การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้วยโครงการ พี่พบน้อง
ผศ.อัญชิรา เศรษฐลัทธ์
|
สภาพนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มักจะปะปนอยู่ในห้องเรียนทั่วไป หากครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับนักเรียน ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้จะทำให้สามารถช่วยเหลือได้เร็ว นักเรียนมีโอกาสดีขึ้น จากการศึกษาของ Prierangelo (1994) พบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่อง หากได้รับการช่วยเหลือ ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 หรือ ป.2 มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ในการเรียนรู้ถึง ร้อยละ 80 หากนักเรียนได้รับการช่วยเหลือ เมื่ออยู่ระดับชั้น ป.4 มีโอกาสเรียนรู้ดีขึ้น ร้อยละ42 และหากนักเรียนได้รับการช่วยเหลือ เมื่ออยู่ในระดับชั้น ม.4 มีโอกาสเรียนรู้ดีขึ้น เพียงร้อยละ 5 ถึง 10 ดังนั้นการจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทุกคน สามารถเรียนรู้ และพัฒนาได้ ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของเขา ดังนั้นแนวทางการจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงใช้หลักสูตรปกติเป็นพื้นฐาน แล้วปรับวิธีสอนให้เหมาะสม กับลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของตนเอง |
|
|
โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา เห็นความสำคัญ ของการจัดการศึกษาพิเศษ ให้กับเด็ก ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ในปี พ.ศ. 2527 จึงได้ริเริ่ม จัดการเรียนการสอน ให้กับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยแยกนักเรียนออกมา เรียนในห้องเสริมวิชาการ ในวิชาทักษะ 3 วิชา คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ขั้นตอนในการรับนักเรียน เข้าเรียนในโครงการ การศึกษาพิเศษ ดังนี้ |
|
1. อาจารย์ประจำชั้นและ อาจารย์ผู้สอน รวบรวมข้อมูลผลการเรียน และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน ให้ศูนย์บริการจิตวิทยาและแนะแนว
2. ศูนย์บริการจิตวิทยาและ แนะแนว มีจดหมายถึง ผู้ปกครอง เพื่อขออนุญาตศึกษา นักเรียนเป็นรายกรณี โดยอยู่ใน ความดูแล ของนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน
3. แพทย์วินิจฉัยว่า นักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
4. คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ พิจารณารับนักเรียนเข้าโครงการ การศึกษาพิเศษ
5. ผู้ปกครองลงนามยินยอม ให้นักเรียนเข้าโครงการการศึกษาพิเศษ
6. อาจารย์ผู้สอนโครงการการศึกษาพิเศษ ประเมินความสามารถในการเรียนรู้ ของนักเรียน ตามรายวิชา ก่อนเริ่มเรียน เพื่อจัดทำแผนการสอน เป็นรายบุคคล โดยปรับกระบวนการเรียน การสอน และสื่อการเรียนให้เหมาะสม กับนักเรียนมากที่สุด |
|
|
ปัญหา
นักเรียนโครงการ การศึกษาพิเศษบางคนตั้งใจเรียน แต่ไม่สามารถติดตามบทเรียนได ้อย่างครบถ้วน หรือนักเรียนบางคน มีพฤติกรรมการเรียนที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีความรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ อย่างเต็มความสามารถ อาจารย์โครงการการศึกษาพิเศษ จึงประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทาง ในการแก้ปัญหาว่า ทำอย่างไร นักเรียนโครง การการศึกษาพิเศษ จึงจะมีแรงจูงใจในการเรียน |
|
แนวทางแก้ปัญหา
โดยทั่วไป นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ มักมีปัญหา ทางด้าน การอ่าน การเขียน การฟัง การพูด การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการรับรู้ข้อมูล แปลข้อมูลได้ไม่ถูกต้องและครบถ้วน โดยนักเรียนบางคน อาจมีปัญหาพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น ไม่ตั้งใจเรียน ไม่สนใจเรียน และไม่มีความรับผิดชอบต่อการบ้าน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งอาจารย์ผู้สอนโครงการการพิเศษ มักประสบปัญหา ในการสอนนักเรียนทุกระดับชั้น อาจารย์แต่ละคน พยายามหาวิธีสอน หรือจัดกิจกรรม ที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจ ตั้งใจ และสนใจการเรียน แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร หรือได้ผล เป็นบางคน |
โครงการ พี่พบน้อง เป็นโครงการหนึ่ง ที่คณะอาจารย์โครงการการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็ก ที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้จัดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน เกิดแรงจูงใจ ในการเรียน โดยเชิญรุ่นพ ี่ที่เคยเป็นนักเรียน โครงการการศึกษาพิเศษ ที่จบการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีท ี่6 และกำลังศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษา มาเล่าประสบการณ์ต่างๆ เมื่อครั้งที่เคยเรียนโครงการการศึกษาพิเศษ ให้น้องที่กำลังศึกษาโครงการการพิเศษ ในปัจจุบันฟัง |
โครงการ พี่พบน้อง ที่จัดขึ้น ในปีการศึกษา 2550 นี้ เป็นการจัดโครงการครั้งที่ 2 เนื่องจากการจัดโครงการครั้งที่ 1 เมื่อปีการศึกษา 2549 นั้น สามารถกระตุ้นให้นักเรียน เกิดแรงจูงใจ ในการเรียนได้เป็นอย่างดี โดยจัดขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2551 ณ ห้องประชุมสมาคมนักเรียนเก่า เวลา 16.00 - 17.30 น. |
การจัดโครงการครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดี จากพี่ศิษย์เก่าที่ที่ขณะนี้ กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยของรัฐ และมีผลการเรียนอยู่ในระดับที่ดี จำนวน 3 คน ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นนักเรียนโครงการการศึกษาพิเศษ ตั้งแต่ชั้น ป.3 ม.6 คนที่ 1 กำลังศึกษา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาพลศึกษา คนที่ 2 ศึกษาที่สถาบันราชภัฏพระนคร คณะมนุษยศาสตร์ครุศาสตร์ สาขาดนตรีไทย คนที่ 3 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ |
บรรยากาศ การเล่าประสบการณ์ การเป็นนักเรียนโครงการการศึกษาพิเศษ ของพี่ เป็นเรื่องราวที่เรื่องความประทับใจ ให้น้องๆ ด้วยความรู้สึกที่ว่า เราเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้น ในขณะที่ พี่เล่าเรื่องความไม่ตั้งใจเรียนของพี่ น้องๆ ก็จะพยักหน้ารับ ยิ้ม แสดงความรู้สึกว่า เป็นเช่นเดียวกับพี่ หรือแม้แต่ช่วง ที่พี่พูดเรื่อง พี่เคยท้อ ที่ไม่สามารถเรียนรู้ ได้เท่าเพื่อนคนอื่นๆ ในห้องเรียนปกติ น้องๆ ก็แสดงอาการ เห็นด้วย |
เมื่อพี่พูดจบ เป็นโอกาสที่น้องๆ ได้ซักถาม ข้อข้องใจต่างๆ จากพี่ ซึ่งพี่ก็ตอบคำถาม ด้วยความเต็มใจ พร้อมกับให้กำลังใจน้องๆ ทุกคน ดังนั้นเมื่อถึงบทสรุป ที่พี่ให้ข้อคิดแก่น้องๆ ว่า เราควรตั้งใจเรียน ไม่ท้อถอย ควรมีความมุมานะ บากบั่น เพื่ออนาคต ความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า และภาคภูมิใจของตนเอง และครอบครัว จึงสามารถสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดกับน้องๆ ได้เป็นอย่างดี |
|
|
"พี่ๆ เล่าประสบการณ์ น้องๆ นั่งฟัง อย่างตั้งใจ" |
|
|
ผลจากการประเมินการเข้าร่วมโครงการ พี่พบน้อง
หลังจากนักเรียนเข้าร่วมโครงการพี่พบน้อง คณะกรรมการดำเนินโครงการ ให้นักเรียน ตอบแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ เกี่ยวกับประโยชน ์ที่ได้รับจากโครงการพี่พบน้อง รายละเอียด แสดงดังตารางที่ 1 |
ตารางที่ 1 ความถี่และร้อยละของความคิดเห็น ที่นักเรียนได้รับประโยชน์จากโครงการ พี่พบน้อง
หัวข้อประเมิน |
ระดับความคิดเห็น |
มาก |
ปานกลาง |
น้อย |
ความถี่ |
ร้อยละ |
ความถี่ |
ร้อยละ |
ความถี่ |
ร้อยละ |
1. ได้รับทราบแนวทางการเรียนและการปฏิบัติตน ของนักเรียน
ในโครงการการศึกษาพิเศษ |
20 |
80 |
5 |
20 |
- |
- |
2. ได้รับทราบแนวทางการศึกษาต่อ ในระดับมัธยมศึกษาและ
อุดมศึกษา |
18 |
72 |
6 |
24 |
1 |
4 |
3. ได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากรุ่นพี่ ที่มาเป็นวิทยากร |
16 |
64 |
9 |
36 |
- |
- |
4. สามารถนำความรู้ที่ได้ มาปรับใช้กับตนเอง |
15 |
60 |
10 |
40 |
- |
- |
5. ความเหมาะสมของ วัน/เวลา/สถานที่ ในการจัดโครงการ
พี่พบน้อง |
12 |
48 |
13 |
52 |
- |
- |
|
จากข้อมูลในตารางที่ 1 พบว่า นักเรียนโครงการการศึกษาพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 25 คน ที่เข้าร่วมโครงการ พี่พบน้อง มีความคิดเห็นในระดับมาก ในหัวข้อประเมิน 4 รายการ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ได้รับทราบแนวทางการเรียน และการปฏิบัติตนของนักเรียนในโครงการศึกษาพิเศษ (ร้อยละ 80) รองลงมาคือ นักเรียนได้ทราบแนวทางการศึกษาต่อ ในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา (ร้อยละ 72) ได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ จากรุ่นพี่ที่มาเป็นวิทยากร (ร้อยละ 64) และสามารถนำความรู้ที่ได้รับ มาปรับใช้กับตนเอง (ร้อยละ 60) ส่วนหัวข้อประเมินที่นักเรียนมีความคิดเห็นว่า อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความเหมาะสมของวัน/ เวลา สถานที่ ในการจัดโครงการ พี่พบน้อง (ร้อยละ 52) |
นักเรียนมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ดังนี้
- อยากให้จัดโครงการ พี่พบน้อง อีกในปีต่อๆไป
- ควรเริ่มประชุมเวลา 16.00 17.00 น.
- พี่ที่เป็นวิทยากร พูดดีมาก น่าสนใจ และเป็นสถานการณ์ที่ดี |
นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็น แบบปลายเปิด โดยเขียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เกี่ยวกับประโยชน์ของโครงการ พี่พบน้อง และ นำข้อเขียนของนักเรียน มาวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าความถี่ และค่าร้อยละ แสดงดังตารางที่ 2 |
|
ตารางที่ 2 ความถี่และร้อยละ ของความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ พี่พบน้อง
ความคิดเห็นของนักเรียน |
ความถี่ |
ร้อยละ |
1. แนวทางในการปฏิบัติในเวลาเรียนห้องโครงการ |
7 |
35 |
2. มีความรับผิดชอบต่อการเรียนและเข้าเรียนให้ตรงเวลา |
7 |
35 |
3. กำลังใจและแรงบันดาลใจให้ตั้งใจ |
6 |
30 |
สรุป |
20 |
100 |
|
จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับมากที่สุด คิดเป็น ค่าร้อยละเท่ากัน ในการได้แนวทางการปฏิบัติ ในเวลาเรียนห้องโครงการการศึกษาพิเศษ เกิดความรับผิดชอบต่อการเรียน และเข้าเรียนให้ตรงเวลา (ร้อยละ 35) และมีกำลังใจ และแรงบันดาลให้ตั้งใจเรียน คิดเป็นร้อยละ 30 นอกจากนั้นจากการสังเกตของผู้วิจัย หลังจากนักเรียนเข้าร่วมโครงการ พี่พบน้อง นักเรียนส่วนใหญ่มีการปรับปรุงพฤติกรรม และพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น มีความตั้งใจ รับผิดชอบงานต่างๆ และเข้าเรียนตรงเวลา ซึ่งมีนักเรียนหลายๆ คน พูดว่า เราจะพัฒนาตนเองโดยตั้งใจเรียนให้เหมือนพี่ๆ และเราจะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของทุกคน |
|
ตัวอย่างผลงานเขียนแสดงความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโครงการ พี่พบน้อง |
|
|
ตั้งใจเรียนมากขึ้น
หลังเข้าร่วมกิจกรรมพี่พบน้อง |
|
|
บรรณานุกรม
Prierangelo, R. 1994. A Survival Kit for the Special Education Teacher. New York : The Center For Applied Research in Education.
|