bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

“สมาธิสั้นในสาธิตเกษตร”

ผศ.สุปรีดา  ญาณภิรัต

          โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ศูนย์วิจัย และ พัฒนาการศึกษา มีปรัชญา และ จุดมุ่งหมาย ในการดำเนิน การจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค ์ควบคู่กันไปกับ การจัดการเรียน การสอนเพื่อให้ นักเรียนได ้รู้จักใช้ความรู้ ความสามารถ สติปัญญา และ คุณธรรมเพื่อแก้ไขปัญหา ส่งเสริมให้นักเรียนได้มี กระบวนการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และ ความสามารถ อย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพ ของแต่ละบุคคล

          ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนจึงเน้นให้ความสำคัญ กับอาจารย์ประจำชั้น ผู้ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับ นักเรียนมากที่สุด โดยจัดให้มีอาจารย์ประจำชั้น ห้องเรียนละ 2-3 คน นอกจากจะดูแล รับผิดชอบนักเรียนแล้ว  ยังทำหน้าที่เป็นอาจารย์แนะแนวเบื้องต้น มีบทบาทหน้าที่ใน การส่งเสริมพัฒนา ป้องกัน และ แก้ไขปัญหานักเรียนภายใน ห้องเรียนร่วม กับคณาจารย์ที่เกี่ยวข้อง และ ผู้ปกครอง ควบคู่กับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ
          บางกรณีที่อาจารย์ประจำชั้น มีความเห็นว่า   นักเรียนน่าจ ะมีปัญหา ซับซ้อนยากที่จะ ให้ความช่วยเหลือ ตามปกติได้ อาจารย์ประจำชั้น ก็จะส่งให้ ศูนย์บริการจิตวิทยาและ แนะแนวที่ทำ หน้าที่เป็นอาจารย์ แนะแนวประจำระดับนั้น ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ศึกษารายกรณี อันจะนำไปสู่การให้ความ ช่วยเหลือต่อไป ดังโครงสร้าง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ศึกษารายกรณี ตามแผนภาพดังต่อไปนี้

    คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูแบบชัดเจน

 

 

          จากโครงสร้างดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการส่งนักเรียนเข้าสู่ระบบการศึกษา รายกรณีแล้ว อาจารย์แนะแนว ประจำระดับ จะดำเนินการ พบผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ในปัญหาที่เกิดขึ้นและ ขออนุญาต เพื่อศึกษา นักเรียนเป็นรายกรณี เมื่อได้รับอนุญาต อาจารย์แนะแนว จะดำเนินการรวบรวม ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัย ปัญหา หาสาเหตุและ แนวทาง ในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน ร่วมกับทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการรายงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับ และ ติดตาม ผลการให้ความช่วยเหลือเป็นระยะ ๆ

          บางกรณีที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า นักเรียนจำเป็น ต้องได้รับการ ตรวจสอบพยาธิสภาพ ทางร่างกาย เพื่อการวินิจฉัย จากแพทย์ อาจารย์แนะแนว ที่ดำเนินการศึกษารายกรณี จะจัดรวบรวมข้อมูล ของนักเรียน ส่งต่อจิตแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และ รักษา และ ดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือ นักเรียนร่วมกันระหว่าง อาจารย์ แพทย์ และ ผู้ปกครอง โดยมีอาจารย์แนะแนว ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน และ ติดตามผลการ ให้ความช่วยเหลือ  ตลอดจนรายงานผลพบว่า นักเรียนยังคงมีปัญหา ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ก็จะมีการประชุมปรึกษา (conference case) กับผู้ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ทำความเข้าใจ การขอความร่วมมือ ในการช่วยเหลือ นักเรียนต่อไป
          กรณีที่นักเรียนได้รับการ วินิจฉัยว่ามีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษใน การซ่อมเสริมบางด้าน ที่นักเรียนบกพร่อง เช่น วิชาภาษาไทย  วิชาภาษาอังกฤษ  หรือวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น อาจารย์แนะแนว จะดำเนินการขอให้ศูนย์บริการ จิตวิทยาและ แนะแนวส่งต่อยังศูนย์วิจัย การศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความ ช่วยเหลือพิเศษ   เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ จัดการเรียนการสอนซ่อมเสริมพิเศษ เป็นรายบุคคลตาม ความเหมาะสมในแต่ละคน โดยมีอาจารย์ แนะแนวดำเนินการ ติดตามผลเพื่อรายงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
          จากการติดตาม ผลการศึกษารายกรณี    ที่ศูนย์บริการจิตวิทยาและ แนะแนวดำเนินการผ่านมาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการ ศึกษามีปัญหาแตกต่างกันไป ทั้งปัญหาการเรียน ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางด้านอารมณ์ แต่ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเด็กที่มีอาการ สมาธิสั้น
          จากข้อมูล ปีการศึกษา 2551  จำนวนนักเรียนทั้ง โรงเรียนที่มีจำนวน 3,273 คน  มีนักเรียนที่ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคสมาธิสั้น   อยู่ระหว่างการได้รับ ความช่วยเหลือเป็นจำนวน 180  คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียน ที่มีอาการสมาธิสั้นและ มีปัญหา ความบกพร่องใน การเรียนรู้
          (Learning Disabilities) ร่วมด้วยอีกจำนวน 50  คน และ นักเรียนที่มีปัญหาอื่น ๆอีก จำนวน 137  คน จากนักเรียน ที่ศึกษารายกรณี จำนวนทั้งหมด  367 คน
          จากการติดตามข้อมูล เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นพบว่า ปัจจุบันเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น  ผู้ปกครองมีความวิตกกังวล และ สงสัยว่าลูกจะมีปัญหาสมาธิสั้น หรือไม่หากใช่จะทำอย่างไร ต่อไป จะช่วยลูกได้อย่างไร
          บทความต่อไปนี้ เป็นการสรุปลักษณะอาการ การวินิจฉัย ตลอดจนกระบวนวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ของผู้ช่วยศาตราจารย์นายแพทย์ชาญวิทย์  พรนภดล  ภาคจิตเวชศาสตร์  โรงพยาบาลศิริราช  ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจ และ มองเห็นปัญหา ตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติกับ เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder – ADHD)

1.   โรคสมาธิสั้นคืออะไร     

          โรคสมาธิสั้น คือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม,   อารมณ์,    การเรียน     และ การเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก    กลุ่มอาการนี้ได้แก่ การขาดสมาธิ (attention deficit), การขาดความสามารถ ในการควบคุมตนเอง (impulsivity) และ อาการซน (hyperactivity) เด็กบางคนอาจมีอาการซน และ การขาดความสามารถ ในการ ควบคุมตนเอง เป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กผู้ชาย หรือบางคนอาจมีอา การขาดสมาธิ เป็นอาการหลัก ซึ่งพบได้บ่อยพอๆกัน ในเด็กผู้หญิง และ เด็กผู้ชาย  โรคสมาธิสั้นนี้พบได้บ่อย ในทุกประเทศทั่วโลก ในต่างประเทศพบว่า ประมาณ 3 – 5 % ของเด็กในวัยเรียน เป็นโรคสมาธิสั้น

2.  จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

          อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคสมาธิสั้น ได้แก่

                              ก.   การขาดสมาธิ  (attention deficit)  : โดยสังเกตพบว่าเด็กจะ
               1.   ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนเสร็จ
               2.   ไม่มีสมาธิขณะทำงาน หรือเล่น
               3.   ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
               4.   ไม่สามารถตั้งใจฟัง และ เก็บรายละเอียดได้ ทำให้งาน ผิดพลาดอยู่เสมอ
               5.   ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
               6.   มีปัญหา หรือพยายามหลีกเลี่ยงงาน ที่ต้องใช้ความคิด หรือสมาธิ
               7.   วอกแวกง่าย
               8.   ทำของใช้ส่วนตัว หรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงาน หรือการเรียนหายอยู่เสมอ
               9.   หลงลืมเป็นประจำ
                               ข.   การซน (hyperactivity) และ การขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้

               1.   ยุกยิกไม่อยู่นิ่ง

               2.   นั่งไม่ติดที่  ลุกเดินบ่อยๆ ขณะที่อยู่บ้าน หรือในห้องเรียน

               3.   ชอบวิ่ง หรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ

               4.   พูดมาก พูดไม่หยุด

               5.   เล่นเสียงดัง

               6.   ตื่นตัวตลอดเวลา

               7.   ชอบโพล่งคำตอบเวลาครู หรือพ่อแม่ถาม โดยที่ฟังคำตอบยังไม่จบ

               8.   รอคอยไม่เป็น

               9.   ชอบขัดจังหวะ

            

          หากเด็กมีลักษณะ ในข้อ หรือ รวมกันมากกว่า 6 อาการ เด็กของท่าน มีความเป็นไป
ได้สูงที่ จะเป็นโรคสมาธิสั้น

 

3.   โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุมาจากอะไร

          การวิจัยในปัจจุบันพบว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจาก ความบกพร่อง ของสารเคมีที่สำคัญบางตัว ในสมอง โดยมีกรรมพันธุ์เป็น ปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30- 40 % ของเด็กสมาธิสั้น จะมีคนใน ครอบครัวคนใดคนหนึ่ มีปัญหาอย่างเดียวกัน  ปัจจัยจากการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียง ปัจจัยเสริม ที่ทำให้อาการ หรือความผิดปกติดีขึ้นหรือเลวลง

          มารดาที่ขาดสารอาหาร, ดื่มสุรา, สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด เช่น สารตะกั่ว ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นสมาธิสั้น การวิจัยในปัจจุบันไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาล      หรือชอคโกแลตมากเกินไป, การขาดวิตามิน, สีผสมอาหาร, โรคภูมิแพ้, การดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกมส์ มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น

4.   เด็กสามารถนั่งดูทีวีหรือเล่นวีดีโอเกมได้เป็นชั่วโมง ทำไมหมอถึงบอกว่าเด็กเป็นสมาธิสั้น

          ในขณะที่เด็กดูทีวี หรือเล่นวีดีโอเกม เด็กจะถูกกระตุ้นอย่าง ต่อเนื่องโดยภาพบนจอทีวี หรือวีดีโอเกมที่เปลี่ยนทุก  2 - 3   วินาที   ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ ของเด็กได้  สมาธิของเด็กมีขึ้น ได้จากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งตรงกันข้าม กับสมาธิที่เด็กต้อง สร้างขึ้นมาเอง ระหว่างการอ่านหนังสือ หรือทำงาน ต่างๆ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะขาดสมาธินี้

5.   แพทย์สามารถวินิจฉัย โรคสมาธิสั้นได้อย่างไร

          แพทย์สามารถ วินิจฉัยโรคสมาธิสั้น โดยอาศัยประวัติ ที่ละเอียด,การตรวจร่างกาย, การตรวจระบบประสาท, และ การสังเกตพฤติกรรมของ นักเรียนเป็นหลัก ในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือด หรือเอ็กซเรย์สมอง ที่สามารถนำมาใช้ใน การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น

          ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องอาศัย การตรวจอื่นๆ เช่น  การตรวจสายตา (Vision test) , การตรวจการได้ยิน (Hearing test), การตรวจคลื่นสมอง (EEG), การตรวจเชาว์ปัญญา และ ความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยก โรคลมชัก, ความบกพร่องทางสายตา, การได้ยิน, หรือภาวการณ์ เรียนบกพร่อง (Learning Disorder) ออกจากโรคสมาธิสั้น

          นอกจากนี้โรคออทิสติก  โรคจิตเภท  ภาวะพัฒนาการล่าช้า  และ โรคทางจิตเวชอื่นๆในเด็ก เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า สามารถทำให้เด็ก แสดงอาการ หรือพฤติกรรมเหมือน กับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น 

6.   การรักษาโรคสมาธิสั้นมีอะไรบ้าง  

          การรักษาเด็กสมาธิสั้น ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ การผสมผสาน การรักษาหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

          ก. การรักษาทางยา

          ข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ สำหรับเด็กและ ครอบครัว

          ค. การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

ก. การรักษาทางยา

          ยาที่ได้ผลดีที่สุด สำหรับโรคสมาธิสั้น คือ ยาในกลุ่ม Pychostimu lants ซึ่งได้แก่
Methythenidate ( Ritalin®), Dextroamphetamine (Dexedrime®) , Adderall และ Pemoline (Cylert®) ยาเหล่านี้เป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย  มีประสิทธิภาพในการรักษาสูง ยาจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบขึ้น มีความสามารถใน การควบคุมตนเองดีขึ้น และ อาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น ผลที่ตามมาของเด็กที่ได้รับ การรักษาถูกวิธี จะทำให้เด็กจะ รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (self – esteem) ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเพื่อน หรือคนรอบข้างดีขึ้น

          ผลข้างเคียงของยา ในกลุ่มนี้ที่พบบ่อย ได้แก่ การเบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง และ อารมณ์ขึ้นลงหงุดหงิดง่าย อาการข้างเคียงเหล่านี้มักจะไม่รุนแรง แต่จะดีขึ้นเมื่อมีการปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนไป ใช้ยาในกลุ่มอื่นต่อไป
ข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ การช่วยเหลือด้านจิตใจ สำหรับเด็กและ ครอบครัว

          ผู้ปกครอง และ ครูของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง  เพื่อช่วยในการจัดการกับ พฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของเด็ก  การตี หรือการลงโทษ ทางร่างกายเป็น วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ไม่ได้ผล แต่จะมีส่วนทำ ให้เด็กมีอารมณ์โกรธ หรือแสดงพฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และ ก้าวร้าวมากขึ้น วิธีการที่ได้ผลดีกว่าคือ การให้คำชม หรือรางวัล (Positive reinforcement) เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรม ที่ถูกต้องและ เหมาะสม  รวมถึงการควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่ เหมาะสมโดยการงด กิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิ์อื่นๆ (Negative  reinforcement)

          เด็กสมาธิสั้นนั้นควร มีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับ ข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี และ ช่วย แนะนำแนวทาง การปฏิบัติตัว เพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถ ด้านอื่นทดแทน ส่วนที่บกพร่อง

          ในบางรายครอบครัวบำบัด (Family Therapy) มีความจำเป็นสำหรับครอบครัว ที่มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวล และ ความเครียดของเด็ก

ค . การช่วยเหลือทางด้านการเรียน

          เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหา การเรียน หรือเรียน ได้ไม่เต็มศักยภาพ ร่วมด้วย

ดังนั้น ครูจึงมีบทบาท สำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ที่จะช่วยเหลือ เด็กสมาธิสั้น ให้เรียนได้ดีขึ้น

ข้อแนะนำสำหรับครูในการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น

          

          1.   จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุดขณะสอน

          2.   จัดให้เด็กนั่งอยู่กลางห้อง หรือไกลจากประตู หน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็ก จะถูกทำให้

วอกแวกโดยสิ่งต่างๆ นอกห้องเรียน

          3.   เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทำในชั้นเรียน ให้ชัดเจนบนกระดานดำ

          4.   ตรวจสมุดงาน  เพื่อให้แน่ใจว่าเด็ก จดงานได้ครบ

          5.   อย่าสั่งงานให้เด็กด้วยวาจา  พร้อมกันที่เดียวหลายๆคำสั่ง  ควรให้เวลาให้เด็ก

ทำเสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คำสั่งต่อไป

          6.   คิดรูปแบบวิธีเตือน หรือเรียกให้เด็ก กลับมาสนใจบทเรียน โดยไม่ให้เสียหน้า

          7.   จัดให้เด็กที่อยู่ไม่สุข มีโอกาสใช้พลังงาน ในทางสร้างสรรค์ เช่น เดินแจกสมุดให้

เพื่อนๆ เป็นต้น

          8.   ให้คำชมเชยหรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติดี หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

          9.    หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตำหนิ ว่ากล่าวรุนแรง หรือทำให้เด็กขายหน้า

          10.  หลีกเลี่ยงการตี หรือลงโทษทางร่างกาย เมื่อเด็กกระทำผิด

          11.  ใช้การหักคะแนน งดเวลาพัก   ทำเวร หรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน เมื่อเด็กกระทำผิด

          12.  ให้เวลากับเด็ก นานขึ้นกว่าเด็กปกติ ในระหว่างการสอบ
7.   เมื่อโตขึ้นเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายหรือไม่  

          เมื่อผ่านวัยรุ่น  ประมาณ 30% ของเด็กสมาธิสั้น  มีโอกาสหายจากโรคนี้  และ สามารถเรียนหนังสือ หรือทำงานได ้เป็นปกติโดยไม่ต้องพึ่งยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้น จะมีความบกพร่อง ของสมาธิอยู่ระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าเด็กดู เหมือนจะซนน้อยลง   มีความสามารถ ในการควบคุมตนเอง ดีขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่  บางคนหากสามารถปรับตัว และ เลือกงานที่ไม่จำเป็น ต้องใช้สมาธิมากนัก ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ และ ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคน อาจจะยังคงมีอาการ ของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษา  การงาน และ การเข้าสังคม กับผู้อื่น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จำเป็นต้อง ได้รับการ รักษาอย่างต่อเนื่อง

8.   ผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้นจะมีลักษณะหรืออาการอะไรบ้าง

          โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่เกิดกับเด็ก หรือพบได้ในวัยเด็กเท่านั้น ปัจจุบันพบว่า มีผู้ใหญ่หลายๆคนที่มีปัญหานี้ และ ทำให้ชีวิต ไม่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ควร ลักษณะต่อไปน ี้จะช่วยบ่งชี้ว่า ท่านอาจเป็น โรคสมาธิสั้น และ ต้องการการรักษา

         1.    มีประวัติบ่งชี้ถึงโรคสมาธิสั้น ตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก
         2.    ใจร้อน โมโหง่าย
         3.    อารมณ์ขึ้นลงเร็ว
         4.    หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
         5.    สามารถทน กับความเครียด หรือสิ่งที่ทำให้คับ ข้องใจได้น้อย
         6.    วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ ระหว่างการทำงาน
         7.    รอคอยอะไรนานๆไม่ค่อยได้
         8.    มักจะทำงานหลายๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จสักชิ้น
         9.    นั่งอยู่นิ่งๆไม่ได้นาน ชอบเขย่าขา หรือลุกเดินบ่อยๆ

         10.   เบื่อง่าย หรือต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
         11.   ไม่มีระเบียบ
         12.   เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาด ในการทำงาน
         13.   ผิดนัด หรือลืมทำเรื่องสำคัญๆอยู่เสมอ
         14.   มีปัญหา กับบุคคลรอบข้าง เช่น สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานอยู่บ่อย ๆ

การให้ความช่วยเหลือของโรงเรียน

          จากผลการวิจัย ทางการแพทย์พบว่า การให้ความช่วยเหลือ เด็กสมาธิสั้นที่ดีที่สุด คือ การประสานความร่วมมือทำงาน ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ยาวนานของแพทย์ พ่อแม่ อาจารย์ และ ตัวนักเรียนเอง โดยมีเป้าหมาย คือ การให้นักเรียนสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่าง มีความสุข ลดปัญหาทางอารมณ์ ลดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง เพิ่มกำลังใจ และ แรงจูงใจในการเรียน และ การทำงาน

          เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นแต่ละคน แตกต่างกันทั้งอาการ ความรุนแรง ลักษณะนิสัย และ ความสามารถพิเศษ ดังนั้น การให้ความช่วยเหลือจึงเป็น วิธีการเฉพาะตัวที่เหมาะสม
          หลังจากการวินิจฉัย อาจารย์แนะแนวจะทำหน้าที่ประสานงาน กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับนักเรียน โดยนำข้อเสนอแนะ เพื่อการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ และ วิธีการปฏิบัติจากแพทย์ ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตาม และ ประเมินการให้ความช่วยเหลือ จากทุกฝ่าย โดยดำเนินการดังนี้
       

          1.   ให้ความรู้ใน ปัญหาของนักเรียน แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจ ยอมรับ และ มีทัศนคติที่ดีต่อ นักเรียนที่มีอาการสมาธิสั้น

          2.   ติดตามให้นักเรียน ที่รับการรักษา ด้วยยาให้รับประทานยา อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอทั้งทางบ้าน และ โรงเรียน

          3.   ดำเนินการปรับพฤติกรรม ให้นักเรียนตามความ เหมาะสมอของ แต่ละคน

          4.   ให้คำปรึกษานักเรียน เพื่อแก้ไขความรู้สึกเชิงลบ ที่มีต่อตนเอง ตลอดจนการให้กำลังใ และ การสร้างแรงจูงใจ

          5.   ให้คำปรึกษาผู้ปกครองถึง การให้ความช่วยเหลือ และ การปรับพฤติกรรมของ นักเรียนเมื่ออยู่ที่บ้าน

ุ          6.   ให้คำปรึกษา และ เสนอแนะ วิธีการช่วยเหลือ เด็กสมาธิสั้น แก่อาจารย์ผู้ เกี่ยวข้องใน

ชั้นเรียน ได้แก่

                6.1  การจัดที่นั่ง ให้เหมาะสม

                6.2  การให้คำสั่งที่ชัดเจน

                6.3  การเขียนงาน การบ้านบนกระดาน ให้ชัดเจน

                6.4  วิธีการเตือนให้นักเรียนกลับมาสนใจ โดยไม่ให้เด็กเสียหน้า

                6.5  มอบหมายงานที่ต้องออกกำลัง หรือเคลื่อนไหว

                6.6  มีกฎระเบียบที่ชัดเจน

                6.7  ให้รางวัล เมื่อประพฤติดี

                6.8  หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดตำหนิติเตียน

          

          7.  จัดโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนสมาธิสั้นได้แก่

                7.1  โครงการฝึกอบร ผู้ปกครองถึงวิธ ีการปรับพฤติกรรมเด็ก ที่มีปัญหาสมาธิสั้น

                7.2  โครงการจิปาถะ นานาทัศนะ กับเด็กสมาธิสั้น

                7.3  โครงการการปรับพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสม

                7.4  โครงการการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ในนักเรียน ที่มีภาวะสมาธิสั้น ระดับชั้น ป.3 – 4  “ค่ายมีสุข สนุกกับ EQ”
ข้อคิดที่ควรคำนึงเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น

่          1.  การวิจัยในปัจจุบันเชื่อว่า โรคสมาธิสั้นเกิดจาก ความบกพร่อง ในการทำงานของสมอง เพียงเล็กน้อย ไม่ได้เกิดจาก การเลี้ยงดู หรือความบกพร่อง ของพ่อแม่

          2.  ปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการควบคุมตนเอง ที่ไม่ดีอันเกิดจาก อาการ

สมาธิสั้น

          3.  โรคสมาธิสั้นพบในเด็กชาย มากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 3 : 1

          4.  จากผลงานที่ต่ำว่าความสามารถ ที่แท้จริง และ การได้รับคำตำหนิบ่อย ๆ ทำให้เด็กสมาธิสั้น สูญเสียความเชื่อมั่น และ ความนับถือตัวเอง

          5.  30% ของเด็กสมาธิสั้น มีโอกาสหายจากโรคนี้ได้เมื่อผ่านวัยรุ่น

          6.  การปรับพฤติกรรม ของเด็กสมาธิสั้น มีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ ลดสิ่งกระตุ้น

เพิ่มสมาธิ และ เพิ่มการควบคุมตนเอง

          7.  การศึกษาวิจัยพบว่า การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การใช้ยาควบคู่ กับการปรับพฤติกรรมอย่างจริงจัง

          8.  การฝึกทักษะด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียนจะช่วย ให้เด็กมีโอกาส ประสบความสำเร็จด้านอื่นๆ ด้วย เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ  หรืออะไรก็ได้ที่เด็ก ทำได้ดีซึ่งมีผลใน การสร้างความเชื่อมั่น และ การนับถือตนเอง

¶¶¶¶¶¶¶¶¶¶¶¶

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics