารถอย่างมาก ที่จะจัดกิจกรรม และใช้ภาษา ที่ชักจูง ความสนใจของเด็ก ซึ่งจะช่วยได้ ที่มีสมาธิสั้น นอกจากนั้น การปรับพฤติกรรม เด็กในห้องเรียน โดยใช้วิธี ในทางบวก มักจะได้ผลดีกว่า ใช้วิธีในทางลบ
เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ที่มีอาการสมาธิสั้น ร่วมด้วย หลายคน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนดีขึ้น มาจาก การปรับพฤติกรรม และเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม โดยไม่ต้องใช้ยาเลย ดังนั้น กิจกรรมเหล่านี้ จึงเป็นพื้นฐาน ที่จะต้องกระทำ ซึ่งหากปรับทุกอย่างแล้ว เด็กไม่ดีขึ้น เท่าที่ควรจะเป็น ไม่สามารถเรียนได ้เต็มตามศักยภาพ การช่วยเหลือ โดยการให้ยา อาจเป็นสิ่งจำเป็น |
|
|
แนวทางการจัดการเรียนการสอน
|
การช่วยเหลือ ที่สำคัญที่สุด คือ การจัดการศึกษาพิเศษ ในรูปแบบที่เหมาะสม กับเด็ก ในแต่ละราย โดยอาจจะจัด การเรียนการสอนใน ห้องเสริมวิชาการ ปัจจุบัน ประเทศไทย ยังมีครูการศึกษาพิเศษ ไม่เพียงพอ กับความต้องการ ของเด็ก ดังนั้น การช่วยเหลือ เด็กบกพร่อง ทางด้านการเรียนรู้ จะต้องอาศัย ความร่วมมือ ระหว่างคร ูการศึกษาพิเศษ ครูประจำชั้น นักจิตวิทยา แพทย์ และผู้ปกครอง
(ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู: 2539) ห้องเสริมวิชาการ (resource room) เป็นห้องที่มีขนาดเท่ากับ ห้องเรียน หรือมีขนาดใหญ่ หรือเล็กกว่า ห้องเรียนก็ได้ ในห้องนี้ มีอุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนเอกสาร และหนังสือที่จำเป็น ต้องใช้ในการสอนเด็ก ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ หากห้องนี้ มีขนาดใหญ่ มีเครื่องมือ และอุปกรณ์มาก ให้บริการแก่เด็ก อย่างกว้างขวาง อาจเรียกเป็น ศูนย์วิชาการ (resource center) |
|
|
การจัดการเรียนการสอน
|
การจัดการเรียนการสอน จำเป็นต้องทำ แผนการสอน เฉพาะบุคคล ที่เรียกว่า Individualized Educational Program (IEP) โดยจัดทำเป็นเทอม หรือเป็นปี ก็ได้ ควรเขียนในรูปแบบ ที่เข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้
แผนการสอน เฉพาะบุคคล คือ แผนพัฒนา ที่ครูจัดทำขึ้น เพื่อลงสู่การปฏิบัติ ที่จะมุ่งเน้น ให้นักเรียน มีพัฒนาการ ในด้านใดบ้าง สำหรับนักเรียน คนนั้น ซึ่งจะช่วยให ้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย ที่กำหนดไว ้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล |
|
วัตถุประสงค์ของแผนการเรียนเฉพาะบุคคล
|
1. เพื่อช่วย ให้เด็ก ได้มีโอกาส พัฒนา และเรียนร ู้ตามความสามารถ ของสภาพ ที่แตกต่าง ในแต่ละบุคคล
2. เพื่อใช้ เป็นเครื่องมือ ในการตรวจสอบ และประเมิน ความก้าวหน้า ทางการเรียน และ พัฒนา ของแต่ละบุคคล |
|
กล่าวโดยสรุป การให้ความช่วยเหลือ การจัดการเรียน การสอน เป็นพิเศษ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ก็จะช่วยเด็กได้มาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความรัก ความเข้าใจ กำลังใจ จากพ่อแม่ ครู และบุคคลรอบข้าง จะยิ่งทำให้ชีวิตของเขา เป็นชีวิตที่มีความสุข และทำให้ เขาเกิดความรู้สึก ที่ดีต่อตัวเอง มีความมั่นใจ มีความเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อ และสามารถที่จะ ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ ดังนั้น การช่วยเหลือ แก่เด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ เพื่อที่จะให้เขา ได้รับการศึกษา ที่เหมาะสม ตามศักยภาพของตน และประสบความสำเร็จ ในชีวิตต่อไป |
|
|
ตัวอย่างงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านการเขียน
ชิ้นงานที่ยังไม่พัฒนา
|
|
นักเรียนมีความบกพร่องการเขียน นักเรียนเขียนพยัญชนะไม่แม่นจะวนหัวพยัญชนะ
ช้ำ ไปซ้ำมาอยู่หลาย ๆ ครั้ง
|
ชิ้นงานที่ได้รับการพัฒนาด้านการเขียนแล้ว
|
|
นักเรียนสามารถเขียนพยัญชนะได้ดีขึ้น
|
ตัวอย่างงานของนักเรียนที่มีความบกพร่องของเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์
ชิ้นงานที่ยังไม่พัฒนา
|
|
นักเรียนไม่เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร
|
ชิ้นงานที่พัฒนาแล้ว
|
|
เอกสารอ้างอิง
|
ชาญวิทย์ พรนภดล. หน่วยแพทย์จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น. ภาควิชาเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
เบญจพร ปัญญายง. 2542. คู่มือการช่วยเหลือเด็กบกพร่องด้านการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผดุง อารยะวิญญู. ด้วยหัวใจของครูออทิสติก. http://www.siam-handicrafts.com/webboard/question.asp?QID=3676
มนัสวี พยัคฆนันท์. 2544. การจัดทำ แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล และการจัดทำแผนการสอน เฉพาะ
บุคคล สำหรับบุคคล ที่มีความบกพร่อง ที่ต้องการศึกษาพิเศษนอกระบบ กรุงเทพมหานคร. ศูนย์ส่งเสริม การศึกษานอกโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายพิเศษ กรมสามัญศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 1 - 14
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. 2543. ความบกพร่องในการเรียนหรือแอลดี ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้ รายงานการวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษาเอกสารและข้อมูลทางด้านการแพทย์และการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุรางค์ โค้วตระกูล. 2541. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชิรา เศรษฐลัทธ์. 2543. มาเรียนรู้เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้กันเถอะ. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Prierangelo, R. 1994. A Survival kit For the Special Education Teacher. New York: The Center For Applied Research in Education. |
|
|