บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งใน เอกสารคู่มือนักเรียน ซึ่งทางศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ต้องการแนะนำให้นักเรียนปกติรู้จัก เข้าใจ ให้อภัย และให้การช่วยนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
|
เราคือเพื่อนกัน...เพื่อนต้องช่วยเพื่อน |
รศ. ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ |
ศูนย์วิจัยการศึกษา เพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เป็นหน่วยงานหนึ่ง ของโรงเรียน ที่ให้การช่วยเหลือ ดูแลนักเรียน ที่มีความต้องการพิเศษ โดยทำงานร่วมกับ ศูนย์บริการจิตวิทยา และแนะแนว หลักสูตรวิชาต่างๆ ตลอดจนอาจารย์ประจำชั้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้นักเรียนเหล่านั้น ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และใช้ชีวิตอย ู่ในสังคมได ้อย่างเป็นปกต ิอย่างมีความสุข ดังเช่นบุคคลทั่วไป
แต่การทำงาน ของอาจารย์เพียงฝ่ายเดียว ย่อมจะไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ จากนักเรียนทั้งโรงเรียน เพราะ เราคือเพื่อนกัน...เพื่อนต้องช่วยเพื่อน
ห้องเรียนแต่ละห้อง นักเรียนจะพบเพื่อน ที่มีความหลากหลาย แต่ละคน จะมีลักษณะเฉพาะตัว ในด้านร่างกาย เพื่อนบางคน มีร่างกายเติบโตสมวัย แข็งแรง แต่ตรงกันข้าม บางคนกลับมีการเจริญเติบโต ไม่สมวัย ตัวเล็ก ไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว
ในด้านความคิด เพื่อนๆบางคน มีความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินตัว บางคนก็มีความคิดแบบเด็กๆ แต่บางคน จะคิดแบบเด็กกว่าอายุจริง บางคนเรียนเก่ง ทางด้านวิชาการ บางคนเก่งเลข บางคนเก่งวิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือ สังคมศึกษา บางคนอาจไม่เด่น ทางวิชาการ แต่กลับไปเด่น ในการทำงานศิลปะ เป็นนักกีฬา หรือนักดนตรี
ในด้านอารมณ์ เพื่อนๆ ของเราบางคน มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี สามารถแสดงอารมณ์ออกมา ได้อย่างเหมาะสม กับสถานการณ์ แต่บางคน มีปัญหา ในการควบคุมอารมณ์ หรือ แสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้าวร้าวต่อบุคคลอื่น ทั้งทางร่างกาย และวาจา บางครั้งมีการเก็บกดอารมณ์ เศร้า หรือร้องไห้ อย่างไม่สมเหตุสมผล
ในด้านสังคม นักเรียนบางคน มีทักษะทางสังคมดี รู้จักวิธีการสร้าง และรักษาความสัมพันธ์อันดี กับเพื่อน จึงทำให้มีเพื่อนมาก เป็นที่รักของเพื่อนๆ นักเรียนบางคน อยากมีเพื่อน แต่ไม่รู้วิธีการสร้างความสัมพันธ์ กับเพื่อนๆ บางคนชอบอยู่เงียบๆ มีเพื่อนสนิท เพียงสองสามคน |
|
|
นอกจากนักเรียนปกติ ที่มีความแตกต่างกัน ดังกล่าวมาแล้ว ในห้องเรียนแต่ละห้อง นักเรียนยังมีเพื่อน ที่แตกต่างกัน จากคนอื่นๆ อย่างชัดเจนอีก เช่น นักเรียนออทิสติก ซึ่งมีลักษณะ ที่สังเกตได้ชัดเจน คือ จะมีปัญหา ในการเข้าสังคม การทำงานกลุ่ม และการเล่นกับกลุ่มเพื่อน นักเรียนออทิสติกอยากมีเพื่อน อยากทำอะไรๆ เหมือนเพื่อน แต่ไม่รู้วิธีการ ว่าจะทำอย่างไร นักเรียนออทิสติกมีปัญหา ในการพูดคุยสื่อสาร ให้คนอื่นเข้าใจ เขามักไม่สบตา คนที่เขาพูดด้วย บ่อยครั้งที่เขาไม่เข้าใจ เรื่องที่เพื่อนๆพูดคุยกัน หรือพูดคุยกับเขา นักเรียนออทิสติกหลายคน มักจะพูดหรือถาม เรื่องเดียวกัน ซ้ำแล้วซ้ำอีก บางคนยังมีปัญหา การอ่าน และการเขียน บางคนแม้จะอ่านได้รวดเร็ว แต่มีปัญหาการทำความเข้าใจ เรื่องที่อ่าน สามารถเขียนได้ถูกต้อง แต่มีปัญหา การเรียงลำดับเรื่องราวที่จะเขียน จึงทำให้ เขียนได้ช้ากว่าเพื่อนๆ แต่นักเรียนออทิสติกมีความสามารถเด่นมาก ในด้านความจำ และความรับผิดชอบ ต่องาน ที่ได้รับมอบหมาย |
|
นักเรียนออทิสติกบางคน แสดงพฤติกรรมแปลกๆ ท่าทางแปลกๆ หัวเราะโดยไม่สมเหตุสมผล พูดคนเดียว ไม่สนใจเล่นกับคนอื่นๆ ไม่ยืดหยุ่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ขาดจินตนาการ ไม่เข้าใจเรื่องสมมติ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้มีโอกาสใกล้ชิด ได้สังเกต จะพบว่า มีนักเรียนออทิสติก ที่มีความสามารถพิเศษหลายทาง เช่น ทางศิลปะ ดนตรี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในด้านการเรียน นักเรียนออทิสติกมีความสามารถ ในการเรียนแตกต่างกันมาก นักเรียนออทิสติกในโรงเรียนของเรา มีความสามารถทางสติปัญญา ตั้งแต่ระดับเหนือเกณฑ์เฉลี่ย ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ดังนั้นเพื่อนๆ จะพบว่านักเรียนออทิสติกบางคน เรียนรู้ได้ดีมาก ในหลายวิชา แต่บางคน ก็ติดตามบทเรียนไม่ทันเพื่อน จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ จากอาจารย์ และเพื่อนๆ |
|
|
เพื่อนนักเรียนบางคน มีปัญหาทางการเรียนรู้วิชาทักษะ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นักเรียนกลุ่มนี้มีปัญหาในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ แต่ก็มีความสามารถเด่นด้านอื่นๆ เช่น บางคนเป็นนักกีฬา บางคนเป็นนักดนตรี นักเรียนกลุ่มนี้เป็นเด็กฉลาด แต่เมื่อมีปัญหาการอ่าน การเขียน ทำให้มีปัญหาการเรียนรู้วิชาอื่นๆไปด้วย
เพื่อนอีกกลุ่มเป็นโรคสมาธิสั้น มีอาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่สามารถตั้งสมาธิให้สนใจในสิ่งที่ควรกระทำในขณะนั้นได้ วอกแวกง่าย เหม่อลอย ขี้ลืม ทำงานไม่เสร็จ นักเรียนบางคนขาดความยับยั้งชั่งใจ บังคับตัวเองไม่ได้ อดทนรอคอยไม่เป็น ไม่รู้จักวางแผน และทำก่อนคิด จึงทำให้มีปัญหากับเพื่อนๆได้ง่าย |
|
นักเรียนที่มีพฤติกรรมแตกต่างจากเพื่อนคนอื่นๆ อย่างชัดเจนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ นักเรียนที่มีปัญหาทางอารมณ์ และพฤติกรรมรุนแรง เพื่อนกลุ่มนี้อาจจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรือมีภาวะซึมเศร้า ไม่มีความสุข ต่อเนื่องเป็นเวลานาน |
|
|
นักเรียนจะพบว่า เรามีเพื่อนที่แตกต่างกัน เพื่อนมีความต้องการพิเศษที่หลากหลาย แต่ทุกๆคน คือ คน คือ เพื่อน ของเรา |
|
คน ทุกคนต้องการ การ ยอมรับ ต้องการเป็น ส่วนหนึ่ง ของกลุ่ม คนทุกคนมี คุณค่า ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อนๆ และสังคม ที่โรงเรียน เพื่อน มีความหมายกับนักเรียนทุกคนเป็นอย่างมาก นักเรียนทุกคนต้องการ เพื่อน เพื่อนที่มีเจตคติที่ดี เข้าใจ และยอมรับ ความแตกต่าง ซึ่งกันและกัน เพื่อนที่เรียนรู้ความแตกต่าง ใช้ความแตกต่างเป็นฐานของการสร้างสรรค์สังคมโรงเรียนให้เป็นแหล่งส่งเสริม สนับสนุน ให้เพื่อนๆทุกคน ได้มีโอกาสเรียนรู้เต็มความสามารถ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข |
|
การอยู่ร่วมกับเพื่อนที่แตกต่างกัน เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้สภาพชีวิตจริง ได้ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า ได้สนับสนุนคนที่เก่งกว่า และได้ร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่ให้โอกาสทุกคนได้ดึงศักยภาพของแต่ละคน มารวมกันสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ ด้วยความรู้สึกดีๆ และน้ำใจที่มีต่อกันและกัน อาจารย์เชื่อว่านักเรียนทุกคนจะอยู่ร่วมกัน ด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทั้งความสามารถทางสติปัญญา (IQ) ความสามารถทางอารมณ์ (EQ) และความสามารถทางคุณธรรมจริยธรรม (MQ) อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของความสำเร็จในชีวิต และมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข |
|
|
|