bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
bg
 

 

 

 เตรียมความพร้อมนักเรียน ป.1 ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
           รัชฎาภรณ์ พานิช
          โครงการเตรียมความพร้อม นักเรียนที่ต้องการ ความช่วยเหลือพิเศษ ในระดับประถมศึกษา ปีที่ 1 เกิดขึ้น  เนื่องจากนักเรียนบางคน เมื่อเข้ามาเรียนใน ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 แล้ว  มีความสามารถใน การเรียนรู้ช้ากว่ากลุ่มเพื่อน ในห้องเรียนเดียวกัน  นักเรียนไม่สามารถติดตาม ทำความเข้าใจบทเรียนได้ทันเพื่อน  ทำให้มีผลการเรียนไม่ดี   จึงไม่ประสบความสำเร็จใน การเรียนเท่าที่ควร มีความท้อถอยในการเรียน และ ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียน เช่น ไม่สนใจการเรียน  รบกวนชั้น  ตั้งกลุ่ม เล่นกันอย่างรุนแรง
          อาจารย์ผู้สอนใน ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1  จึงได้ประชุมเพื่อหา แนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  ที่ประชุมมีความเห็นว่า  ควรจะช่วยเหลือ นักเรียนกลุ่มนี้  เพื่อทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน  เห็นคุณค่าของตนเอง      เกิดความภาคภูมิใจ  ซึ่งก็จะต้องปรับการเรียนการสอนให้เอื้อต่อนักเรียน  จึงได้แยกนักเรียนออกมารวมกัน เป็นกลุ่มต่างหากจัดเข้าในโครงการ เตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
          เมื่อเริ่มปีการศึกษาใหม่  นักเรียนที่เข้าเรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ซึ่งมีอายุที่ต่างกัน  วุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ต่างกัน  การเลี้ยงดูที่ต่างกัน  ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้  การ     ดูแลตนเอง  และ การปรับตัวเพื่อ การเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
          ในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียน อาจารย์ประจำชั้ ให้นักเรียนทำ แบบทดสอบความสามารถใน การเรียนรู้วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ บันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้และ พฤติกรรมทั่วไปของนักเรียน  อาจารย์ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1  จะคัดแยกกลุ่ม นักเรียนที่มีความพร้อมทา การเรียนน้อยที่สุด  เมื่อเทียบกับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด  เข้าเรียนในโครงการ เตรียมความพร้อมฯ  โดยจำกัดจำนวนนักเรียนไม่เกิน 30 คน 
          นักเรียนที่เข้ามาเรียนในโครงการฯนี้  บางคนมีปัญหาในการปรับตัว  แก้ปัญหาด้วยการร้องไห้  ไม่ให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรม การเรียน หรือกิจวัตรประจำวัน  บางคนมีปัญหาการเรียน เช่น อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้  หรือทั้งอ่าน และ เขียนไม่ได้  ไม่รู้จักค่าของจำนวน  บวกลบเลขอย่างง่าย ๆ ไม่ได้ บางคนมีปัญหา ในการควบคุมตนเอง  ขยับตัว ตลอดเวลา        จับ หรือเล่นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว  สมาธิในการฟังน้อย  ฟังแล้วไม่สามารถปฏิบัติตามได้  หรือไม่สามารถจับใจความได้  ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้  มีอาการวิตกกังวล กับเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง  ไม่กล้าแสดงออก  ไม่เชื่อมั่นในการตัดสินใจในตนเอง  ต้องการความสนใจ จากครูเป็นพิเศษ  ทำงานให้เสร็จพ้นตัว โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สังเกตเห็นได้ในนักเรียน  โครงการเตรียมความพร้อมฯ
          ในจำนวนนักเรียนไม่เกิน 30 คน ต่อหนึ่งห้อง  มีอาจารย์ประจำชั้น 3 – 4 คน  ขึ้นอยู่กับปัญหาของ นักเรียนในแต่ละปี  ขณะที่อาจารย์ 1 คนสอน  อาจารย์ที่เหลือ  ต้องอยู่ดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ทั้งขณะที่มีการเรียนการสอน และ การทำงาน  นักเรียนบางคน ไม่สามารถทำความเข้าใจกับ  บทเรียนได้ต้องกา รอธิบายเพิ่มเติม  อาจารย์ต้อง ช่วยเหลือเป็นรายบุคคล   นักเรียนบางคนไม่มีสมาธ ิในการทำงาน  อาจารย์ต้องเข้าช่วยเหลือ กระตุ้นเตือน  กล่าวได้ว่า อาจารย์ประจำชั้นจะต้องดูแล ช่วยเหลือนักเรียนทั้งใน ด้านการเรียน และ การปรับพฤติกรรม
          อาจารย์จัดการเรียนรู้ให้นักเรียน ได้เรียนรู้จาก สิ่งใกล้ตัวที่ง่าย เป็นรูปธรรม  เรียงลำดับไปหาสิ่งที่ยาก  มีการบูรณาการ ระหว่างวิชา และ ในขณะเดียวกันก็บูรณาการ ภายในวิชาด้วย  โดยยึดภาษาไทยเป็นแกน ในการบูรณาการ ระหว่างวิชา   ส่วนการบูรณาการ ภายในวิชาใน การเรียนแต่ละครั้ง  คือ  ทักษะการฟัง  พูด อ่าน เขียน อุปกรณ์การเรียนการสอน  หรือสื่อการสอน มีความสำคัญ กับนักเรียนกลุ่มนี้มาก  สามารถดึงความสนใจ ของนักเรียนได้ดี         เป็นการลดปัญหาความบกพร่อง ในการฟังได้อีกด้วย นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อได้ลงมือทำด้วยตนเอง  ได้ทำกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  สอนซ้ำเพื่อให้ เกิดการเรียนรู้ที่คงทน
          นักเรียนกลุ่มนี้มีการพัฒนา การเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป  นักเรียนส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นนักเรียน ที่ผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด  โดยอาจารย์ได้        ขอความร่วมมือ จากผู้ปกครองในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนไป ในแนวทางเดียวกัน         ปัญหาของนักเรียน อีกประการหนึ่งคือ  ความคาดหวังของผู้ปกครอง ที่สูงเกินความสามารถของนักเรียน  ทำให้นักเรียนรู้สึก ไม่ประสบความสำเร็จ ในการเรียน เกิดความคับข้องใจ และ พัฒนาตนเองได ้ไม่เต็มตามศักยภาพ 
          นักเรียนบางคนที่มีปัญหา ในการเรียนหรือพฤติกรรม ที่ต้องรีบแก้ไข โดยด่วน          ทางโรงเรียนมีศูนย์บริการจิตวิทยา และ แนะแนว  ให้ความช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายกรณี   บางคนอาจจะต้องได้รับ การปรับพฤติกรรมที่เป็นระบบ และ ต่อเนื่อง  บางคน ต้องการการเรียน
          การสอนเป็นรายบุคคล ซึ่งอาจารย์ประจำชั้น ก็จะต้องปรับแผนการ จัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องเหมาะสม กับนักเรียนแต่ละคน
ตัวอย่างการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ภาษาไทยเป็นแกน  
ภาษาไทย  เรื่องสระอา
          ครูเล่านิทาน เรื่องกระต่ายตื่นตูม  พร้อมภาพประกอบนิทาน  ในขณะที่เล่านิทาน  ครูติดบัตรคำทุกคำที่มีสระอา     เมื่อได้คำสระอาทั้งหมด  ให้นักเรียนช่วยกันอ่าน  โดยการสะกดคำทีละคำ  ให้นักเรียนทำท่าทาง ประกอบความหมายของคำ  จากนั้นให้นักเรียน สังเกตคำที่อ่านทุกคำ มีสระอาประสมอยู่  ให้นักเรียนช่วยกัน บอกลักษณะและ วิธีการเขียนสระอา  ตำแหน่งของสระอา  แล้วช่วยกันคิดคำที่ประสมสระอา  ครูเขียนคำที่นักเรียน บอกไว้บนกระดาน  ช่วยกันอ่านและ สะกดคำ  เปิดโอกาสให้ นักเรียนซักถามข้อสงสัย  เล่นเกมต่อภาพ คำสระอาเป็นกลุ่ม  นักเรียนทำแบบฝึกหัดสระอา
          จากภาพประกอบนิทาน เรื่องกระต่ายตื่นตูม  นักเรียนเห็นภาพป่า  ซึ่งวิชาสังคมศึกษาจะนำ เรื่องสภาพป่ามาเรียน เรื่องภูมิประเทศที่มีพื้นราบ  ภูเขา  แม่น้ำ  การดูแลรักษา   
          วิชาวิทยาศาสตร์จะได้ชื่อสัตว์ต่าง ๆ มีการจำแนกสัตว์ตามลักษณะของสัตว์  เช่น  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์ปีก  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม  เป็นต้น       
          วิชาคณิตศาสตร์จะใช้ภาพนิทานมาเรียนการบวก  การลบ  และ การสร้างโจทย์ปัญหา  เช่น  สัตว์ในภาพที่หนึ่งมีจำนวนมากกว่าสัตว์ใน ภาพที่สองกี่ตัว
          วิชาศิลปะนักเรียนทำงานกลุ่ม โดยการใช้งานปั้นดินน้ำมัน  ตัดปะ  การระบายสี  การพับกระดาษ  มาประดิษฐ์ป่า  ตามความคิดของกลุ่ม

          วิชางานบ้านงานเกษตร นักเรียนเรียนรู้การจัดเก็บ  ทำความสะอาดสถานที่  และ สิ่งของเครื่องใช้ที่ นักเรียนนำมาใช้ในการเรียน     

          การเรียนการสอนทุกวิชา เป็นกิจกรรมหรือเกม  ที่มีการเคลื่อนไหว ใช้การคิดวิเคราะห์ และ การคิดสร้างสรรรค์  เมื่อเรียนจบแต่ล กิจกรรมจะมีการประเมิน และ พูดคุยถึงปัญหา  ข้อดี  รวมทั้งวิธีการแก้ไขเพื่อปรับปรุงใน การทำงานครั้งต่อไป  นักเรียนจะได้เรียนรู้ทักษะชีวิต  เรื่องความแตกต่าง ระหว่างบุคคล  และ การแก้ปัญหา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

          เมื่อสิ้นปีการศึกษา  มีนักเรียนส่วนหนึ่งสามารถ ปรับตัวเองได้ดี  มีความพร้อมในการเรียนรู้มากขึ้น จะถูกจัดให้เรียนรวม กับนักเรียนคนอื่น ๆ ในห้องเรียนปกติ  ในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2  นักเรียนที่ยังต้องการ ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ  ก็จะยังคงได้รับ การเตรียมความพร้อม   ในโครงการฯ  ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2  ต่อไปอีก 1 ปี
บรรณานุกรม 

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  2544.  30  ปีสาธิตเกษตร.  กรุงเทพฯ :

 

          พลสยามพริ้นติ้ง.

ศันสนีย์  ฉัตรคุปต์.  2543.  ความบกพร่องในการเรียนรู้หรือแอลดี : ปัญหาการเรียนรู้ที่แก้ไขได้.      

 

           กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ชาญวิทย์  พรนภดล.  ม.ป.ป.  มารู้จักและ ช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ.  กรุงเทพฯ :  เอกสารโรเนียว.

 

 

 

 

 

ศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตู้ ปณ.1050 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-9428800-9 ต่อ 701

 

 

จำนวนผู้เข้าชมตั้งแต่ 01/01/2552:

web statistics