หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่บันทึกไว้เกี่ยวกับการใช้ดนตรีเพื่อการบำบัด ทั้งทางร่างกาย และ ทางจิตเวช มีมาตั้งแต่ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ทั้งในอียิปต์ และกรีก อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่เป็น ระบบเริ่มขึ้นใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1944 โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน สาขาวิชาดนตรีบำบัดขึ้นเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1945 National Music Council ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดนตรีบำบัด ค.ศ.1946 มหาวิทยาลัย แคนซัสเปิดสอนสาขาดนตรีบำบัดในระดับ ปริญญา ค.ศ.1950 มีการจัดตั้ง สมาคมดนตรีบำบัด แห่งชาติ (NAMT) และ ค.ศ.1971 จัดตั้งสมาคมดนตรีบำบัด แห่งอเมริกา(AAMT) ตามลำดับ ปัจจุบันมีการเรียน การสอนสาขาคนตรีบำบัด ในสถาบันอุดมศึกษา และ การศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (Muggli,2002)
|
|
ดนตรีเป็นสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพใน การกระตุ้นการสร้าง เครือข่ายของเซลล์ประสาท ของสมองทั้งการรับ และ การส่งผ่านข้อมูล ภายในกลุ่มเซลล์ประสาท และ เชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างสมองซีกซ้าย และ สมองซีกขวาให้มี การทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ส่งผลต่อการพัฒนา ศักยภาพมนุษย์ ทั้งทางด้านสติปัญญา การเรียนรู้ ความคิด อารมณ์ การแสดงออก
พลังสมาธิ และ การทำงานของ ทุกระบบในร่างกาย (Editor, 1994) นอกจากนี้ผลการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ยังแสดงผลให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการนำดนตรีที่เหมาะสมด้วยวิธีทางการดนตรีบำบัด (Music Therapy) สามารถฟื้นฟูอาการผิดปกติทางสมองของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย (Belin, 1996)
|
|
|
|
นักเรียนออทิสติกจะมีความผิดปกติของ การพัฒนาการของ สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) บางส่วนที่ควบคุม เรื่องการพูด ความมีเหตุผล และ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อีกทั้งแกนสมอง (Corpus Callosum) ที่เชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างสมองซีกซ้าย และ สมองซีกขวายังมี ขนาดบางกว่าเด็กปกติทำให้การประสานสัมพันธ์กันของสมองทั้งสองซีก คือ สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุม การทำหน้าที่ด้าน ความคิดที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การพูด การใช้ภาษา และ สมองซีกขวาซึ่งควบคุมการทำหน้าที่ด้านความคิดที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความรู้สึก จินตนาการ
มีความผิดปกติไปด้วย จึงทำให้นักเรียนออ ทิสติกมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อความหมายด้วย การพูด ขาดทักษะ และ ความเข้าใจต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ ขาดการจินตนาการ ดังกล่าว (Granger and Long, 2000)
|
|
อย่างไรก็ตาม นักเรียนออทิสติกมักจะมีสมองซีกขวาค่อนข้างปกติ จึงมีความสามารถ ในการ แสดงออกทาง ศิลปะและ ดนตรีได้เป็น อย่างดี เพราะผลจากความผิดปกติของแกนสมองไม่เป็นปัญหา ต่อการแสดงออก ดังกล่าวเท่ากับการพูด การเขียน การใช้ภาษา หรือการแสดงออกทางสัญลักษณ์ต่างๆ นอกจากนี้การกระตุ้น สมองด้วยดนตรียังสามารถเพิ่มเครือข่าย และ พื้นที่การทำงาน ของสมอง รวมทั้งการส่งข้อมูลผ่าน แกนสมองที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น เป็นการอำนวย ความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างสมองซีกซ้าย และ สมองซีกขวา
ซึ่งนำไปสู่การมีความสามารถ ทางด้านการสื่อความหมาย มากยิ่งขึ้น (Granger and Long, 2000)
|
|
จากการศึกษาซ้ำหลายต่อหลายครั้ง พบว่าการใช้วิธีการ ทางดนตรีบำบัดช่วยให้ นักเรียนออทิสติกมีพัฒนาการด้าน การพูดและ มีความเข้าใจ การสื่อความหมายได้มากกว่า การใช้อรรถบำบัด(Speech Therapy) เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพราะกิจกรรม ดนตรีสามารถจูงใจให้ นักเรียนออทิสติกที่ไม่ยอมรับสังคมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ กับครูและ กลุ่มเพื่อน โดยเริ่มจากการสื่อความหมาย ที่ไม่ต้องใช้ภาษาพูด ปฏิกิริยาของนักเรียน จากการแปลความหมาย ทางดนตรีและ
การส่งข้อมูลย้อนกลับ เป็นการสื่อความหมายง่ายๆ ในเบื้องต้น และ จะค่อยๆ พัฒนาวิธีการ สื่อความหมายรูปแบบอื่นๆได้ต่อไป รวมทั้งมีพัฒนาการทาง ด้านปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมมากขึ้น จากการมีส่วนร่วม และ การยอมรับบทบาทหน้าที่ ของตนในรูปแบบของกิจกรรมดนตร ีที่หลากหลายตามลำดับ (Granger and Long, 2000)
|
|
|
|
2. ความหมายและ เป้าหมายของดนตรีบำบัด (Pavarrotti,2002) |
|
ดนตรีบำบัด (Music Therapy) หมายถึง การนำดนตรี ไปใช้ใน การพัฒนา บุคคลทั้งทาง ด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา รวมทั้งจิตวิญญาณ โดยบูรณาการ องค์ประกอบ ของดนตรี ได้แก่ จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน ระดับเสียง ความดัง-เบา ความหมายของคำร้อง อารมณ์ของดนตรีลักษณะต่างๆ มีความมุ่งหมายของ การบำบัดที่ชัดเจน และ มีการนิเทศ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
|
|
ดนตรีบำบัดส่งเสริมการแสดงออกที่สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้อง กับการพูด และ การสื่อความหมาย สร้างแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และ ตระหนักถึงความ สำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ตระหนักในความเป็นตัวตนของตนเอง
ผู้อื่น และ สิ่งแวดล้อม สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายของ การบำบัด ดังนี้
|
|
เป้าหมายของดนตรีบำบัด |
1. | ปรับปรุงจินตนาการส่วนตน และ ตระหนักถึงความ สำคัญของร่างกาย ของตน |
2. | เพิ่มทักษะการสื่อความหมาย |
3. | เพิ่มความสามารถที่จะใช้พลังงานของตนไปในทางที่เหมาะสม และมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง |
4. | ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง เช่น การทำซ้ำๆ ในบางสิ่งบางอย่าง การย้ำคิดย้ำทำ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ก่อกวน หุนหันพลันแล่น และมีความสนใจเฉพาะเรื่องเพียงอย่างเดียว |
5. | เพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มเพื่อนและบุคคลอื่นๆ |
6. | เพิ่มความมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเอง |
7. | กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ |
8. | ส่งเสริมการแสดงออกทางด้านอารมณ์ที่เหมาะสม |
9. | เพิ่มสมาธิ |
10. | ปรับปรุงทักษะทางกลไก |
11. | ปรับปรุงการรับรู้ทางการฟัง |
|
|
|
|
3. วิธีการทางดนตรีบำบัด (Pavarrotti, 2000) |
|
1. Improvisational Music Therapy (IMP) คือ รูปแบบของดนตร ีเชิงปฏิภาณ (ด้นสด) ซึ่งมักจะรวมเอาวิธีการของ Nordoff-Robbins, Clinical Orff Schulwerk หรือรูปแบบการด้นสดด้วยวิธี การอื่นๆ ปรัชญาพื้นฐาน ของวิธีการนี้ คือ
เทคนิคการค้นหาความคิดที่อยู่ภายในจิตใจ ของผู้รับการบำบัดจาก การตอบสนองทาง ดนตรี การบำบัดเกิดจาก การยอมรับและ ความร่วมมือ ของผู้รับการบำบัด นักดนตรีบำบัดจะมีบทบาทในการสนับสนุน และ สร้างสรรค์ดนตรีให้เป็นสภาพแวดล้อมทางอารมณ์ ซึ่งสอดคล้อง และ ส่งเสริมการตอบสนอง ทางอารมณ์ของ ผู้รับการบำบัด วิธีการนี้จะจัดเตรียมประสบการณ์ทางด้านสังคม
การสื่อความหมาย และ การแสดงออกทางความรู้สึก และ อารมณ์ภายในกลุ่มของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับ ผู้รับการบำบัดจะเป็นประเภท เครื่องทำจังหวะ และ เครื่องดนตรีของ Orff นอกจากน ี้ยังสามารถบูรณา การการเคลื่อนไหวร่างกาย การพูด และ นาฏการ มาใช้กับวิธีการนี้ด้วย
|
|
2. Singing and Discussions คือ รูปแบบดนตรีบำบัด ที่สามารถนำไปใช้กับ ผู้ป่วยทางจิตกลุ่มวัยรุ่นรวมทั้งผู้ใหญ่ ดนตรีจะใช้กระตุ้น การสนองตอบต่อส่วนที่เป็น คำร้องของบทเพลงของผู้รับ การบำบัด หรือบางครั้งใช้ส่งเสริมการแสดงออกทางความคิด และ ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง ลักษณะการบำบัด
โดยปกตินักดนตรีบำบัดจะร้องเพลง ที่คุ้นเคยให้กลุ่มผู้รับ การบำบัดฟังหลายๆ เพลง แล้วนำการอภิปราย ในเรื่องที่สัมพันธ์กับทำนองเพลง เมื่อผู้รับการบำบัดแต่ละคนแสดงออก และ ร่วมอภิปราย ตามความคิด ความรู้สึก และ ความคิดเห็น นักดนตรีบำบัดจะประพันธ์เพลง แบบด้นสด โดยใช้ข้อความที่ผู้รับ การบำบัดมาเป็นคำร้องของบทเพลง
และ เป็นการนำเสนอในทางบวกต่อกลุ่มผู้รับ การบำบัด ซึ่งเขาเหล่านั้นแต่ละคน อาจจะมีส่วนร่วมใน การแสดงออกถึงความรู้สึก และ อารมณ์ตามความต้องการของตน
|
|
3. Guided Imagery and Music (GIM) เป็นเทคนิค วิธีการแสดงออก ต่อการรับรู้ทาง การฟังเพลงประเภทคลาสสิก เพื่อการผ่อนคลาย ทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ และ ส่งเสริมการจินตนาการ ด้วยการแสดงออกส่วนตัว โดยความช่วยเหลือ ของนักดนตรีบำบัด วิธีการนี้ไม่ได้เน้น ใน การบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการของโรค
แต่มุ่งให้ผู้รับการบำบัดสำรวจความรู้สึก ตระหนักภายในจิตใจของตนจากความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเข้าใจปัญหาของตนเอง และ สามารถที่จะแก้ปัญหา ของตนเองได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นพื้นฐานของ การบำบัดตนเองของมนุษย์
|
|
|
|
4. Clinical Orff Schulwerk วิธีการนี้นำมาจาก หลักสูตรดนตรีศึกษาของ เยอรมันซึ่งออกแบบโดย Carl Orff และ ได้นำไปใช้บำบัด อาการผิดปกติทางจิต และ โรคออทิซึมของเด็กใน ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง แพร่หลาย เป็นวิธีการที่ช่วยเหลือ เด็กเหล่านี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพเด็กจะมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับจังหวะระเบียบวิธีและ การปฏิบัติดนตรีที่มีลักษณะซ้ำๆ
กันกระบวนการโดยรวม จะใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย ลีลาจังหวะ เสียงดนตรี ภาษา และ การแสดงอารมณ์ทาง ดนตรีเป็นประสบการณ์ ของกลุ่มผู้รับการบำบัด เพลงที่ใช้จะเป็นเพลงที่นำ มาจากบทสวดง่ายๆ เพลงรอนโด (Rondo) บทกวี ข้อความที่ไม่เน้นความหมาย และ การบรรเลงทำนองซ้ำๆ (Ostinati) เพลงทุกเพลงจะอยู่ใน บันไดเสียงเพนตาโทนิก (Pentatonic Scale) เพลงในรูปแบบรอนโด (Rondo Form) จะถูกนำมาใช้ มากเป็นพิเศษ
เพราะเปิดโอกาสผู้รับ การบำบัดได้ทำซ้ำๆ ผสมกลมกลืนไป กับแนวทำนอง รวมทั้งสามารถ ที่จะตอบสนองต่อ บทเพลง โดยการสร้างสรรค ์ด้วยตนเอง เครื่องดนตรีประเภท เครื่องตีกระทบจะถูกออกแบบ เป็นพิเศษสำหรับเด็กผิดปกติ ทุกลักษณะกิจกรรมดนตรีทุกอย่าง จะถูกสอนใน ลักษณะที่เป็นรูปธรรม และ มีวิธีการที่เป็น ไปตามลำดับ การเรียนรู้ของเด็กจะมีประสิทธิภาพโดย การมีต้นแบบ (Modeling) เพื่อให้เด็กทำตามอย่าง (Imitation)
ในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรี รวมทั้งแบบอย่าง ทางพฤติกรรม ที่เหมาะสมอื่นๆ และ เสริมแรงด้วย เทคนิคการปรับพฤติกรรม ในกลุ่มของ นักเรียนออทิสติกจะมุ่ง ความสำคัญไปที่พัฒนาการ ด้านภาษาโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ (Sign Language) ส่งเสริมการพูด การใช้ภาษา วิธีการของ Orff จะครอบคลุมในเรื่องของ การแสดงออกทางกายจาก การจินตนาการของตน ความตระหนักใน คุณค่าของร่างกาย
(Body Awareness) กลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆ การรับรู้ทางภาษา การสร้างสัมพันธภาพ ที่เหมาะสม การรู้บทบาทหน้าที่ ของตนและ การอยู่ร่วม กับบุคคลอื่น
|
|
|
|
4. เทคนิคการบำบัดเป็นกลุ่มสำหรับนักเรียนออทิสติก |
|
นักเรียนออทิสติก ที่เข้าเรียนร่วม กับเด็กปกติ ส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะรับการบำบัดเป็นกลุ่ม โดยนำวิธีการทางดนตรีบำบัดแบบ Clinical Orff Schulwerk ซึ่งวิธีการนี้จัดบรรยากาศ และ สิ่งแวดล้อมที่นักเรียนจะรู้สึกว่าอยู่ในชั่วโมงเรียนวิชาดนตรีมากกว่ากำลังได้รับการบำบัด สำหรับเทคนิคที่ใช้ในการบำบัดมีดังนี้ คือ
|
|
4.1 การรับรู้ และตอบสนององค์ประกอบของดนตรี
องค์ประกอบของดนตรีที่นำมาใช้ในกิจกรรมดนตรีบำบัด ได้แก่ จังหวะ ความช้า-เร็ว ความดัง-เบา ทำนองเพลง ความหมายของคำร้อง อารมณ์ของบทเพลง โดยการนำทักษะ ทางดนตรี ได้แก่ การฟัง การร้อง การเคลื่อนไหวร่างกาย การปฏิบัติ เครื่องดนตรี การสร้างสรรค์ทางดนตรี
การแปลความหมายของสัญลักษณ์ทางดนตรี ซึ่งนักเรียนสามารถแสดงออกถึงการรับรู้และ ตอบสนองได้ด้วยการตบมือ เคาะจังหวะ การขับร้อง การทำท่าทางประกอบเพลง การเคลื่อนไหวร่างกาย ตามรูปแบบ/หรืออิสระ การปฏิบัติเครื่องดนตรีความคิดสร้างสรรค์ลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเพลง และ การแสดงออกด้วยวิธีการอื่นๆ
|
|
4.2 การส่งเสริมพัฒนาการทางการสื่อความหมาย
กิจกรรมดนตรีบำบัดในกระบวน การรับรู้ และ ตอบสนอง องค์ประกอบของดนตรีช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางการสื่อความหมายแก่ นักเรียนโดยการแสดงท่าทาง การแสดงสีหน้า การใช้ภาษาท่าทาง การใช้ภาษาพูด การใช้ภาษาอ่าน/เขียน การวาดภาพ
การปฏิบัติเครื่องดนตรีตามแนวดนตรีที่กำหนด/และ คิดแนวดนตรีด้วย ตนเองและ การแปลความหมายต่างๆ
|
|
4.3 การส่งเสริมพัฒนาการทางการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
การบำบัดเป็นกลุ่มเปิด โอกาสให้นักเรียนได้รับ ประสบการณที่จะนำไปสู่ การมีพัฒนาการทางการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้แก่ พฤติกรรมที่แสดงถึง การเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น การยอมรับบทบาท ของตนในกิจกรรมกลุ่ม การมีความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มเพื่อน
การยอมรับวิธีการแสดงออกทางสังคม และ อารมณ์ที่เหมาะสม การสบตาโดยตรงกับผู้อื่น และ การใช้สายตาในการพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความตั้งใจ และ มีวัตถุประสงค์
|
|
|
|
5. แนวปฏิบัติในการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับนักเรียนออทิสติก (Alvin, 1992) |
|
นักเรียนออทิสติกที่เข้ามาเรียนในชั้นเรียนร่วมกับเด็กปกติ ในระยะเริ่มแรกยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเวลา เสริมสำหรับกิจกรรมดนตรีบำบัดโดยเฉพาะไปพร้อมๆ กับการเรียนดนตรีในชั้นเรียน ทั้งนี้เพื่อปรับพื้นฐาน การรับรู้และ ตอบสนององค์ประกอบของดนตรี
และพฤติกรรมทางการสื่อความหมาย และ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ให้มีความพร้อมพอที่จะเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ต่อไป ทั้งนี้การฝึกกิจกรรม ดนตรีบำบัดมีแนวปฏิบัติดังนี้
|
|
5.1 กลุ่มกิจกรรมดนตรีบำบัด ควรมีขนาด 6 - 10 คน
|
|
5.2 สังเกตพฤติกรรมการรับรู้ และ ตอบสนององค์ประกอบของดนตรีของนักเรียนแต่ละคนว่า มีลักษณะต่อด้านหรือยอมรับ เนื่องจากนักเรียนมีประสบการณ์เดิมทาง ด้านการได้ยิน/การฟังเสียงทั่วไป เสียงดนตรี และ บทเพลง แล้วตอบสนองที่เป็นไปในทางลบหรือ บวกแตกต่างกัน
เมื่อสังเกตพบแล้ ต้องพยายามจัดกิจกรรม ที่เป็นการเสริมแรงใน ทางบวกอย่างค่อยเป็นค่อยไป
|
|
5.3 สถานที่ในการจัดกิจกรรม ดนตรีบำบัด ควรมีบรรยากาศ ที่นักเรียนรู้สึกปลอดภัย และ มีอิสระในการแสดงออก ปราศจากความเข้มงวดใน เรื่องระเบียบวินัยต่างๆ
|
|
5.4 กิจกรรมดนตรีบำบัดไม่ได้เน้นที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความถูกต้องแม่นยำในการปฏิบัติ และ ความก้าวหน้า ตามมาตรฐาน แต่เน้นการรับรู้ และ ตอบสนองความคงทนในการจำ ความพึงพอใจ และความต้องการที่จะทำใหม่
|
|
5.5 อุปกรณ์ดนตรีที่ใช้ในกิจกรรมดนตรีบำบัด ควรมีคุณสมบัติที่สามารถเน้นจังหวะได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เครื่องตีกระทบต่างๆ เช่น ฉาบ กรับ แทมบูรีน กลองบองโกระฆัง ไชม์บาร์ ระนาด เครื่องเป่า ควรใช้ปี่หรือแตรที่ไม่ต้องใช้นิ้วในการเปลี่ยนระดับเสียง เป็นต้น
|
|
5.6 บทเพลงที่ใช้ ประกอบกิจกรรมดนตรีบำบัดควรมีความหลากหลาย ด้านองค์ประกอบของดนตรีที่ตอบสนองอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี บทเพลงแต่ละเพลงที่นำมาใช้ควรทบทวนซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นักเรียนจำได้ ลดปัญหาความยุ่งยาก ในเรื่องความหมายของคำร้อง และ การรับรู้ทำนองเพลงลงไป
|
|
|
|
6. บทสรุป |
|
แม้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคออทิซึม จะดำเนินมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ครอบคลุมปัจจัยที่เป็นสาหุของโรค พฤติกรรมการแสดงออก ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา ความสามารถพิเศษ
รวมทั้งจิตวิญญาณ แต่ก็ยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนแน่นอนไม่ได้ ความแตกต่างของบุคคลออทิสติกแต่ละคน ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงพฤติกรรมการแสดงออกที่จะเกิดขึ้น และแปลความหมายพฤติกรรมและการแสดงออกดังกล่าวได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อย่างไรก็ดีองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรีบำบัดที่นำมาใช้กระตุ้นระบบการทำงานของสมองของบุคคลออทิสติก
และการใช้กิจกรรมดนตรีบำบัด ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาทางการสื่อความหมายและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
|
|
|
|
|
Alvin, Juliette and Auriel Warwick. 1992. Music Therapy for the Autistic Child.
Newyork, Oxford : University Press. 1992.
Available : http://elwood.pionet.net/~hub>/irv.html
|
Belin, Pascal. 1996. Melodic Therapy Changes Brain Activation and Promote Language Recovery after Brain Damage, Neurology. Volume 47. (Online).
|
Bergethon, Bjornar and Eunice Baordman. 1970. Music Growth in the Elementary School. 2 nd.ed.
New York : Holt, Rinehart and Winston, Inc.
|
Editor. 1994. Musical Building Blocks in the Brain, MuSICA Research Note. Volume I, Issue 2, Fall 1994. (Online).
Available : http://musica.vci.edu/mrn/V112F94.html
|
Granger, Jennifer and Barry Long. 2000. Use of Music to Enhance the Education of Autistic Children. (Online).
Available : http://www.ronoke.edu/finearts/muis
|
Muggli, Michele. 2002. Music Therapy and Autism in Children. (Online).
Available : http://dubinserver.colorado.edu/prj/mmu/index/html
|
Nye, Robert Evans and Vernice Trousdal Nye. 1994. Music in the Elementary School : An Activities Approach to Music Methods and Materials.
New Jersey : Prentice-Hall, Inc
|
Pavarrotti Music Center, The. 2002. What is Music Therapy. (Online).
Available : http://www.warchild.org/projects/center/mus-ther.html
|
|