พลศึกษาเพื่อการพัฒนา
|
กรัยวิเชียร น้อยวิบล และคณะ |
โครงการการศึกษาพิเศษ 2 ศูนย์วิจัยการศึกษา ฯ ได้นำกิจกรรมพลศึกษา มาพัฒนา นักเรียนออทิสติก อย่างต่อเนื่อง เพราะนักเรียนกลุ่มนี้ มีความบกพร่อง ที่ชัดเจน ทางด้านบุคลิกภาพ ทั้งนี้ เพราะปัญหาการทำงาน ประสานสัมพันธ์ ของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งมีผลต่อ ทักษะกลไก การเคลื่อนไหว ความบกพร่อง ทางด้านบุคลิกภาพนี้ ยังมีผลกระทบต่อ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจน พัฒนาการ ทางด้านอารมณ์ และ สังคม
ดังนั้น การนำกิจกรรมการเคลื่อนไหว มาใช้พัฒนาบุคลิกภาพ ของนักเรียนออทิสติก จึงเป็นเรื่องสำคัญ ควบคู่ไปกับ การเรียนทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาการทำงาน ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ ทักษะทางด้านสังคม การรู้จักควบคุมอารมณ์ ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา การเล่นเป็นทีม และ สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบว่า การฝึกฝน เพื่อพัฒนานักเรียน ให้มีทักษะ กลไกการเคลื่อนไหว และ การทำงานประสานสัมพันธ์ ของกล้ามเนื้อให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น ยังมีผลส่งเสริม ให้นักเรียนมีทักษะ การเรียนร ู้ด้านอื่น ๆ ดีขึ้นอีกด้วย
กิจกรรมพลศึกษา ที่นำมาพัฒนา นักเรียนออทิสติก ได้แบ่งเป็น โครงการย่อยดังนี้
|
|
1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง
|
กิจกรรมนี้ จัดขึ้น สำหรับนักเรียนออทิสติก ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-2 สัปดาห์ละ 3 วัน ตั้งแต่เวลา 8.00 - 8.30 น. เพื่อกระตุ้นการทำงาน ของสมอง ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
นอกจากนักเรียนออทิสติกแล้ว นักเรียนในโครงการ การศึกษาพิเศษ 3 คือ นักเรียนที่มีวุฒิภาวะ ไม่สมวัย ในระดับชั้นเดียวกัน เข้าร่วมด้วย |
|
กิจกรรมที่จัดคือ การโยนรับส่งลูกบอล หรือลูกเทนนิส ครั้งละ 1 หรือ 2 ลูก โยนสลับซ้ายขวา |
|
|
2. โครงการพัฒนาทักษะกลไกการเคลื่อนไหว และการทำงานประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ
|
กิจกรรมนี้ จัดสำหรับนักเรียนออทิสติก ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3 สัปดาห์ละ 2 วัน ตั้งแต่เวลา 16.00 - 17.00 น.
โครงการนี้ ได้แบ่งนักเรียน ออกเป็น 4 กลุ่ม กิจกรรมที่ใช้ฝึก จะมีความแตกต่างกันด้วย เนื่องจาก แต่ละช่วงอายุ นักเรียนจะมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านทักษะ และสมรรถภาพ ทางด้านร่างกาย
|
|
กลุ่มที่ 1 อายุ 6 - 7 ปี (ป.1 - ป.2)
ฝึกทักษะ กลไกการเคลื่อนไหวเบื้องต้น เช่น เดิน วิ่ง ถอยหลัง สไลด์ กระโดดข้ามรั้ว การโยน การรับ การขว้าง
กลุ่มที่ 2 อายุ 8 - 9 ปี (ป.3 - ป.4)
ฝึกการทำงาน ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือกับตา ตากับเท้า
กลุ่มที่ 3 อายุ 10 - 12 ปี (ป.5 - ป.6)
ฝึกทักษะกีฬาเบื้องต้น
กลุ่มที่ 4 อายุ 13 ปีขึ้นไป
ฝึกทักษะ การเล่นเป็นทีม |
|
หลังจากการฝึกกิจกรรมในช่วงท้ายก่อนเลิก 10 นาที จะเป็นกิจกรรมนันทนาการ ในลักษณะของเกม ร้องเพลง หรือการละเล่น ที่เหมาะกับวัย |
|
|
3. โครงการพัฒนาทักษะทางกีฬาและสังคม
|
นักเรียนออทิสติกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีทักษะทางกีฬา แต่ไม่สามารถเล่นรวม กับบุคคลอื่น ๆ ได้ เพราะขาดทักษะทางสังคม ไม่รู้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์ กับผู้อื่น ไม่เคารพกฎกติกา และมารยาทต่าง ๆ ไม่รู้ และไม่สนใจวิธีการเล่นที่ถูกต้อง จึงทำให้ ไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ มีผลทำให้ ขาดความเชื่อมั่น ในตนเอง
โครงการ ฯ นี้ จึงมุ่งเพื่อ พัฒนาทักษะ ทางสังคมควบคู่ไปกับ ทักษะกีฬา เพื่อให้นักเรียน สามารถเข้าเล่น รวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ได้ รู้จักกฎกติกา และมารยาทในการเล่น ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ ในตนเอง และให้เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลโดยทั่วไป
กิจกรรมนี้ นักเรียนจะลงเล่นกีฬา ที่ถนัดร่วมกับเพื่อน ๆ โดยมีอาจารย์ร่วมเล่น และดูแลอย่างใกล้ชิด กระตุ้นให้นักเรียน รู้กฎเกณฑ์ และปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ๆ กิจกรรมนี้ จัดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 16.00 - 17.00 น
|
|
|
4. กิจกรรมบำบัด
|
การรับรู้ ข้อมูลต่าง ๆ ของคนเรา ล้วนต้องผ่าน ระบบประสาทสัมผัส หรือ ระบบการรับความรู้สึก (sensory system) ซึ่งได้แก่ การรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง และ ประสาทสัมผัส ซึ่งได้แก่ ความรู้สึกต่อการสัมผัส ความรู้สึกทางการทรงตัว และความรู้สึก จากกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ซึ่งเป็น ส่วนของระบบประสาท ที่มักจะถูกละเลย เพราะร่างกาย จะแสดงออกมา โดยอัตโนมัติ ประสาทสัมผัส ส่วนนี้นี่เอง ที่เด็กออทิสติก มีความบกพร่อง |
|
ดังนั้น การนำกิจกรรมพลศึกษา มาใช้ในการบำบัด นักเรียนออทิสติก จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้น |
|
1. ความรู้สึกต่อการสัมผัส (Tactile Integration) |
2. ความรู้สึกต่อการทรงตัว (Vestibular Integration) |
3. ความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ (Proprioceptive Integration) |
|
|
นักเรียนออทิสติกทุกคนจะได้รับการบำบัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาจจะเป็นกลุ่มหรือเดี่ยว |
|
|
จากการนำกิจกรรมพลศึกษา มาใช้ ในการพัฒนานักเรียน ตั้งแต่ระยะแรก ของการเริ่มโครงการ การศึกษาพิเศษ 2 (พ 2) นักเรียนออทิสติกส่วนใหญ่ มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ที่แคล่วคล่องว่องไวขึ้น ไม่ปฏิเสธการออกกำลังกาย บางคนกลายเป็น นักกีฬาว่ายน้ำ และหลายคน เลือกชนิดกีฬา เป็นการออกกำลังกาย ด้วยตนเอง |
|
|