bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

วิธีสร้างแรงจูงใจให้เด็กออทิสติกสนใจและ ตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
ภู  ศิริเพชร
     ประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และ ให้การสนับสนุนการเรียน การสอนเด็กออทิสติกมากว่า 5 ปี ช่วยเพิ่มพูน ความรู้ความเข้าใจใน การให้ความช่วยเหลือ เด็กกลุ่มนี้มากขึ้น เด็กออทิสติก แต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตนเอง จึงทำให้เทคนิค และ วิธีการสอนที่ใช้นั้นแตกต่างกันไปด้วย ทุกครั้งที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายหน้าที่ให้สอนเด็กออทิสติกกลุ่มใหม่ในแต่ละปีการศึกษา สิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเรียนอย่างมีความสุข และ มีพัฒนาการทางด้านวิชาการไปด้วยในคราวเดียวกัน และ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผู้เขียนได้มีโอกาสสอนน้องแพมซึ่งเป็น ที่ทราบกันดีในหมู่คณาจารย์ว่า น้องแพมเกลียดวิชาภาษาอังกฤษเสียยิ่งกว่าอะไรดี
     รู้เขารู้เรา
     เมื่อแรกที่ทราบว่า ต้องสอนน้องแพม ก็เกิดความคิดขึ้นในใจว่าศึกหนักกำลังรออยู่ข้างหน้า แต่ผู้เขียนก็ถือสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” หลังจากรวบรวมสติได้แล้ว ก็วางแผนว่าจะสอนน้องแพมอย่างไรดี เริ่มด้วยการศึกษาแบบบันทึกพฤติกรรม การเรียนรู้ของน้องแพม และ การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม จากผู้ปกครอง และ คณาจารย์ที่เคยสอนน้องแพมว่า น้องแพมชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ได้ความว่า ชอบวิชาศิลปศึกษา แต่เกลียดวิชาภาษาอังกฤษเป็นชีวิตจิตใจ ชอบนักร้องชื่อ วิก วง F4 และ ปลาโลมา นอกจากนี้ยังพบความบกพร่อง ในทักษะการอ่าน และ การเขียนภาษาอังกฤษอีกด้วย
     ส่วนในรายวิชาอื่นๆ น้องแพม สามารถเรียนรู้ได้ดีตามศักยภาพ ของตนเอง ผู้เขียนลองเดาใจ น้องแพมว่าน่าจะให้ความสนใจในเรื่องของวิก วง F4 มากที่สุด เพราะน้องแพมกำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น ผู้เขียนเลยเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับวง F4 ทั้งประวัติและ ภาพถ่าย ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งโหลดเสียงเรียกเข้าในโทรศัพท์มือถือเป็นเพลงของวง F4 สุดท้ายคือ การวางแผนการสอนในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพียง การสร้างสัมพันธภาพที่ดีเท่านั้น

     วันนี้ที่รอคอย....สำหรับการสอนน้องแพมเป็นครั้งแรก เมื่อแนะนำตัวว่าเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ น้องแพมแสดงสีหน้าไม่เป็นมิตรทันที ผู้เขียนต้องรีบออกตัวว่า วันนี้ครูไม่ได้มาสอนนะ ครูแค่เพียงอยากทราบว่า ตอนนี้ละคร เรื่องรักใสใสหัวใจสี่ดวง ออกอากาศถึงตอนไหนแล้ว น้องแพมมีสีหน้าที่เป็นมิตรมากขึ้น แต่ยังมีท่าที่ลังเลใจอยู่บ้างเล็กน้อย ก่อนถามว่า “อาจารย์ดูละครเรื่องนี้ด้วยหรือคะ”  ผู้เขียนคิดในใจว่า พอจะมีหวังแล้วเรา เลยตอบไปว่า “ก็ได้ดูบ้างแต่ไม่ค่อยมีเวลา ครูชอบพระเอกเจอรี่ เขาหน้าตาดี แถมร้องเพลงเพราะอีกต่างหาก”

     น้องแพมค้านทันทีว่า “น้องแพมไม่เห็นจะชอบเลยเจอรี่นะ แก่ก็แก่ หล่อสู้วิกก็ไม่ได้” ผู้เขียนก็เลยถามว่า “รู้ได้อย่างไรว่า เจอรี่อายุมากกว่าวิก  ครูว่าไม่น่าจะใช่นะ”
แล้วก็นำประวัติพร้อมกับ ภาพถ่ายวง F4 ขึ้นมา ทำทีเป็นอ่านเพื่อตรวจสอบข้อมูล น้องแพมแสดงท่าที่สนใจ ผู้เขียนเลยถามว่า “อยากรู้ไหมเดี๋ยวครูแปลให้ฟัง” น้องแพมยิ้มอย่างดีใจหลังจาก แปลประวัติของวง F4 เสร็จแล้ว ผู้เขียนรุกต่อไปอีกขั้นด้วยการชวนน้องแพมแข่งกันเขียนประวัติของวิกกับเจอรี่เป็นภาษาอังกฤษ แล้วดูว่าใครจะเขียนได้สวย และ เสร็จเร็วกว่ากัน โดยตกลงกันว่า น้องแพมเขียนประวัติของวิก ส่วนผู้เขียนเขียนประวัติของเจอรี่

อุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้

         1.  สีเทียน  
         2.  กระดาษสำหรับวาดภาพขนาด A4
         3.  ไม้เสียบลูกชิ้น

วิธีการเขียน

         1. ระบายสีต่างๆ สลับกันลงใน กระดาษทั่วทั้งแผ่น ตามแนวนอน แนวตั้ง หรือแนวเฉียงตามใจชอบ

         2. ระบายสีดำทับทั่วทั้งแผ่นอีกครั้ง

         3. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นแท ปากกา ในการเขียนตัวอักษร

**หมายเหตุ  ขณะทำกิจกรรมครูจะช่วย อธิบายประวัติของวิก ในส่วนที่น้องแพมจำไม่ได้อีกครั้ง

ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม

     น้องแพมเขียนเสร็จก่อนปลายแหลม ของไม้เสียบลูกชิ้น ที่ขีดเขียนผ่านพื้นสีดำลงไป จะมีสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นอย่างสวยงาม แต่ผลงานไม่เป็นที่พอใจ เพราะน้องแพม ทำด้วยความรีบเร่งเลยไม่ได้ คำนึงถึงหลักการของ วิชาศิลปศึกษา น้องแพมเลยสัญญากับผู้เขียนว่าจะกลับไปทำใหม่เป็นการบ้าน และ จะนำมาส่งในการเรียน ครั้งต่อไป ผู้เขียนพบว่าจากการทำกิจกรรมครั้งนี้นอกจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ในการพบกันครั้งแรกแล้ว น้องแพมยังมีโอกาสได้เรียนรู้คำศัพท ์และ ประโยคที่ใช้ใน การเขียนประวัติ เช่น ที่อยู่ สัญชาติ อายุ วัน เดือน ปีเกิด การบอกน้ำหนัก ส่วนสูง งานอดิเรก เป็นต้น โดยผ่านสื่อกลาง (Pathway) ต่างๆ ตามหลักการของ Multisensory Teaching ซึ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ที่ผสมผสานระหว่าง การมองเห็น (Visual) การฟัง (Auditory) และ การสัมผัส (Kinesthetic-tactile) การได้ทราบประวัติของ ดาราคนโปรดวิกวง F4 และ ได้ใช้ความรู้วิชาศิลปศึกษา ที่ตนชื่นชอบเป็นตัวเสริมแรง (Reinforcer) ให้น้องแพมมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ คือสนใจใน การเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

เรียนรู้กันและกัน

     หลังจากผู้เขียนสอบผ่านในการพบกับน้องแพมในครั้งแรก ก็ต้องกลับมาทำการบ้านเพิ่มคือ ติดตามความเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับวง F4 เพิ่มมากขึ้น เพื่อว่าจะได้มีหัวข้อใน การสนทนากับน้องแพม ในการสอนครั้งที่ 2 และ ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจ ของน้องแพมว่าผู้เขียนมีความสนใจในวง F4 เช่นกัน

     ในการสอนครั้งที่ 2  น้องแพมมานั่งรอครู พร้อมกับผลงานที่สัญญาว่า จะไปทำมาใหม่ซึ่งมีความประณีตสวยงาม  ผู้เขียนกล่าวชื่นชมผลงาน ของน้องแพมในทันท ีที่เห็น ผู้เขียนได้เตรียมภาพถ่าย สมาชิกวงF4 ในอิริยาบถต่างใน การสอนคำกริยา (Verb) หลังจากได้สอนคำกริยา (Verb) ไปแล้วผู้เขียนได ้ทำการประเมินผล  ด้วยการให้เขียน คำศัพท์ตามคำบอก 10 คำ น้องแพมสามารถเขียนได้ 6 คำ  ครูจึงให้รางวัล เป็นภาพถ่ายของวิก 1 รูป

     ในการสอนครั้งที่ 3 ผู้เขียนได้เตรียม บทเรียนเกี่ยวกับ การใช้คำคุณศัพท์(Adjectives) โดยให้น้องแพม บรรยายลักษณะของสมาชิก วงF4 แต่ละคนจากภาพถ่าย เช่น  Vic is smart and handsome. Jerry is tall. เป็นต้น   เมื่อน้องแพมสามารถแต่งประโยค พื้นฐานโดยใช้คำคุณศัพท ์ได้แล้ว  ผู้เขียนก็เพิ่มภาพถ่ายบุคคลอื่นๆ เข้าไปปะปนกับภาพถ่ายวง F4 และ ให้น้องแพมบรรยาย ลักษณะของบุคคลใน ภาพถ่าย น้องแพมสามารถบรรยายได้ จึงได้รับภาพวิกเป็นรางวัล 

     มีข้อสังเกตว่า ในการให้รางวัล เพื่อเป็นการเสริมแรง (Reinforcement) นั้น เด็กต้องทำ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ (Positive Behavior) โดยที่ไม่มีการตกลง หรือต่อรองกันไว้ล่วงหน้า เด็กถึงจะได้รับรางวัล  หากเด็กทราบล่วงหน้าว่า เขาจะได้อะไรจาก การทำพฤติกรรมนั้นๆ เมื่อเด็กไม่พอใจในของรางวัล ก็จะเกิดการต่อรอง และ ในที่สุดการ ทำพฤติกรรมทุกอย่าง  ก็ต้องมีส ิ่งแลกเปลี่ยนเสมอไป(Bribery) ในการสอนครั้งต่อๆ มา ผู้เขียนจะใช้ภาพถ่ายวง F4 เป็นสื่อในการสอนก่อน เมื่อน้องแพมเข้าใจเนื้อหา ที่เรียนแล้วก็ให้นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์อื่น (Generalization) ต่อไปตามลำดับ

หัวใจสำคัญ

     การสอนเด็กออทิสติกนั้น ต้องอาศัยความตั้งใจ ความเข้าใจ เห็นอกเห็นอก เห็นใจ ตระหนัก และ เอาใจใส่ในปัญหา คอยเป็นกำลังใจ เมื่อเด็กทำไม่สำเร็จ และ ชื่นชมเมื่อเด็กประสบความสำเร็จ  เพื่อเด็กให้เกิด ความภาคภูมิใจในตนเอง  เทคนิควิธีการสอนบางอย่าง อาจจะใช้ได้ผลกับเด็กคนหนึ่ง  แต่กลับไร้ผล เมื่อนำวิธีเดียวกันนี้ไปใช้ กับเด็กอีกคน ข้อเขียนนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม กับลักษณะของเด็ก แต่ละคนเท่านั้น

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics