bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษ

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

ผศ. ระพีพร ศุภมหิธร

รูปแบบการจัดการศึกษา ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
   โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษา เพื่อสนองความแตกต่าง ระหว่างบุคคล จึงได้จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ แบ่งเป็น 3 โครงการ ได้แก่ โครงการการศึกษาพิเศษ 1 จัดสำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โครงการการศึกษาพิเศษ 2 จัดสำหรับนักเรียนออทิสติกและโครงการ การศึกษาพิเศษ 3 จัดสำหรับนักเรียน ที่มีวุฒิภาวะไม่สมวัย  โดยจัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ มีรูปแบบของการจัดการศึกษา แต่ละโครงการดังนี้

 

1.  โครงการการศึกษาพิเศษ 1
   จากหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ดังกล่าว โครงการการศึกษา พิเศษ (พ.1) ในศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน

ดังนี้
1)  การรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาพิเศษ
          1.1   ขั้นตอนการรับนักเรียน

               1. อาจารย์ประจำชั้นหรืออาจารย์ผู้สอนรวบรวมข้อมูล

               2. ศูนย์บริการจิตวิทยาและแนะแนว  ประเมินนักเรียนด้วยกระบวนการทางจิตวิทยา

               3. นักจิตวิทยาหรือแพทย์วินิจฉัยว่านักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้

               4. คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

พิจารณารับนักเรียนเข้าโครงการฯ

               5. ผู้ปกครองลงนามยินยอม

          1.2   แนวทางการจัดการเรียนการสอน

               1. นักเรียนเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ  โดยมีอาจารย์จากโครงการช่วยดูแลใน

เรื่องการทำความเข้าใจในบทเรียนเพิ่มเติม หรือช่วยเหลือในการทำกิจกรรมอื่นๆ

               2. นักเรียนเรียนร่วมกับนักเรียนปกติในวิชาต่างๆ ยกเว้นวิชาทักษะต้องออกมา

เรียนในห้องโครงการการศึกษาพิเศษ (วิชาทักษะ  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์)

2)  รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
          2.1  ทดสอบพื้นฐานของนักเรียนในวิชาทักษะ
          2.2  จัดหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน  โดยยึดหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียน (ไม่มีการบูรณาการระหว่างวิชานอกจากบูรณาการในวิชานั้นๆ)
          2.3  ดำเนินการสอนโดยเน้นแผนการสอนเป็นรายบุคคล (IEP)  ในวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์  และภาษาอังกฤษ  เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของตัวเอง
          2.4  ประเมินผลการเรียนเป็นระยะ  และรวมถึงการประเมินผลปลายภาคและปลายปี  เพื่อสรุปความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล

 

     ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินผลการเรียน

ตาม IEP โดยผู้สอนต้องประเมิน ทั้งคุณลักษณะ ทักษะกระบวนการและผลสอบ/ผลงาน โดยกำหนดระดับคะแนน

ดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษา ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
   โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้คำนึงถึงการจัดการศึกษา เพื่อสนองความแตกต่าง ระหว่างบุคคล จึงได้จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ แบ่งเป็น 3 โครงการ ได้แก่ โครงการการศึกษาพิเศษ 1 จัดสำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โครงการการศึกษาพิเศษ 2 จัดสำหรับนักเรียนออทิสติกและโครงการ การศึกษาพิเศษ 3 จัดสำหรับนักเรียน ที่มีวุฒิภาวะไม่สมวัย  โดยจัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็ก ที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ มีรูปแบบของการจัดการศึกษา แต่ละโครงการดังนี้

 

1.  โครงการการศึกษาพิเศษ 1
   จากหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ดังกล่าว โครงการการศึกษา พิเศษ (พ.1) ในศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน

ดังนี้
1)  การรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการการศึกษาพิเศษ
          1.1   ขั้นตอนการรับนักเรียน

               1. อาจารย์ประจำชั้นหรืออาจารย์ผู้สอนรวบรวมข้อมูล

               2. ศูนย์บริการจิตวิทยาและแนะแนว  ประเมินนักเรียนด้วยกระบวนการทางจิตวิทยา

               3. นักจิตวิทยาหรือแพทย์วินิจฉัยว่านักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้

               4. คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

พิจารณารับนักเรียนเข้าโครงการฯ

               5. ผู้ปกครองลงนามยินยอม

          1.2   แนวทางการจัดการเรียนการสอน

               1. นักเรียนเรียนร่วมกับนักเรียนปกติ  โดยมีอาจารย์จากโครงการช่วยดูแลใน

เรื่องการทำความเข้าใจในบทเรียนเพิ่มเติม หรือช่วยเหลือในการทำกิจกรรมอื่นๆ

               2. นักเรียนเรียนร่วมกับนักเรียนปกติในวิชาต่างๆ ยกเว้นวิชาทักษะต้องออกมา

เรียนในห้องโครงการการศึกษาพิเศษ (วิชาทักษะ  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์)

2)  รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
          2.1  ทดสอบพื้นฐานของนักเรียนในวิชาทักษะ
          2.2  จัดหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน  โดยยึดหลักสูตรแกนกลางของโรงเรียน (ไม่มีการบูรณาการระหว่างวิชานอกจากบูรณาการในวิชานั้นๆ)
          2.3  ดำเนินการสอนโดยเน้นแผนการสอนเป็นรายบุคคล (IEP)  ในวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์  และภาษาอังกฤษ  เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของตัวเอง
          2.4  ประเมินผลการเรียนเป็นระยะ  และรวมถึงการประเมินผลปลายภาคและปลายปี  เพื่อสรุปความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล

 

     ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินผลการเรียน

ตาม IEP โดยผู้สอนต้องประเมิน ทั้งคุณลักษณะ ทักษะกระบวนการและผลสอบ/ผลงาน โดยกำหนดระดับคะแนน

ดังนี้

 

ประเภท

การเรียนการสอน

ผลการเรียน

คุณ-
ลักษณะ

ทักษะ
กระบวนการ

ผลสอบ
ผลงาน

เฉลี่ย

 

 

 

1.

นักเรียนแยกมาเรียนในวิชาทักษะ
3 วิชา คือ
ภาษาไทย  คณิตศาสตร์ 
และภาษาอังกฤษ
(เนื้อหาตามหลักสูตรปกติ
แต่อธิบายเสริมเพิ่มเติม)
ประเมินผลตามเกณฑ์นักเรียนปกติ

ไม่เกิน 3

1-4

0-4

 

 

 

 

2.

นักเรียนแยกมาเรียนในวิชาทักษะ
3 วิชา คือ
ภาษาไทย  คณิตศาสตร์ 
และภาษาอังกฤษ
(ปรับเนื้อหาให้เหมาะสม
กับศักยภาพของนักเรียน)
ประเมินผลตามสาระการเรียนรู้ที่จัดให้

ไม่เกิน 2

1

0.1

0.1
หรือ
ไม่เกิน
1.24

 

 

หมายเหตุ  อัตราส่วนระหว่างคุณลักษณะ  :  ทักษะกระบวนการ :  ผลสอบ/ผลงานให้ใช้เช่นเดียวกับ หลักสูตรปกติ

 

3)  การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
          3.1  การให้การศึกษาและการทำความเข้าใจแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อให้ทราบถึงหลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน และประโยชน์ที่ทุกฝ่าย จะได้รับ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากความเข้าใจและเจตคติของบุคคลที่อยู่แวดล้อมเด็กกลุ่มนี้  มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้
          3.2  มีการประชุมอาจารย์ในโครงการฯ ทุกสัปดาห์  เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะ ของนักเรียนแต่ละคน  การแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  แนวทางที่ควรปฏิบัติต่อนักเรียน วิธีการจัดการ เรียนการสอน รวมทั้งบทบาทของอาจารย์ในโครงการฯที่ปฏิบัติงานในห้องเรียนปกติ
          3.3  เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่   จะมีการรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของนักเรียนแต่ละคนไปที่ ประชุมระดับชั้น เพื่อให้อาจารย์ทั้งระดับได้รู้จักนักเรียนเบื้องต้น ทำให้ง่ายต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป

          3.4  มีการพัฒนาอาจารย์ในโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง  ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย  ตลอดจนส่งอาจารย์ไปฝึกอบรมหรือศึกษาต่อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

4)  การประสานงานและความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง
          4.1  อาจารย์ในโครงการฯ และผู้ปกครอง  ประชุมร่วมกันปีการศึกษาละ 2 ครั้ง  เป็นการประชุม กลุ่มย่อย ทีละระดับชั้น เพื่ออภิปรายถึงพัฒนาการและปัญหาของนักเรียนแต่ละคน ตลอดจนวางแผนร่วมกันในการ แก้ไขปัญหา  การประชุมดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะก่อให้เกิดความเข้าใจดีต่อกันระหว่างบ้านและ โรงเรียน ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
          4.2  นักจิตวิทยาโรงเรียน  ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา โดยสังเกตการสอนของครูและพฤติกรรมนักเรียน เป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออภิปรายพัฒนาการและปัญหาของนักเรียน รวมทั้งปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานของอาจารย์ในโครงการฯ ช่วยให้อาจารย์สามารถวางแผนในการแก้ไขปัญหาได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และนักจิตวิทยาโรงเรียนจะเป็นผู้ประสานงานกับจิตแพทย์ในกรณีที่จำเป็น

 

5)  กิจกรรมเสริมหลักสูตร
          5.1  โครงการพัฒนาทักษะชีวิต  เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ มีสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีต่อกัน  ได้ข้อคิดจากกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดความสุขสนุกสนาน
          5.2  โครงการพี่พบน้อง  เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากพี่ๆ  ที่เคยศึกษาอยู่ในห้อง โครงการการศึกษาพิเศษมาเล่าประสบการณ์  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน  ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการเรียนและการทำงาน

 

2.  โครงการการศึกษาพิเศษ 2
                   โครงการการศึกษาพิเศษ 2  เป็นโครงการที่จัดให้กับ นักเรียนออทิสติกในโครงการ ความร่วมมือทางวิชาการ และทางการวิจัยการจัดการศึกษาพิเศษ ระหว่างโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์กับโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          1.  เพื่อจัดการศึกษาที่ทัดเทียมกัน  ให้แก่เด็กที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษจำนวนหนึ่งได้มี โอกาสศึกษาร่วมกับเด็กปกติ
          2.  เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันทางการศึกษา และสถาบันทางการแพทย์
          3.  เพื่อศึกษาพัฒนาการของเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เมื่อได้รับการศึกษาร่วมกับ
เด็กปกติ

          4.  เพื่อพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพ  ของการจัดการศึกษาพิเศษในโรงเรียนปกติ

 

1)   การรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการฯ
ขั้นตอนการพิจารณารับนักเรียน  มีเกณฑ์ดังนี้
1.1     รับเฉพาะเด็กที่มีสภาวะผิดปกติหลัก 4 ด้าน  คือผิดปกติด้านพัฒนาการ  พฤติกรรมชีวจิตวิทยา  และอารมณ์  แต่ต้องไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วย
1.2     เด็กต้องผ่านการตรวจรักษาอย่างละเอียดโดยจิตแพทย์  ในด้านร่างกาย พัฒนาการและสภาวะทางจิต  โดยเด็กทุกคน ได้รับการตรวจทางด้านประสาทวิทยา  การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram – EEG)  และการตรวจการมองเห็นและได้ยิน
1.3     นักจิตวิทยาโรงเรียนประเมินนักเรียนอย่างละเอียด  (Comprehensive assessment)  ซึ่งประกอบด้วย การประเมินความสามารถทางสติปัญญา  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะทางสังคม และพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เพื่อนำผลการประเมิน ทั้งหมดมาเป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนการศึกษา เฉพาะนักเรียนแต่ละคน(Individualized  Education  Plan – IEP) 
1.4     รับเด็กเข้าศึกษาในโครงการฯ ปีละ 5 คน  เฉพาะชั้นเตรียมประถมศึกษา  มีอายุระหว่าง 5-7 ปี  และศึกษาต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยเป็นไปตามกฎหมายการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ
1.5     เด็กได้รับการบำบัดรักษาทางการแพทย์ และการศึกษาพิเศษ จากโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่วัยก่อนเข้าเรียน จนมีความพร้อมทั้งในด้านการเรียนและพฤติกรรมใน ระดับที่พอจะเรียน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้

1.6     คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ  เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน เข้าศึกษา  โดยพิจารณาจากผลการวินิจฉัยทางด้านจิตเวช  ผลการประเมินทางด้านจิตศึกษาและความเต็มใจ ของผู้ปกครอง

 

2)  แนวทางการจัดชั้นเรียน
2.1     จัดเตรียมอาจารย์สำหรับสอน ช่วยเหลือและดูแลนักเรียน อัตราส่วนนักเรียน 2 คน : อาจารย์ 1 คน
2.2     นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินทางจิตวิทยา  ความพร้อมทางด้านการศึกษา  และการวินิจฉัยทาง การแพทย์ ดังนั้นจึงสามารถแบ่งนักเรียนออกเป็น  3   กลุ่ม ดังนี้

 

กลุ่มที่  1  นักเรียนมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย  ถึงเหนือเกณฑ์เฉลี่ยนักเรียนกลุ่มนี้ สามารถเรียนรู้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรปกติ  แต่วิธีการเรียนรู้ หรือการจัดการเรียนรู้  ต้องปรับวิธีการโครงสร้าง ทางกายภาพ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของ นักเรียน

กลุ่มที่  2  นักเรียนมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย   นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้งหมด  เพราะฉะนั้น จึงต้องปรับทั้งมาตรฐานการเรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ และการศึกษาเพื่อเตรียมตัวสู่การฝึกอาชีพ

กลุ่มที่  3   นักเรียนมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยค่อนข้างมาก  ไม่สามารถปรับใช้มาตรฐานการเรียนรู้ ของนักเรียนปกติได้  ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งเน้นพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อการดำรงชีวิตในสังคม อย่างมีความสุข

2.3     การจัดชั้นเรียนสำหรับนักเรียน
                   -  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2  จะเรียนในห้องเรียนของโครงการฯ โดยเฉพาะ เป็นการช่วยเหลือในการปรับตัวของนักเรียน  ที่เพิ่งเปลี่ยนจากระดับอนุบาลมาเรียนในระดับ ประถมศึกษา ในด้านการพัฒนาทางด้านการสื่อสาร ทักษะสังคม ปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และเตรียมตัวนักเรียน ให้พร้อมก่อนเข้าสู่ห้องเรียนปกติในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3    
                   -   นักเรียนจะเข้าเรียนรวมกับห้องเรียนปกติ เฉพาะวิชาพลศึกษา ทัศนศิลป์  ดนตรี และนาฏศิลป์ สนทนาภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการศึกษาค้นคว้า งานช่าง งานประดิษฐ์  และกิจกรรมอิสระพัฒนาตน ทั้งนี้จะมีอาจารย์โครงการฯ ติดตามและให้ความช่วยเหลือ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถติดตามบทเรียนได้ทัน และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเด็กปกติ
                   -   ในวิชาอื่นๆ  ที่นักเรียนต้องเรียนในห้องเรียนของโครงการฯ อาจารย์ผู้สอนจะปรับ สาระการเรียนรู้  ตลอดจนการวัดและประเมินผลให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน
                   -   นักเรียนในโครงการฯ ทุกคน มีโอกาสเข้าร่วมทุกกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัด เช่นเดียวกับนักเรียนปกติ

                  

-   นักเรียนจะเข้าเรียนรวมในห้องเรียนปกติตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  เป็นต้นไป  โดยมีอาจารย์โครงการฯ ติดตามและให้ความช่วยเหลือ  ในอัตราส่วนนักเรียน 2-3 คน : อาจารย์ 1 คน

                  

 

                  

3)  รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
          โครงการการศึกษาพิเศษ 2  แบ่งรูปแบบและแนวทางปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล  สำหรับนักเรียนของโครงการ เป็น  3 กลุ่ม  ตามความสามารถทางสติปัญญา และการเรียนรู้ ดังนี้

 

          กลุ่มที่  1  นักเรียนเรียนรวมในห้องเรียนปกติทุกรายวิชา
                   นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีความสามารถทางสติปัญญา  และการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  เข้าเรียนรวมในห้องเรียนปกติทุกรายวิชา  นักเรียน เรียนตามหลักสูตรปกติ  วัดและประเมินผลตามเกณฑ์นักเรียนปกติ  เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียนเป็นไปตาม หลักสูตรปกติ

 

          กลุ่มที่  2  นักเรียนเรียนรวมในห้องเรียนปกติบางรายวิชา
                   แบ่งออกเป็น  2  กลุ่ม   คือ
          2.1  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่  2  ที่มีความสามารถทางสติปัญญา และการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย  หรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  แยกเรียนในห้องเรียนโครงการฯ  ในวิชา  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  งานบ้านและงานเกษตร  และทักษะชีวิต  วัดและประเมินผลการเรียนโดย
                   2.1.1  นักเรียนเรียนสาระการเรียนรู้  ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และใช้ข้อสอบเหมือน นักเรียนปกติ  แต่ประเมินผลโดยใช้คะแนนสอบ และผลงานโดยคิดคะแนนคุณลักษณะ  และทักษะกระบวนการ  ตามความสามารถของนักเรียน  เนื่องจากนักเรียนออทิสติกแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะ และแตกต่างกัน เป็นรายบุคคล  จึงใช้แบบบันทึกพฤติกรรมร่วมในการประเมินผลด้วย
                   2.1.2  ประเมินผลเป็นรายปี  ประกอบด้วย  ระดับคะแนนระหว่างภาคต้น ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2  ระดับคะแนนระหว่างภาคปลายครั้งที่ 1  ครั้งที่  2  และสรุปผลการเรียนตลอดปี  ซึ่งในการสอบผู้สอนจะสอบ นักเรียนเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย  2-3 คน  บางรายจะใช้วิธีสอบปากเปล่า อ่านข้อสอบให้ ยืดหยุ่นเวลา ในการสอบแล้วแต่กรณี  โดยมีระดับคะแนน  0-4
                   สำหรับวิชาพลศึกษา  ทัศนศิลป์  ดนตรีและนาฏศิลป์  สนทนาภาษาอังกฤษ   งานช่าง-งานประดิษฐ์  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทักษะการค้นคว้า  กิจกรรมอิสระและพัฒนาตน  นักเรียนจะเข้า เรียนรวมในห้องเรียนปกติ  วัดและประเมินผลตามมาตรฐานการเรียนรู้และเกณฑ์ปกติ
          2.2  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีความสามารถทางสติปัญญาและ การเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  มีความสามารถต่ำกว่านักเรียนปกติ  เรียนรวมในห้องเรียนปกติ เป็นส่วนใหญ่  ยกเว้นวิชาทักษะ ได้แก่ ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ หรือในรายวิชาที่นักเรียนไม่สามารถเรียน ตามเนื้อหาหลักสูตรปกติได้  จัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล  ออกเป็น 2  กลุ่ม   คือ
                   2.2.1  นักเรียนเรียนตามหลักสูตรปกติ  แต่แยกเรียนกลุ่มย่อย เพื่ออธิบายเสริม  จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ วัดและประเมินผลตามเกณฑ์นักเรียนปกติ ดังนี้
                   คุณลักษณะ               ระดับคะแนน              ไม่เกิน  3
                   ทักษะกระบวนการ       ระดับคะแนน              1 – 4
                   ผลสอบ / ผลงาน        ระดับคะแนน              0 – 4
                   2.2.2  นักเรียนเรียนตามเนื้อหาเฉพาะที่ปรับให้เหมาะสมตามความสามารถ / ความต้องการ จำเป็นพิเศษของนักเรียน  วัดและประเมินผลตามพัฒนาการและความสามารถของนักเรียน ดังนี้

                   คุณลักษณะ               ระดับคะแนน              ไม่เกิน  2
                   ทักษะกระบวนการ       ระดับคะแนน                        1
                   ผลสอบ / ผลงาน        ระดับคะแนน              0 – 1
                                                คะแนนเฉลี่ย             1  หรือไม่เกิน 1.24

                   เกณฑ์การเลื่อนชั้นเรียน  เป็นลักษณะของการติดตามชั้นเรียน  การประเมินและการตัดสิน เป็นกรณีพิเศษ โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษ  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

 

          กลุ่มที่  3   นักเรียนที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง
                   นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีความสามารถ ทางสติปัญญา และการเรียนรู้ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมาก  ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามหลักสูตรปกติ  นักเรียนเรียนตามหลักสูตร การศึกษาพิเศษ  มุ่งเน้นการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข การวัดและประเมินผล จะเป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized  Education Plan : IEP)  ของนักเรียนแต่ละคน
                   ส่วนรายวิชาที่นักเรียน เรียนรวมกับนักเรียนปกติ  เช่น พลศึกษา  ศิลปะ  ดนตรี  กิจกรรมอิสระพัฒนาตน  ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียน  บางคนสามารถวัด และประเมินผลตามเกณฑ์ ปกติได้  หากไม่สามารถวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ปกติ จะพิจารณาจากพัฒนาการและความก้าวหน้า ของนักเรียนเป็นสำคัญ
                   เกณฑ์การเลื่อนชั้น  เป็นลักษณะของการติดตามชั้นเรียน  เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสพัฒนา ทักษะทางสังคม กับกลุ่มเพื่อนที่อยู่ในวัยเดียวกัน  การประเมินผล และการตัดสินเป็นกรณีพิเศษ โดย คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ  โรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
                   สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน  และการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3 – มัธยมศึกษาปีที่ 6  มีวิธีการดังนี้
          -   ในการส่งนักเรียนเข้าเรียนรวมเต็มเวลา ในห้องเรียนปกติ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไปนั้น  ต้องมีการเลือกห้องเรียน  ที่อาจารย์ประจำชั้น และอาจารย์ผู้สอนวิชาต่างๆ มีความเข้าใจ ยินดีและเต็มใจ ที่จะทำงานกับเด็กพิเศษ
          -   มีการประชุมระดับชั้นก่อนเปิดเทอม  ในปีการศึกษาใหม่  เพื่อรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของนักเรียน แต่ละคน  ให้อาจารย์ในระดับได้ทราบ เพื่อทำความเข้าใจและง่ายต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป
          -   จัดอาจารย์ในโครงการฯติดตามนักเรียนที่เรียนรวมกับนักเรียนปกติทุกวิชา และทุกชั่วโมงเพื่อ ดูแล และให้ความช่วยเหลือนักเรียนในห้องเรียน รวมทั้งทางด้านวิชาการ และทักษะทางสังคม
          -   ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียน  ไม่สามารถทำความเข้าใจและติดตามบทเรียน ได้ทัน  หลังเสร็จสิ้นการเรียนในทุกวิชา  อาจารย์โครงการฯ จะต้องอธิบายเสริมเพิ่มเติมและทบทวน นักเรียนอีกครั้ง
          -   ในระดับมัธยมศึกษา  นักเรียนบางคนที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ไม่สามารถ เรียนรู้ ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมด  อาจารย์โครงการฯจะแยกนักเรียนจากห้องเรียนปกติ  มาสอน เป็นกลุ่มย่อย ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย   ภาษาอังกฤษ   คณิตศาสตร์  โดยจัดทำแผนการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP)  ปรับสาระการเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้  ตลอดจนการวัด และประเมินผลให้เหมาะสมกับศักยภาพ ของนักเรียนเป็นรายกรณี

         

-   ในกรณีที่นักเรียนมีระดับสติปัญญา ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยค่อนข้างมาก  ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตาม หลักสูตรปกติ  จำเป็นต้องจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ที่แตกต่างจากหลักสูตรปกตินั้น  นักเรียนจะได้รับ การเลื่อนชั้น โดยคำนึงถึงอายุ และพัฒนาการทางสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน  นักเรียนจะมีชื่ออยู่ในระดับ ชั้นใดก็ตาม  แต่การเรียนรายวิชาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ห้องโครงการฯ  เพียงแต่เข้าเรียนรวมบางรายวิชา ที่นักเรียนสามารถเรียนได้ ตามศักยภาพกับเพื่อนระดับชั้นเดียวกัน

         

 

         

4)  การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  มีการปฏิบัติดังนี้
          1   การให้การศึกษา และทำความเข้าใจกับบุคคล ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์  ผู้ปกครอง  นักเรียน  และเจ้าหน้าที่บริการฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะของเด็กออทิสติก  หลักการ  วัตถุประสงค์  วิธีการดำเนินงาน และประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับ  มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากความเข้าใจ และเจตคติของบุคคลที่แวดล้อมเด็กกลุ่มนี้  มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ต่อผลสำเร็จของการจัดการศึกษาสำหรับ เด็กพิเศษ
          2   อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ  เข้ารับการอบรม และฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็กออทิสติกและ เด็กพิเศษประเภทอื่นๆ  ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ  ในช่วงปิดภาคเรียน
          3   มีการประชุมอาจารย์ในโครงการฯ  ทุกสัปดาห์ เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับลักษณะของ นักเรียนแต่ละคน พฤติกรรมที่เป็นปัญหา  แนวทางที่ควรปฏิบัติต่อนักเรียน  วิธีการจัดการเรียนการสอน รวมทั้ง บทบาทของอาจารย์โครงการฯ ที่ปฏิบัติงานในห้องเรียนปกติ
          4   เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่  จะมีการรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของนักเรียนแต่ละคนในที่ประชุม ระดับชั้น  เพื่อให้อาจารย์ได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียน  เพื่อทำความเข้าใจและช่วยให้ง่ายต่อการจัดการเรียน การสอนต่อไป

          5   มีการพัฒนาอาจารย์ในโครงการอย่างต่อเนื่อง  ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย  ตลอด จนส่งอาจารย์ไปฝึกอบรม และศึกษาต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

 

 

5)  การประสานงานและความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง
          ความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน  เป็นหน้าที่โดยตรงของสถาบันการศึกษา แต่เนื่องจากสภาวะความผิดปกติของเด็ก  มักจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทั้งทางร่างกาย และจิตใจ  จึงจำเป็น ต้องได้รับการบำบัดรักษา จากจิตแพทย์  ควบคู่กับการให้การศึกษา  และรวมทั้งพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักเด็กดีที่สุด ย่อมมีบทบาทสำคัญ ต่อผลสำเร็จของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ
          ดังนั้นเพื่อให้การประสานงาน และความร่วมมือ  จากทุกฝ่ายเป็นไปอย่างดีและมีประสิทธิภาพ จึงมีการ ดำเนินงานดังนี้
          1.  คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ  อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ และจิตแพทย์จาก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ  ประชุมปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียนเป็นรายกรณี  รวมทั้งประชุมร่วมกับ ผู้ปกครอง  อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง  เพื่ออภิปรายถึงความก้าวหน้า ทั้งด้านการเรียน และพฤติกรรม  รวมทั้งปัญหาต่างๆ  และแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
          การประชุมเช่นนี้  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา แก่เด็กพิเศษเป็นอย่างยิ่ง เพราะบุคลากรทาง การแพทย์  และทางการศึกษา  ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ในสาขาวิชาของตน  ได้เรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน  โดย บุคลากรทางการศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัดทางจิตเวช นำวิธีการบำบัดนั้นมาเป็น แนวทาง ที่จะปฏิบัติในโรงเรียน  ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ เกิดความรู้ความเข้าใจวิธีการจัดการศึกษาสำหรับ เด็กพิเศษ ในโรงเรียนปกติเพิ่มขึ้น  รวมทั้งได้ทราบปัญหาต่างๆเมื่อเด็กพิเศษเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ  ทำให้สถาบัน ทางการแพทย์ สามารถจัดการศึกษา  เพื่อเตรียมเด็กในโรงพยาบาล ให้มีความพร้อมมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลของเด็ก พิเศษแต่ละคนที่ผู้ปกครองรายงาน ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหับการวินิจฉัย พิจารณา  และหาแนวทางในการ ช่วยเหลือ  หากเด็กเกิดปัญหาขึ้น
          2.  อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ  และผู้ปกครอง  ประชุมร่วมกันอย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง  เป็นการประชุมเพื่ออภิปรายถึงพัฒนาการ และปัญหาของนักเรียนแต่ละคนวางแผนร่วมกันในการแก้ไข ปัญหา การประชุมดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน ระหว่างบ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก  นอกจากนั้น นักจิตวิทยาโรงเรียนได้ให้ความ ช่วยเหลือผู้ปกครอง พัฒนาโปรแกรมการปรับพฤติกรรมที่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้าน เพื่อแก้ไข พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน

         

3.  กรณีที่นักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหารุนแรง  ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวนักเรียนเอง หรือผู้อื่น  และทางโรงเรียนไม่สามารถควบคุมได้  โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ฯ จะรับนักเรียนกลับเพื่อ สังเกต พฤติกรรม บำบัดรักษา ฝึกเพิ่มเติมหรือเตรียมความพร้อมใหม

         

 

         

6)  กิจกรรมเสริมหลักสูตร
          โครงการฯ  ได้จัดบริการต่างๆให้นักเรียนตามความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งเป็น บริการทางการศึกษา และบริการทางจิตวิทยาดังนี้
บริการทางการศึกษา  ได้แก่
          1.  การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร  (Speech  Therapy)  คือ  การฝึกเปล่งเสียงพูด การแก้ไขเสียงพูดให้ชัดเจน  และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
          2.  กิจกรรมบำบัด  (Occupational  Therapy)  คือ  กิจกรรมที่ผ่านการประเมิน  การรักษา  และการให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งครอบคลุมทั้งงานด้านการส่งเสริม ป้องกัน  รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ  ภายใต้ เงื่อนไขทางการแพทย์  กิจกรรมบำบัดประกอบด้วย การฝึกทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิ การพัฒนา ทางการรับรู้  การเคลื่อนไหวการทำงานประสานกันของประสาทรับความรู้สึก การทำงานประสานกัน ระหว่าง ตากับมือ การปรับสภาพร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการพัฒนาทักษะการเล่น
          3.  ดนตรีบำบัด  (Music Therapy)  และดนตรีเพื่อพัฒนา  คือ  การนำดนตรี และกิจกรรมต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี มาใช้ประกอบเพื่อการผ่อนคลาย  เพิ่มความสุข  และความมั่นใจ เตรียมพร้อมที่จะให้นักเรียน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกประสาทหู  เรียนรู้การฟังและทำความเข้าใจการสื่อสารกับครู เรียนรู้การสร้างจินตนาการ ตามเสียง และจังหวะเพลง ฝึกการเคลื่อนไหวตามจังหวะ  การแสดงออกทางสีหน้า  ร่วมไปกับการเรียนรู้ การเข้าสังคม และการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น หรือผู้อื่น  เรียนรู้ที่จะฝึกความอดทน และการรอคอย
          กิจกรรมดนตรีบำบัด นำไปสู่ดนตรีเพื่อพัฒนา โดยทางโรงเรียนได้จัด  "โครงการสร้างสัมพันธ์ด้วยดนตรี"  เพื่อให้นักเรียนออทิสติก  ที่มีศักยภาพพิเศษทางดนตรี  ได้มีโอกาสร่วมร้อง และเล่นดนตรีกับนักเรียนปกติ  นอกจากจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนแล้ว  ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนนักเรียนปกติอีกด้วย
          4.  ศิลปะบำบัด  (Art  Therapy)  และศิลปะเพื่อการพัฒนา  คือ  การใช้กิจกรรมศิลปะ หรือผลงาน ศิลปะ หาข้อบกพร่องของบุคคล ที่กลไกการทำงานของร่างกายไม่เต็มศักยภาพ  เนื่องจากความผิดปกติ บางประการ ของกระบวนการทางจิต  โดยใช้กิจกรรมศิลปะที่เหมาะสม ช่วยในการรักษาให้ดีขึ้น  ศิลปะบำบัด ยังช่วยพัฒนานักเรียนออทิสติก  ด้านต่างๆ ดังนี้
                    4.1  ช่วยพัฒนาการด้านสติปัญญา เนื้อหาเป็นการบูรณาการกับวิชาอื่นๆ ไม่ซับซ้อนแต่เน้น ด้านเทคนิค และวิธีการที่หลากหลาย  การทำงานอย่างเป็นระบบตามขั้นตอน  ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา พัฒนาการ และความบกพร่องของนักเรียน  เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
                    4.2  พัฒนาการทางด้านอารมณ์  ความสนุกสนานขณะทำกิจกรรม การยอมรับในความสามารถ ของตน นอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนมีสมาธิเพิ่มขึ้น
                    4.3  พัฒนาการด้านร่างกาย  กิจกรรมศิลปะ ทำให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย  การใช้มือ  การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา  มีการทำงานที่คล่องแคล่วขึ้น
                    4.4  พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์  กระตุ้นให้นักเรียนทำงานตามความคิดของตนอย่าง อิสระ  ไม่ลอกเลียนแบบผู้อื่น
                    4.5  พัฒนาการด้านสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยที่ดี  มีความเป็นระเบียบ  สะอาด เรียบร้อย รู้จักเก็บ และทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ
          5.  พฤติกรรมบำบัดและการแก้ไขพฤติกรรม   คือ  การปรับเปลี่ยนจิตใจ  การกระทำ  ความเคยชิน ในการกระทำ จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
          6.  การพัฒนาทักษะกลไก การเคลื่อนไหว  และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ  คือ  การฝึกทักษะ ทางพลศึกษาเพิ่มเติม  จากที่เรียนรวมกับเพื่อนนักเรียนปกติ เพิ่มอีกสัปดาห์ 2  วันๆละ 1 ชั่วโมง หลังเลิกเรียน  เนื่องจากนักเรียนออทิสติกมีปัญหาทางด้านกายภาพ และการเคลื่อนไหว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง ฝึกเพิ่มเติม  เพื่อให้สามารถเรียนรวม หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับเพื่อนได้ดีขึ้น
          7.  การสอนเสริมทางวิชาการ  คือ  การสอนเสริมวิชาทักษะ  3 วิชา คือ ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และคณิตศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษา สอนตอนเย็นหลังโรงเรียนเลิก  หนึ่งชั่วโมงๆละหนึ่งวิชา  ระดับประถมศึกษา สอนวันเสาร์ 9.00 – 12.00 น.

บริการทางจิตวิทยา  ได้แก่

          1.  การบำบัดด้วยวิธีการให้ข้อมูลป้อนกลับทางชีวภาพ  (Neurobiofeedback  Therapy)  ด้วยเครื่อง  Hemoencephalogram  (HEG)  คือ  วิธีการบำบัดรักษา โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  ตรวจวัดข้อมูล การเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับการทำหน้าที่ ของระบบประสาท  และสามารถป้อนกลับข้อมูลนั้นให้ผู้ฝึกสามารถ มองเห็น และเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้ฝึกสามารถรู้ได้ว่า สมองของเขากำลังทำอะไรอยู่ เช่น สมาธิ  ความสนใจ ความตั้งใจต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่  หรือกำลังล่องลอยไป  เมื่อรับรู้แล้ว นักเรียนก็สามารถใช้ข้อมูล เหล่านั้น มาปรับเปลี่ยนปฏิกิริยาทางสมอง ที่ต้องการได้  หากได้รับการฝึกฝนดีแล้ว  นักเรียนจะสามารถปฏิบัติได้ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ
          2.  จิตบำบัด (Psychotherapy)  คือ  การรักษาด้วยวิธีการทางจิต  สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ หรือพัฒนาบุคลิกภาพในด้านต่างๆ  โดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยา

 

3.  โครงการการศึกษาพิเศษ 3
1)  การรับนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการ พ.3
ขั้นตอนการรับนักเรียน  มีดังนี้
          -  คณะกรรมการระดับประถมศึกษาปีที่ 1  เป็นผู้ดำเนินการ ประเมินนักเรียน  เพื่อคัดแยก นักเรียนที่มี วุฒิภาวะไม่สมวัย ออกมาจากห้องเรียน เพื่อจัดเข้าห้องเรียนในโครงการฯ พ.3  และส่งชื่อให้ คณะกรรมการ บริหารศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ  พิจารณา
          -  คณะกรรมการบริหารศูนย์การศึกษา เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เป็นผู้อนุมัตินักเรียน เข้าเรียนในโครงการฯ
          -  จัดประชุมระหว่างอาจารย์และผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองลงนามยินยอม ให้ทางโครงการฯ  ช่วยเหลือนักเรียน
2)  แนวทางการจัดชั้นเรียน
          นักเรียนที่คณะกรรมการฯได้พิจารณาแล้วว่า  สมควรเข้าเรียน ในโครงการการศึกษาพิเศษ 3  จะเข้าเรียน ในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1/1 และชั้นประถมศึกษาปีที่  2/1  ซึ่งมีจำนวนนักเรียน ไม่เกิน 30 คน มีอาจารย์ จำนวน  3  คน  ในแต่ละระดับชั้นเป็นผู้รับผิดชอบ  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุด ในการจัดการเรียนการสอน และดูแล นักเรียนอย่างใกล้ชิด และมีประสิทธิภาพ
3) รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
          การจัดการเรียนการสอน  สำหรับนักเรียนโครงการฯ พ.3  ใช้หลักสูตรของ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2  เป็นพื้นฐานของการจัดหลักสูตรบูรณาการ กระบวนการเรียนรู้  เป็นการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ต่างๆ  เช่น สังคมศึกษา  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ฯลฯ  โดยใช้ทักษะทางภาษาไทย  ทั้งการฟัง  การพูด  การอ่าน  และการเขียนเป็นฐานของการบูรณาการ  นักเรียนจะได้เรียนรู้สาระต่างๆ ครบตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรของระดับชั้น  โดยมีการเรียนเสริมในวันเสาร์ และภาคฤดูร้อน
          การวัดและประเมินผลใช้หลักการและเกณฑ์เดียวกับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2  คือ

          1.  การประเมินผลเป็นรายปี  ประกอบด้วย

                  การประเมินผลภาคต้นครั้งที่  1

                  การประเมินผลภาคต้นครั้งที่  2

                  การประเมินผลภาคปลายครั้งที่  1

                  การประเมินผลภาคปลายครั้งที่  2

                  สรุปผลการเรียนตลอดปี

          2.  ประเมินผลรายปี  จะประเมินผลดังต่อไปนี้

                      ประเมินผลตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม  โดยนักเรียนต้องผ่านทุกรายวิชา ของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  และมีระดับคะแนนสรุปผลการเรียน รายวิชาไม่ต่ำกว่า 1

                      ประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ประเมินผ่านหรือไม่ผ่าน โดยนักเรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

                      ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  โดยอยู่ภายใต้กรอบ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ โรงเรียนกำหนด  คือ  รอบรู้  สู้ชีวิต  จิตมั่นคง  ดำรงคุณธรรม

4)  การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
          1.  การให้การศึกษาและทำความเข้าใจกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์  ผู้ปกครอง นักเรียน และเจ้าหน้าที่บริการฝ่ายต่างๆ เกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์และวิธีดำเนินงาน   ซึ่งความเข้าใจ  และเจตคติของบุคคล ที่อยู่แวดล้อมนักเรียนกลุ่มนี้  มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จ ของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้
          2.  อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ  เข้ารับการอบรม และฝึกปฏิบัติงานในห้องเรียน โดยมีอาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ เป็นพี่เลี้ยงแนะนำ
          3.  มีการประชุมอาจารย์ทุกสัปดาห์  เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับลักษณะของนักเรียนแต่ละคน พฤติกรรมที่เป็นปัญหา  แนวทางที่ควรปฏิบัติต่อนักเรียน  รวมทั้งวิธีการจัดการเรียนการสอน
          4.  เมื่อเริ่มปีการศึกษาใหม่  จะมีการรายงานส่งต่อกรณีศึกษาของนักเรียนแต่ละคนในที่ประชุม ระดับชั้น  เพื่อให้รู้จักนักเรียน ช่วยให้ง่ายต่อการจัดการเรียนการสอน
          5.  มีการพัฒนาอาจารย์ในโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง  ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาบรรยาย  ตลอดจนส่งอาจารย์ไปฝึกอบรม และศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ
5)  การประสานงานและความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง
          คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ  อาจารย์ที่ปฏิบัติงานในโครงการฯ ผู้ปกครอง และนักจิตวิทยา ประชุมปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียนเป็นรายกรณี  ภาคเรียนละ 1 ครั้ง  เพื่ออภิปรายถึงความก้าวหน้าทั้งด้านการเรียน  พฤติกรรม  รวมทั้งปัญหาต่างๆ แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน  ซึ่งเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน
6)  กิจกรรมเสริมหลักสูตร
          1.  การสอนเสริมทางวิชาการ  เป็นการสอนเสริมวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์  และศิลปะ  สอนวันเสาร์  9.00 – 12.00 น. ตลอดปีการศึกษา
          2.  การสอนเสริมภาคฤดูร้อน  เป็นการสอนเสริมวิชาภาษาไทย  คณิตศาสตร์ และศิลปะในเดือนเมษายน  วันจันทร์ – ศุกร์  ตลอดเดือน
          3.  กิจกรรมฝึกพูด  จัดให้กับนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านการพูดตลอดปีการศึกษา
          4.  กิจกรรมบำบัด  จัดให้กับนักเรียนที่มีปัญหาทางด้าน การทำงานประสานสัมพันธ์ ของกล้ามเนื้อต่างๆ ตลอดปีการศึกษา
          5.  กิจกรรมพัฒนาทักษะ กลไกการเคลื่อนไหว และประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ จัดให้กับนักเรียน  ตลอดปีการศึกษา

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics